:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::
   เรื่องเล่าคนเดินทาง
   เทคนิคแคมป์
   เรื่องเล่าติดแสตมป์
   นานา..น่าลอง
   ศิลปวัฒนธรรม
   เรื่องเล่าจากราวไพร  
   สมุดเยี่ยม
   มองผ่านเลนส์
   ทริปเดินทาง ปี 53  
   แนะนำตัว
สมัครสมาชิกรับข่าวสาร ฟรี!!





:: ศิลปวัฒนธรรม :: เพื่อส่งเสริมสำนึกรักศิลปวัฒนธรรมไทย ::

:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::











เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา – บาลา
จังหวัดนราธิวาส

ประวัติความเป็นมา

ในการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากป่าฮาลา – บาลาและป่าฮาลา – บาลาในท้องที่ตำบลจะแนะ ตำบลแว้ง ตำบลแม่ดง ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง ตำบลมาโมง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เนื้อที่ประมาณ 270,725 ไร่
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2539 พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดที่ดินป่าฮาลาและบาลา ในท้องที่ตำบลจะแนะ ตำบลแว้ง ตำบลแม่ดง ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง ตำบลมาโมง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ.2539

สถานที่ตั้งและอาณาเขต

ทิศเหนือ จรด ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ทิศใต้ จรด ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก จรด นิคมสร้างตนเองแว้ง ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก จรด นิคมสร้างตนเองสุคิริน ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส <

ภูมิประเทศ

เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุด 100 เมตร สูงสุด 1466 เมตร ป่าฮาลา – บาลา เป็นป่าดงดิบชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน มีความชื้นสูงตลอดปี ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้สุดของประเทศไทย มีแนวป่าต่อเนื่องกับป่าเบลุ่มทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย เมื่อรวมพื้นที่เข้าด้วยกัน จัดได้ว่าเป็นป่าฝนเขตร้อนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดบนคาบสมุทรมาลายา พื้นที่มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี

ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างคงที่และมีความชื้นพอเหมาะที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่องมาได้เป็นเวลานาน ประชากรที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่ป่าฮาลา-บาลา ในท้องที่จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาสได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งน้อยมาก ป่าผืนนี้สามารถควบคุมลักษณะ ภูมิอากาศไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

ป่าไม้

ในผืนป่าแห่งนี้ พบว่ามีพรรณไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ไม้ยืนต้นมักมีเรือนยอดชิดกันและมักเป็นพืชในวงศ์ยาง เช่น ยางวาด กระบาก สยาแดง สยาขาว สยาเหลือง ไข่เขียว ตะเคียน ชันตาแมว เป็นต้น ไม้ขนาดใหญ่ในวงศ์อื่นได้แก่ หยี ทองบึ้ง หลุมพอ กะบก กุหลิมหรือกระเทียมต้น ยวนและกฤษณา นอกจากนี้ยังมีพืชในวงศ์หมากและหวาย ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเช่นหลาวชะโอน หมากพน จากเขา บังสูรญ์ กะพ้อสี่สิบหรือตาลเดียว หมากข้าวตอก และหวายชนิดต่าง ๆ ไม้พื้นล่างหรือพืชคลุมดินส่วนใหญ่เป็นพวกพืชตระกูลขิงข่า สกุลที่สำคัญได้แก่ ข่าป่า กระวาน กระชายป่า ปุดและกาหลา ซึ่งมีหลายชนิดทั้งชนิดดอกสีขาว สีแดงและสีชมพู พืชพวกเฟิร์นสกุลต่างๆ จำนวนมาก เช่นเฟิร์นต้น ว่านกีบแรดและสามร้อยยอดหรือโชน เป็นต้น บริเวณเขาหินปูน เช่นผากล้วย ผานาคราช และเขาหัวนาค พรรณไม้เด่นได้แก่ สนสามพันปี แดงประดับผา นกนอนและสนทราย พืชอื่น ๆ เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่านนาคราช และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ

สัตว์ป่า

ป่าผืนนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า สัตว์ป่าที่สำคัญที่พบมีสัตว์ป่าที่จัดเป็นสัตว์ป่าหายากอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ กระซู่ สมเสร็จ กระทิง เสือโคร่ง เลียงผาและช้างป่า เป็นต้น สัตว์ป่าประเภทนกมี 217 ชนิด 114 สกุล 38 วงศ์ สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม มี 144 ชนิด 84 สกุล 38 วงศ์ สัตว์จำพวกเลื้อยคลานมี 30 ชนิด 24 สกุล 9 วงศ์ สัตว์จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก มี 23 ชนิด 15 สกุล 9 วงศ์

เส้นทางคมนาคม

ระยะทางจากจังหวัดนราธิวาส ถึงอำเภอ แว้ง 70 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอแว้งถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา 17 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา – บาลา ตู้ ปณ. 3 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 96160


©2002-2005 by TripandTrek
Contact :
webmaster@tripandtrek.com , MobilePhone : 0-6510-2074