:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::
 
:.>เตรียมตัวไปลุยหน้าฝน

ฝน ๆ ๆ ฝนมาแล้วจ้าาาาา เข้าหน้าฝนทีไร พวกมือใหม่หัดเที่ยวแบบเราเป็นต้องอดเที่ยวตาม ๆ กันเราเองมีประสบการณ์ที่จำ
แม่นจนทุกวันนี้ ครั้งเมื่อหัดเที่ยวแรก ๆ แบกเป้ไปเที่ยวทุ่งกระเจียวที่ป่าหินงาม ต้องนอนแช่น้ำในเต็นท์ ผ้าผ่อนเปียกชื้น
กว่าจะก่อไฟหุงข้าวได้แต่ละมื้อ ก็ร่วม ๆ ชั่วโมงถือเป็นการไปแคมป์ที่ทุกลักทุเลไม่น้อย... งั้นเรามาเตรียมตัว
ไปลุยหน้าฝนกันดีกว่า

เตรียมอุปกรณ์จำเป็นสำหรับหน้าฝน
หน้าฝนจำเป็นจะต้องมีข้าวของบางอย่างเพิ่มเติมจากการไปแคมป์ปกติ เรามาทำเช็คลิสต์เพื่อจะไม่ลืม
อุปกรณ์สำคัญ ๆ เหล่านี้

เสื้อกันฝน ที่เราจะลืมไม่ได้ในวันที่ต้องเดินท่ามกลางฝนพรำ นอกจากทำให้เราไม่เปียกแล้วยังทำ
ให้ไม่หนาวและมีความสุขในการเดินมากขึ้น บางท่านอาจจะใช้เสื้อผ้าร่มก็ไม่ถือว่าผิดกติกาค่ะ
 
ฟลายชีท หรือชีทบินได้ อ่ะ... ไม่ไช่ ๆ ผ้าที่ใช้กางกันแดดกันฝน โดยเฉพาะคนที่รักการนอนเปล
หามาติดเป้ไว้ซักผืน ขนาดซัก 2x3 เมตร นี่กะลังเหมาะเลยเจ้าค่ะ ไม่นอนเปลก็เอามากางไว้เวลาทำกับ
ข้าวท่ามกลางฝนพรำ หรือจะเอามาทำโรงถ่าย(แหะ ๆ พูดซะหรู ) ก็แค่กางทำหลังคาไว้สำหรับผู้ที่
รักการถ่ายภาพในวันที่ฝนมันพรำทั้งวัน

เตาแก้ส ถ้าลืมละก็อดกินข้าวกัน เพราะว่าก่อฟืนชื้น ๆน้ำฝนนี่ ถ้าไม่โปรจริง ๆก็ลำบากทีเดียว(ข้าพเจ้าลองมาแล้ว ฮือ ๆ)

รองเท้า รองเท้าที่เหมาะในการเดินป่าหน้าฝน น่าจะเป็นรองเท้าผ้าใบค่ะ เพราะว่าจะแห้งได้ง่าย
กว่า
รองเท้าหนังที่สำคัญไม่ค่อยมีกลิ่น ที่อยากแนะนำก็คือ รองเท่าจีนแดง (เพื่อน ๆ ที่เดินป่าเรียกกัน
แบบนั้น) เพราะว่าหุ้มข้อเท้า ดอกยางลึกพอควรแถมราคาคู่ละร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง ที่จตุจักรจะมี
วางขายเยอะเลยค่ะ หรือถ้าเป็นทริปเบา ๆ ไม่บุกป่าฝ่าดงมาก พวกรองเท้าแตะแบบรัดส้นก็สะดวกดีค่ะ
<<< รองเท้าจีนแดง

ยากันทาก เดี๋ยวนี้มีออกมาเยอะแยะค่ะ อย่างสกีโทลีน ตะใคร้หอม บางคนใช้น้ำมันมวย บางคนใช้ยาหม่อง บ้างก็ใช้
น้ำจากยาฉุนชโลม แต่ถ้าเดินฝนตกพรำ ๆ พวกยาที่เราฉีดเอาไว้มักจะหายไปเร็วเสมอ มีคนนำทางแนะนำว่า ให้เอายาฉุน
ใส่ไว้ในถุงกันทาก เหนือสายรัดเส้นแรก คราวนี้เวลาที่เราโดนน้ำยาเส้นก็จะละลายน้ำออกมาชโลมขา
และเท้าเราตลอดเวลา
ที่สำคัญเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าสารเคมีสมัยใหม่เยอะเลยค่ะ

 


ถุงกันทาก หน้าฝนนี่เป็นฤดูของทากเลยค่ะ (มีเฉพาะบางพื้นที่) ทากจะชุมมากเป็นพิเศษ
เพราะว่าที่ชื้น ๆ จะทำให้ทากกระดึ๊บ ๆ ไปไหนได้สบายตัว แต่ถุงกันทากนี่ก็ใช่จะป้องกันทากได้ 100% นะคะ เพียงแต่จะช่วยให้เรามองเห็นทากได้ก่อนที่จะมุดเข้าขากางเกง คราวนี้เจ้าทาก
มันก็จะกระดึ๊บ ๆ ขึ้นเอว ขึ้นคอเราไปเลย ต้องคอยระวังแล้วก็เอาชายเสื้อเข้าในกางเกงจะดีกว่าค่ะ


<<< ถุงกันทากแบบสั้น

<<<ถุงกันทางแบบยาว

ถุงดำ ถุงดำสำหรับใส่ขยะขนาดใหญ่ ๆ ซัก 3-4 ใบ รับรองไม่หนักแล้วจะมีประโยชน์มากมาย
(ไว้จะเล่าให้ฟังตอนต่อ ๆ ไปค่ะ)

การแต่งกาย กางเกงขายาว เสื้อแขนยาวตามปกติ ควรจะหลีกเลี่ยงกางเกงรถถังเจ้านี่ถ้าเปียกทีทั้งหนักทั้งแห้งช้า
ที่สำคัญมันจะไปโดนขาอ่อนด้านในทั้งเจ็บทั้งแสบ สามารถแก้ไขได้โดยการใส่กางเกงแอโรบิคไว้ข้างในอีกชั้นค่ะ
หรือบางท่านอาจจะถนัดกับกางเกงผ้าร่มก็ได้เลยค่ะ

หลังจากเตรียมข้าวของต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว (รายการอื่น ๆ จากทริปปกติไม่ได้แจ้งไว้ในนี้) คราวนี้เราก็แยกพวกข้าวของจุกจิกชิ้นเล็กชึ้นน้อยที่ต้องป้องกันความชื้น พวกไฟแช็ค สมุดบันทึก
โปสการ์ด ฯลฯ ออกมาใส่ถุกซิปซะชั้นนึง ส่วนเสื้อผ้าก็แยกออกเป็นส่วน ๆ พวกชุดนอนเครื่องนอน
ก็อาจจะรวมใส่ถุงพลาสติกย่อม ๆ อีกใบ
การแบ่งของออกเป็นส่วน ๆ จะทำให้สะดวกเวลาหยิบใช้งาน

จากนั้นก็เอาถุงดำใบใหญ่กว่าเป้หลังเราซักหน่อย ใส่เข้าไปในเป้ บรรจงจัดของโดยวาง
ที่มีน้ำหนักเบาอย่างพวกถุงนอน ปันโจ เสื้อผ้าเอาไว้ด้าน ส่วนข้าวของที่มี
น้ำหนักมากหน่อย อย่างข้าวสารหรือว่าเสบียงหนัก ๆ ให้ เอาส่วนกลาง
ของเป้โดยวางให้ใกล้กับหลังเรามากที่สุด ส่วนบนสุดก็ของที่น้ำหนักน้อย
รองลงมาและจำเป็นต้องหยิบพวกขนมสมุด ใช้บ่อย ๆ
จากนั้นก็มัดบางถุงดำให้
สนิทเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า เราจะไปถึงแคมป์โดนที่ทุกอย่างยังแห้งสนิท เพราะการเดิน
ตากฝนทั้งชื้น ทั้งเหนื่อยมาทั้งวันได้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า , เครื่องนอนที่แห้ง จะทำให้การ
นอนฟังเสียงน้ำฝนกระทบฟลายชีทได้อย่างมีความสุขทั้งคืน
ทำไมต้องใส่ถุงดำก่อน???? สงสัยกันใช่มั๊ยคะ ว่าทำไมเราต้องแพ็คของลงถุงพลาสติกบ้างถุงซิปบ้าง แล้วก็ใส่ลงใน
ถุงดำอีกที ก็เพราะว่าถึงเป้เราจะเคลือบกันน้ำได้ดีแค่ไหน ส่วนมากมักจะมีน้ำซึมมาบ้างตามตะเข็บ กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ...
ไว้คราวหน้ามาดูวิธีการเลือกทำเล และการตั้งแคมป์ท่ามกลางฝนพรำกันค่ะ :)

Best view in Internet Explorer
Contact:
webmaster@tripandtrek.com
Copyright 2002 : www. Trip & Trek .Com All right reserved