กลับหน้าแรก | กระดานข่าวสีเขียว - สีคราม
ค้นหาคำถาม
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: :: ทริปเดินทาง ::: พาใจไปเที่ยว :: :: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
เชิญตั้งคำถามของคุณได้ที่นี่ครับ
Prambanan ศาสนสถานฮินดูอันยิ่งใหญ่ เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว [ข่าว]

Prambanan ซึ่งเป็นวิหารหมู่ของศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 9 อยู่ที่เมือง Yogyakarta

ได้รับความเสียหาย จากเหตุแผ่นดินไหวที่อินโดเนเซียด้วยครับ

น่าแปลกใจที่ บูโรพุธโธ ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว กลับไม่เสียหายด้วย

โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 17:45:41] Bookmark and Share

โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 17:47:59] #16716 (1/11)
PRAMBANAN, Indonesia -- Indonesia/'s earthquake badly damaged the famous Prambanan temple complex, sending intricate stone carvings crashing to the ground and destroying years of restoration work in less than a minute.


By CHRIS BRUMMITT
The Associated Press
Washington post
Sunday, May 28, 2006; 11:51 AM
โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 17:50:21] #16717 (2/11)

น่าเสียดาย แม่จะดีใจที่มีโอกาสได้ไปชมมาเมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง
แต่ก็เสียดายที่เสียหายไปมาก (ตามข่าวนะ ไม่เห็นภาพมากกว่าภาพบน)
ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาซ่อมแซมเท่าไหร่ เห็นว่าปิดชั่วคราว

รูปตอนเดือนที่แล้วครับ ^^
โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 17:51:45] #16718 (3/11)
^^^ แม้ อ่ะ...ไม่ใช่แม่
แม่จะดีใจทำไมฟะ ...
โดยคุณ ฮานาเล [2006-05-30 17:56:01] #16719 (4/11)
โห....น่าเสียดาย ทางการเค้าคงซ่อมได้มั้งคะ....
โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 18:01:44] #16721 (5/11)

เจออีกรูป ....เอ...ก็เสียหายไม่เยอะนี่นา แต่คงต้องตรวจสอบความแข็งแรงเพื่อความปลอดภัยก่อน
โดยคุณ ฅนหลังเขา [2006-05-30 18:05:10] #16722 (6/11)

โฮ่...ธรรมชาติโหดร้ายจังครับ

"ผู้สูญเสีย"
โดยคุณ ม่อน [2006-05-30 20:06:59] #16726 (7/11)
เวลาที่มันมีอยู่คนก็ไม่ค่อยเห็นความสำคัญ จนกระทั่งเสียมันไป หลายๆอย่างที่เราเห็น
โดยคุณ อุบอิบเก็บมาฝาก [2006-05-31 13:09:57] #16744 (8/11)
แผ่นดินไหว

คอลัมน์ คอลัมน์ที่13

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้ไกล ไม่เฉพาะบริเวณประเทศที่เกิดเท่านั้น ถ้าหากมีความรุนแรงมากคลื่นแผ่นดินไหวสามารถส่งผ่านไปได้บนผิวโลกถึงหลายพันกิโลเมตร

สาเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก มักเกิดตรงบริเวณขอบ

และหากแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ทะเล อาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิตามมา

การเคลื่อนตัวนี้เกิดจากชั้นหินหลอมละลายที่อยู่ภายใต้เปลือกโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก จนลอยตัวและผลักดันเปลือกโลกตอนบน ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้

หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใดๆ ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใด ประเทศนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง

เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
โดยคุณ อุบอิบเก็บมาฝาก [2006-05-31 13:10:26] #16745 (9/11)
เมื่อพลังสะสมในเปลือกโลกถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป โดยเฉพาะตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลก หรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" ได้รับแรงอัดมากๆ จะทำให้รอยเลื่อนเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน

ข้อสังเกตว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกันหลายสิบครั้งหรือหลายร้อยครั้งในระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือในสัปดาห์ อาจเป็นสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่กว่าตามมา

หรือในบางบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต ก็สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่มีขนาดเท่าเทียมกัน

หรือหากบริเวณนั้นว่างเว้นช่วงเวลาการเกิดแผ่นดินไหวยาวนานหลายสิบปีหรือหลายร้อยปี ยิ่งมีการสะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะเวลายาวนานเท่าใด การเคลื่อนตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงก็จะเพิ่มมากขึ้น

การตรวจวัดแผ่นดินไหว จำเป็นต้องใช้ทั้งระบบเครือข่ายทั้งสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวในระดับแต่ละประเทศ และเครือข่ายในระดับโลก เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวให้ได้ได้อย่างรวดเร็ว
โดยคุณ อุบอิบเก็บมาฝาก [2006-05-31 13:10:56] #16746 (10/11)
กรมอุตุนิยมวิทยาให้ข้อมูลว่า การตรวจวัดแผ่นดินไหวมี 2 แบบคือ

1.วัดความรุนแรง (Intensity) ในการสั่น ณ ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งมนุษย์รู้สึกได้ว่ามากน้อยแค่ไหน หรือความเสียหายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีมากเพียงใด เรียกว่า "เมอร์แคลลี่" (Mercalli Scale) มีขนาดตั้งแต่ระดับ 1 ที่อ่อนมากสามารถวัดได้โดยเครื่องวัด ถึงระดับ 12 ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

2.วัดขนาด (Magnitude) ของพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมา คำนวณจากการติดตามลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวโดยเครื่องวัดแผ่นดินไหว มาตรวัดแบบนี้เรียกว่า "ริกเตอร์" (Richter Scale) สามารถเปรียบเทียบขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลางได้ ดังนี้

1-2.9 (ริกเตอร์) เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ

3-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

4-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

5-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

6-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย

7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดที่ยอร์กยากาตา ประเทศอินโดนีเซีย กลืนชีวิตผู้คนกว่า 5,000 คน บาดเจ็บอีกกว่า 20,000 และมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกนับแสนคน วัดขนาดความรุนแรงอยู่ที่ 6.3 ริกเตอร์
โดยคุณ ดด [2007-02-08 13:22:49] #21665 (11/11)