:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::
   เรื่องเล่าคนเดินทาง
   เทคนิคแคมป์
   เรื่องเล่าติดแสตมป์
   นานา..น่าลอง
   ศิลปวัฒนธรรม
   เรื่องเล่าจากราวไพร  
   สมุดเยี่ยม
   มองผ่านเลนส์
   ทริปเดินทาง ปี 53  
   แนะนำตัว
สมัครสมาชิกรับข่าวสาร ฟรี!!





:: ศิลปวัฒนธรรม :: เพื่อส่งเสริมสำนึกรักศิลปวัฒนธรรมไทย ::

:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::











เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน –ห้วยสำราญ
จังหวัดสุรินทร์

ประวัติความเป็นมา

สืบเนื่องมาจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินหมู่บ้านจรัส หมู่ที่ 1 อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2536 และทรงทราบว่าป่าเตรียมการสงวนป่าห้วยทับทัน มีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีแหล่งน้ำอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีพระราชดำริที่จะให้มีการอนุรักษ์ป่าแห่งนี้ โดยจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า เพื่อให้ป่าแห่งนี้ได้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแหล่งต้นน้ำลำธารสืบไป

สถานที่ตั้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ 313,750 ไร่ ตั้งอยู่ใน ท้องที่ตำบล กาบเชิง ตำบลโคกตะเคียน ตำบลตะเคียน ตำบลด่าน ตำบลแนงมุด ตำบลยักได ตำบลตาเมียว อำเภอกาบเชิง ตำบลตาตุม ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ และตำบลอาโพน ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ลักษณะภูมิประเทศ

มีลักษณะป็นที่ราบและเทือกเขาสูงชัน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 200-476 เมตรจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สามารถส่งน้ำไปช่วยเหลือและพัฒนาพื้นที่ราบชายแดนในโครงการต่างๆ มีลำห้วยที่สำคัญหลายสายคือ ห้วยสิงห์ ห้วยประเดก ห้วยขนาดมอญ ห้วยจรัส ห้วยหมอนแบก ห้วยสำราญ ห้วยเสียดจะเอิง ห้วยจำเริง ฯลฯ จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นในพื้นที่ เช่น อ่างเก็บน้ำจรัส อ่างเก็บน้ำขนาดมอญ อ่างเก็บน้ำขยอง อ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ อ่างเก็บน้ำห้วยเขิง อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน อ่างเก็บน้ำตาเกาว์และอ่างเก็บน้ำห้วยจำเริง อันเป็นผลให้พื้นที่มีความชุ่มชื้นโดยทั่วไป มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ปราศจากการรบกวนกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดภูมิประเทศที่ติดแนวชายแดนมีความสวยงาม โดยเฉพาะใกล้เขตชายแดนประเทศไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย พื้นที่ยิ่งสูงขึ้นเป็นป่าทึบ มีภูเขาสลับซับซ้อนตลอดแนวชายแดนและเป็นหุบเหว มีหน้าผาลึกไปทางกัมภูชา

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ อยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมซึ่งเป็นลมพัดประจำฤดู 2 ฤดู โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวเรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลมชนิดนี้จะพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ เป็นส่วนใหญ่ในฤดูฝน มีผลทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกทั่วไป

ชนิดป่าและพรรณไม้

สภาพป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ (เบญจพรรณแล้ง-เบญจพรรณชื้น) และป่าดิบแล้ง พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ไม้กระบาก ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียนทอง ไม้ตะเคียนหิน ไม้กราด ไม้พะยอม ไม้เขล็ง ไม้พันจำ ไม้ตะแบกใหญ่ ไม้มะค่าแต้ ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้พันชาด ไม้ชิงชัน และไม้เขว้า เป็นต้น

สัตว์ป่า

มีสัตว์ป่าอยู่หลายชนิดอยู่มากมาย เช่น เก้ง กวาง ลิ่น วัวแดง กระจง ลิง ค่าง ชะนี สือโคร่ง เรียงผา อีเห็น แมวดาว ชะมด เม่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า และกระจงมีอยู่จำนวนมากทั่วพื้นที่ สัตว์ที่มีลักษณะเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง

แหล่งความงามตามธรรมชาติ

ทุ่งหญ้า/ป่าไม้ ได้แก่ ทุ่งหญ้าช่องปลดต่าง ทุ่งหญ้าเขาแหลม อำเภอกาบเชิงจังหวัดสุรินทร์
ภูเขา/เนินเขา/หน้าผา ได้แก่ เนินเขาช่องปลดต่าง เนินเขา300 เนินเขา400 ช่องเหว อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ลำน้ำ/แอ่งน้ำธรรมชาติได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยตาเกาว์ บริเวณบ้านเขื่อนแก้ว อ่างเก็บน้ำห้วยเขิง บริเวณบ้านสนวนตั้งอยู่อำเภอกาบเชิงจังหวัดสุรินทร์
จุดชมทิวทัศน์ ได้แก่ ช่องคันทิ้ง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ พุทธอุทยานเขาศาลา ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
แหล่งโบราณคดี ปราสาทตาเมือน ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมือง กิ่งอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทเก่าแก่มีอายุประมาณ 1,700 ปี

เส้นทางการคมนาคม

การเดินทางเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้โดยรถยนต์ออกจากกรุงเทพฯ-นครราขสีมา-อุบลราชธานี ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) พอถึงทางแยกเข้าจังหวัดสุรินทร์ ที่อำเภอปราสาท เลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง ปราสาท-ช่องจอม ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ผ่านที่ว่าการอำเภอกาบเชิงไปประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามป้ายบอกทางเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร ผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยตาเกาว์ไปตามเส้นทางช่องปลดต่างจะถึงสำนักงานเขตฯ ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงที่ทำการเขตฯ ประมาณ 455 กิโลเมตร


©2002-2005 by TripandTrek
Contact :
webmaster@tripandtrek.com , MobilePhone : 0-6510-2074