กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
พบไม้ตระ***ลกระดังงาใหม่ "มหาพรหมราชินี"

ไม้งามพันธุ์ใหม่ของโลก"ต้นอนุพรหม"สวยงามที่สุดในตระ***ลกระดังงา พบในเขตอุทยานแห่งชาติ น้ำตกแม่สุรินทร์ จ.แม่ฮ่องสอน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระราชทานพระนามาภิไธย "มหาพรหมราชินี" สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯประกาศความสำเร็จในการค้นพบ
เผยเมืองไทยเหลืออยู่แค่ 18 ต้น

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา
รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ วว. พร้อมด้วย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกันแถลงถึงการค้นพบ "มหาพรหมราชินี"
พรรณไม้วงศ์กระดังงาชนิดใหม่ของโลก ซึ่งถือเป็นดอกไม้สวยงามที่สุดในตระ***ลกระดังงา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อจาก
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

การค้นพบพรรณไม้วงศ์กระดังงา ต้นอนุพรหม ที่บริเวณยอดเขาในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จ.แม่ฮ่องสอน ถือเป็นชนิดที่ 49
ของพรรณไม้ในวงศ์กระดังงาจากทั่วโลก ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ดังกล่าวว่า
มหาพรหมราชินี และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders
เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 47

การค้นพบมหาพรหมราชินีว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในครั้งนี้ ได้รับการรับรองจาก ดร.อลูนา วีราโสริยา ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณไม้สกุลมหาพรหม
แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง พร้อมทั้งเตรียมตีพิมพ์ข้อมูลการค้นพบในวารสารนอร์ดิก เจอร์นัล ออฟ โบตานี(Nordic Journal of Botany)
แห่งประเทศเดนมาร์กด้วย สำหรับมหาพรหมราชินีดังกล่าว จัดว่าเป็นพรรณไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากพบเหลือในธรรมชาติเพียง 18 ต้น
เท่านั้น โดยสภาพนิเวศวิทยาบริเวณที่ค้นพบเป็นพื้นที่สูงชันอยู่ในป่าดิบเขา ในระดับความสูง 1,100 เมตร มีลมแรงและอากาศหนาวเย็นจัดในช่วง
ฤดูหนาว มีความชื้นสัมพัทธ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม มหาพรหมราชินี ถือเป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกับมหาพรหม
เนื่องจากอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่เป็นพรรณไม้ที่มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดในสกุลมหาพรหมที่มีอยู่แล้วทั่วโลก 48 ชนิด และที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย 7 ชนิด

นักวิจัยด้านพรรณไม้วงศ์กระดังงากล่าวต่อว่า สำหรับลักษณะเฉพาะทางพฤกษศาสตร์ของมหาพรหมราชินีก็คือ เป็นไม้ขนาดเล็ก สูง 4- 6 เมตร
ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอกใกล้ปลายยอด
โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า ดอกจะบานอยู่ได้ 3-5 วัน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในช่วงเย็น
และจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายนเท่านั้น


ส่วนผลออกเป็นกลุ่มโดยจะมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอก มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่น และการกระจายพันธุ์ต่ำ เนื่องจากผลสุกของมหาพรหมราชินี
มีรสหวาน จึงเป็นอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด เมื่อสัตว์ป่ากินผลสุกมักจะไปถ่ายมูลไว้บนก้อนหินเมล็ดจึงไม่ค่อยมีโอกาสงอก อย่างไรก็ตาม
จากการทดลองเก็บผลแก่จากบนต้นมาเพาะพบว่าเมล็ดงอกได้ดี ไม่ว่าจะนำไปปลูกบนดอยสูง ดอยไม่สูงหรือบนพื้นราบ สามารถขยายพันธุ์ได้โดย
การเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง เสียบยอด ทั้งนี้ วว.จะเร่งขยายเพาะขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับต่อไป
โดยคุณ ดอกดิน [2004-08-09 18:34:31] Bookmark and Share

โดยคุณ นายซาไกทัดดอกฝิ่น [2004-08-10 12:35:52] #362 (1/2)
น่าชื่นชมยิ่งนัก.
โดยคุณ joyful [2004-08-16 13:51:22] #363 (2/2)
ทั้งสวย ทั้งหอม แบบนี้ชอบค่ะ