กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน อช.หมู่เกาะชุมพร


*** หมายเหตุ : เพื่อควบคุมการหมุนของซ้ายขวาและความเร็วของภาพพาโนรามา ทำได้โดยคลิกเมาส์ค้างบนภาพ จากนั้นทำการลากไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อต้องการหยุดภาพก็ทำการปล่อยเมาส์

==============================================================================

                 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะชุมพร ทางอุทยานฯ ได้จัดทำสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนไว้บริการนักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน
                 สะพานทางเดินเริ่มจากที่จอดรถ ทอดตัวผ่านศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ภายในอาคารมีนิทรรศการ) ผ่านแปลงปลูกป่าโกงกางที่อุทยานแห่งชาติ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนชาวจังหวัดชุมพรร่วมกันปลูกไว้ จากนั้นลดเลี้ยวเข้าป่าชายเลนตามธรรมชาติซึ่งอยู่เลียบคลอง
                 บริเวณริมคลองมีท่าเรือเล็กๆ สำหรับลงเรือข้ามคลอง เพื่อไปขึ้นสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติที่อยู่อีกฟากของคลอง ตลอดทางเดินจะมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนเป็นระยะๆ
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - พายเรือแคนู/คยัค - ชมทิวทัศน์
โดยคุณ Lighthouse [2005-04-20 08:29:46] Bookmark and Share

โดยคุณ Lighthouse [2005-04-26 22:59:20] #1236 (1/3)

                 คนส่วนมากมักเข้าใจว่าป่าชายเลนเป็นแหล่งไม้โกงกางที่นำมาเผาถ่านได้เยี่ยมนัก แต่ว่าจริงๆแล้วป่าชายเลนมีศักยภาพมากกว่านั้น
                  หลังจากเหตุการณ์สึนามิ คนไทยเริ่มตระหนักถึงพลังของธรรมชาติ ตระหนักถึงผลพวงที่มนุษย์ได้กระทำต่อธรรมชาติ ตระหนักถึงความสูญเสีย
                 คนทั่วไปอาจมองไปที่ทุ่นลอยดักจับการเคลื่อนตัวของสึนามิ ระบบดาวเทียมที่จะช่วยสนับสนุน ระบบกำแพงป้องกันคลื่นแถบชายฝั่งอันทันสมัย ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลชาติต่างๆ ในอาเซียนกำลังริเริ่มจัดตั้งขึ้นแต่เราลืมไปหรือไม่?ว่าทั้งหมดนี้คือเทคโนโลยีที่มนุษย์คิดขึ้นทั้งสิ้น
                  ต้องไม่ลืมว่า "โลกมีสมดุล" เมื่อมีคลื่นสึนามิ ธรรมชาติก็สร้างสิ่งป้องกันให้เราไว้แล้วเช่นกัน นั่นคือ "ป่าชายเลน" ที่เปรียบเสมือนเกราะธรรมชาติป้องกันชายฝั่งที่คนส่วนมากเข้าใจกันมาตลอดว่าไม่มีอยู่

                  ป่าชายเลนสามารถทนทานต่อพลังของคลื่น "สึนามิ" ได้แบบเกิดความเสียหายเพียง 10% ขณะที่สึนามิกันกลับสามารถทำอันตรายกับสิ่งปลูกสร้างแนวชายฝั่งของมนุษย์ได้
โดยคุณ Lighthouse [2005-04-26 23:12:32] #1237 (2/3)

*** เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมป่าชายเลน อช.หมู่เกาะชุมพร นับเป็น 1 ใน แหล่งท่องเที่ยวป่าชายเลนที่สำคัญของเมืองไทย ***

                  "ป่าชายเลนของเราเสียหายน้อยมาก ที่พังงามีประมาณ 1,900 ไร่ ระนอง 100 ไร่ รวมแล้ว 2,000 ไร่ ป่าชายเลนเสียหายน้อยมาก แทบไม่ถึง 10 %"
ดร.สนใจ หะวานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางชายฝั่งและป่าชายเลน ยืนยันถึงประสิทธิภาพของเกราะธรรมชาติชนิดนี้

                  "ต้นไม้มีหักบ้างแต่ไม่มาก เสียหายช่วง 50 เมตรแรก ลึกจากนั้นไม่เป็นอะไรเพราะป่าชายเลนดูดซับคลื่น ประชาชนที่อยู่หลังป่าชายเลนไม่ได้รับความเสียหาย บริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ ยังเป็นปกติดี อย่างไรก็ตามบ้านที่อยู่ในป่าชายเลนจริงๆ มักอยู่ริมฝั่งซึ่งเป็นที่ต่ำ เมือคลื่นดันถึงบ้านเรือนจะเสียหาย แต่เรื่องคนตายมีน้อยมาก"

                  เพราะอะไร ป่าชายเลนจึงมีความมั่นคงแข็งแกร่งยิ่งกว่าสิ่งก่อสร้างของมนุษย์?

                  ธรรมชาติป่าชายเลนอยู่บริเวณคลื่นลมน้อย มากกว่าจะอยู่บริเวณหาดทรายที่รับคลื่นลมโดยตรงซึ่งไม่เอื้อต่อตะกอนดินเลนทับถมซึ่งจะเกิดในบริเวณที่มีแนวป้องกัน เช่น

หลังเกาะ ปากแม่น้ำ หรือถ้าอยู่ใกล้หาดก็จะเป็นแบบที่มีหาดข้างหน้า แล้วป่าชายเลนจะอยู่ข้างหลัง? ดร.สนใจเสริม ก่อนไขความลับในการต่อต้านคลื่นสึนามิว่ามาจากพืชมหัศจรรย์ของป่าชายเลน

                  อย่างรากต้นโกงกางที่แข็งแรงมาก เป็นเหมือนตัวค้ำยัน เพราะมีหลายรากยึดดิน ต้นโกงกางที่หาดสุขสำราญที่ปะทะสึนามิไม่ค่อยเสียหาย ถ้าเสียหายก็จะหักเฉพาะด้านบน แต่รากยังคงยึดเหนี่ยวดินอยู่ ยกเว้นต้นแสมที่อยู่ด้านหลัง จะล้มไปเลย? ดร.สรุปความทนทานของโก่งกางกับแสม

                  สิ่งโดดเด่นคือภาพของรากโกงกางและแสมที่แตกจากลำต้นลงไปค้ำยันกับพื้นเลนจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่งมีผลทำให้ดินตกตะกอนจับตัวได้ดีต่างแต่ตรงที่ว่าโกงกางถือเป็นพันธุ์ไม้หลักที่แข็งแรงกว่าแสม(แต่โตช้ากว่า)นั่นเอง

                  นี่เป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติให้ไว้กับแผ่นดินเพื่อป้องกันสึนามิ แต่มีเงื่อนไขว่าเกราะชนิดนี้ต้องโตในระดับหนึ่ง ?สมมติคลื่นสึนามิสูง 10 เมตร ต้นไม้ต้องสูง 20?30 เมตร ถึงช่วยได้ ถ้าเตี้ยมากคลื่นจะทำลายได้
นั่นหมายถึงเราต้องให้โอกาสป่าชายเลนได้เติบโตถึงระดับหนึ่งด้วย จึงจะกลายเป็นกำแพงธรรมชาติที่ยั่งยืน


                  แต่หลายปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าแนว "เกราะ" นี้ ถูกทำลายลงจนน่าเป็นห่วง

เรื่องโดย : ผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2548

โดยคุณ คนไทย ครับ [2006-03-19 23:04:32] #2161 (3/3)

ทะเลอ่าวไทยก็ดีมีปะการังสวยในหมู่เกาะชุมพร