:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::
   เรื่องเล่าคนเดินทาง
   เทคนิคแคมป์
   เรื่องเล่าติดแสตมป์
   นานา..น่าลอง
   ศิลปวัฒนธรรม
   เรื่องเล่าจากราวไพร  
   สมุดเยี่ยม
   มองผ่านเลนส์
   ทริปเดินทาง ปี 53  
   แนะนำตัว
สมัครสมาชิกรับข่าวสาร ฟรี!!





:: ศิลปวัฒนธรรม :: เพื่อส่งเสริมสำนึกรักศิลปวัฒนธรรมไทย ::

:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง :: Traveller's WorldWide ::











เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติความเป็นมา

ป่ายอดโดมเป็นส่วนหนึ่งของป่าบนเทือกเขาพนมดงรักซึ่งเป็นเทือกเขาที่กั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว และไทย-เขมร กรมป่าไม้ได้กำหนดป่ายอดโดมเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยมีอาณาเขตอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาลำโดมใหญ่ ท้องที่ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ประมาณ 202.55 กม.2 หรือ 126,595 ไร่ ต่อมาได้เพิกถอนพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมบางส่วนออก เนื่องจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 3 ขอใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งหมวดตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 314 เนื้อที่ประมาณ 280ไร่ ตามพระราชกฤษฎีกา เพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เพิ่มเติมในปี พ.ศ.2535 รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 140,845 ไร่ ซึ่งก็ยังมีพื้นที่ที่หมาะสมที่จะควรผนวกเข้าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2538 รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 153,200 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลโดมประดิษฐ์ ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศประกอบไปด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ยอดที่สูงที่สุดคือยอดโดม ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 180 - 770 เมตร มีที่ราบบนยอดเขาบ้างแต่ไม่กว้างมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นที่ลาดซึ่งมีป่าดงดิบขึ้นอยู่ทั่วไป สลับกับทุ่งหญ้า มีลักษณะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารแหล่งหนึ่งของแม่น้ำมูล ลำห้วยสายหลัก คือ ลำโดมใหญ่ หินที่มีส่วนใหญ่เป็นหินทราย

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมนี้ ลักษณะส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบและอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศลาวและเขมร ซึ่งป่าตามชายแดนของประเทศทั้งสองก็มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ เช่นกัน ดังนั้นป่าบริเวณนี้ จึงมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แม้กระทั่งฤดูแล้งก็ไม่แห้งมากนัก และในฤดูฝนฝนจะตกชุก โดยแบ่งสภาพอากาศออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

ชนิดป่าและพรรณไม้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดมมีลักษณะป่าประกอบไปด้วยป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้า โดยที่ส่วนของเชิงเขาจะเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง บริเวณยอดเขาสลับไปด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้งและทุ่งหญ้าตามบริเวณทุ่งหญ้านั้นมีหญ้าขึ้นอยู่หลายชนิด มีไม้ดอกขึ้นอยู่สวยงามมากพันธุ์ไม้ในป่าที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ชิงชัน กะบาก พยูง เต็ง รัง เหียง พยอม เก็ดแดง เก็ดดำ แดง ประดู่ เคี่ยมคะนอง สมอ หว้า ก่อ มะยมป่า ชมภู่ป่า ตะแบก เหมือด ไทร มะค่า กะโดน ส้าน พลอง เขล็ง เสลา มะกอก ไม้ที่ขึ้นเป็นพื้น ได้แก่ นนทรี คาง ตีนนก ยาง ตะเคียน มะขามป้อม มะม่วงป่า ไม้พื้นล่างได้แก่ ไผ่ต่าง ๆ หวาย ว่านต่าง ๆ กล้วยไม้ หญ้าต่าง ๆ มอส เฟิร์น

สัตว์ป่า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี เลียงผา หมี กวาง กระทิง เสือโคร่ง เสือดาว เสือปลา แมวป่า เม่น เก้ง หมูป่า หมาป่า หมูหริ่ง ลิ่น ลิง ค่าง ชะนี ลิงลม กระต่ายป่า ชะมด อีเห็น และคาดว่ายังมีกูปรีอาศัยอยู่ด้วย เพราะเป็นแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้
สัตว์ป่าพวกนกต่าง ๆ มีนกหลายชนิด ชนิดที่สำคัญคือ นกเป็ดก่า สัตว์เลื้อยคลานมี เต่า เห่าช้าง และงูประเภทต่าง ๆ

จุดเด่นที่น่าสนใจ

แก้งลำดวน วังเวิน วังฮี   โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วังฮีมีรูปรอยแกะสลักบนก้อนหินเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ แหล่งโบราณคดีภูอ่างเป็นภาพแกะสลักและภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาบริเวณภูอ่าง

การเดินทาง

การเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เดินทางทั้งทางบกและทางอากาศ
ก. ทางบก เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามเส้นทางหลวงผ่านสระบุรีจนถึงนครราชสีมา เมื่อถึงนครราชสีมาแล้วจะสามารถเดินทางได้สองทางคือ
1. ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒ ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงอุบลราชธานี เดินทางต่อผ่านอำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม ถึงอำเภอน้ำยืน จากนั้นไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๔๘ ระหว่างอำเภอน้ำยืน-อำเภอนาจะหลวย อีกประมาณ ๑๕ กม. ถึงบ้านหนองขอน จากบ้านหนองขอนเข้าไปอีกประมาณ ๒.๕ กม. ถึงสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
2. เมื่อถึงนครราชสีมาแล้วเดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ สายโชคชัย-เดชอุดม ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอประโดนชัย (จังหวัดบุรีรัมย์) และผ่านท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอสังขะ (จังหวัดสุรินทร์) อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษณ์ (จังหวัดศรีสะเกษ) แล้วผ่านเข้าไปอำเภอกันทรลักษณ์ ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๑ ถึงอำเภอน้ำยืน (จังหวัดอุบลราชธานี) บรรจบเส้นทางตามข้อ 1.
ข. ทางอากาศจากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินอุบลราชธานีแล้วเดินทางตาม ข้อ ก.

สิ่งอำนวยความสะดวก

รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ไฟฟ้า น้ำประปา ภายในบ้านพักรับรอง

การติดต่อ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม ตู้ ปณ. ๑๐ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี


©2002-2005 by TripandTrek
Contact :
webmaster@tripandtrek.com , MobilePhone : 0-6510-2074