ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 29, 2024, 03:37:33 PM
ทะเลใจ ใส ๆ [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีคราม
| |-+  Diving Knowledge : นานาสาระในโลกสีคราม
| | |-+  อันตรายจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างดี
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อันตรายจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างดี  (อ่าน 4023 ครั้ง)
อันตรายจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างดี
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2009, 02:05:17 PM »

พอดีว่าไปเจอบทความนี้จากเว็บ thaiza.com ค่ะ  อ่านแล้วเป็นอุทาหรณ์อย่างดี  เลยเอามาลงให้เพื่อน ๆ ได้เตือนใน  รวมทั้งตัวคนโพสต์ด้วย อิ ๆ
 
 

อุปกรณ์ดำน้ำส่วนใหญ่ เป็นอุปกรณ์เพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัย และเป็นอุปกรณ์ที่เจ้าของจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ และส่งไปให้ศูนย์ซ่อมบำรุง ตรวจสอบ ซ่อมแซมให้ อุปกรณ์นั้น ๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ การละเลย ไม่ให้ความสนใจอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้อุปกรณ์นั้นเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ตามกรณีตัวอย่างของดิ๊ก

นักดำน้ำ

ดิ๊กเป็นนักดำน้ำระดับ Advance Open Water ที่ดำมาแล้วกว่า 100 dive ในวัย 40 ต้น ๆ ดิ๊กมีน้ำหนักเกินพอดีเล็กน้อย แต่ดิ๊กก็มั่นใจว่าเขาแข็งแรงและมีสุขภาพดีพอ สำหรับการดำน้ำ ดิ๊กตัดสินใจไปดำเรือจมกับเพื่อน แม้ว่าเขาจะไม่ได้ดำน้ำและไม่ได้ตรวสอบอุปกรณ์มากว่า 2 ปีแล้ว

Buddy ของดิ๊กแนะนำว่า ดิ๊กควรจะส่งอุปกรณ์ดำน้ำไปเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงและตัวดิ๊กเองก็ควรไปทำ refresher course ก่อนการดำเรือจม ดิ๊กปฏิเสธทั้ง 2 อย่าง เขาให้ เหตุผลว่า

       อุปกรณ์นั้นเพิ่งใช้ไปได้ครั้งเดียว และก่อนที่จะเลิกดำไป 2 ปีนั้น ดิ๊กเพิ่งเอาอุปกรณ์ไปให้ศูนย์ซ่อมบำรุงตรวจสอบ ในแง่ตัวเองนั้น ดิ๊กเชื่อมั่นจากประสบการณ์และ ความรู้ของตัวเอง ว่าจะสามารถดำได้ทันที โดยไม่ต้องไปทำ refresher course ก่อนการดำเรือจมครั้งนี้


การดำน้ำ

สภาพน้ำและคลื่นลมนับได้ว่าดีมาก ๆ ทะเลเรียบและอุณหภูมิของน้ำอยู่ประมาณ 80 ต้น ๆ ดิ๊กและบัดดี้โดดลงน้ำ และแลเห็นซากเรือจมอยู่ลึกประมาณ 90 ฟุต เมื่อเริ่มดำ ดิ่งลงไป บัดดี้สังเกตุว่ามีฟองอากาศไหลออกจาก first stage ของดิ๊กทุกครั้งที่ดิ๊กหายใจและเขายังรู้สึกว่าดิ๊กมีปัญหาในการหายใจอีกด้วย อย่างไรก็ตามดิ๊กโดดลงน้ำก่อน และดำดิ่งลงไปอย่างรวดเร็วจนบัดดี้ตามไม่ทัน และไม่สามารถเช็คได้ว่าดิ๊กปลอดภัยดีหรือไม่

อุบัติเหตุ

หลังจากดำลงไปได้ประาณ 60 ฟิต การเคลื่อนไหวของดิ๊กก็เริ่มผิดปกติและดูเหมือนว่าดื๊กพยายามจะดำขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่เมื่อดิ๊กไม่สามารถจะเติมลมใน BC ได้ เขาจึงยังคงจม ลึกลงไปเรื่อย ๆ ก่อนที่นักดำน้ำอื่น ๆ จะลงไปถึงดิ๊ก ฟองอากาศจำนวนมากรั่วออกจาก first stage ของเขา บัดดี้ของดิ๊กรีบดำไปหาและส่ง octopus ให้

      แต่ดูเหมือนว่าดิ๊ก ไม่เข้าใจ เขาผลักบัดดี้ออกไป ถอดตะกั่วทิ้งและเริ่มลอยขึ้นอย่างรวดเร็ว จนบัดดี้ไม่สามารถจะตามขึ้นมาได้ทัน เมื่อบัดดี้กลับมาที่เรือได้ เขาก็รายงานควมผิดปกติให้เจ้า หน้าที่ประจำเรือทราบ ไม่นานก็พบศพของดิ๊กอยู่ที่พื้นทราย ห่างจากซากเรือไม่ไกลนัก อากาศในแทงค์หมดเกลี้ยงและหน้ากากหายไป ทุกคนคาดว่าดิ๊กคงจมน้ำตาย

การวิเคราะห์

การชัณสูตรศพแสดงว่าดิ๊กเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ดิ๊กออกกำลังมากจนเกินเหตุ เมื่อตรวจสอบ regulator ก็พบว่ามีการกัดกร่อน (corrosion) ที่บริเวณแผ่นกรองด้านในและลูกสูบ ซึ่งแสดงว่าน้ำเกลือได้ซึมเข้าไปภายใน ก่อนที่ดิ๊กจะเก็บอุปกรณ์ครั้งสุดท้าย การกัดกร่อนนี้แต่เพียงอย่างเดียว ก็มีผลทำให้ อากาศที่ส่งไปให้ดิ๊กหายไปถึง 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังมีความผิดปกติอื่นอีก คือ o-ring ที่ first stage ก็มีปัญหา

        อันอาจสืบเนื่องมาจากการกัดกร่อนก็ได้ ดูเหมือนว่า เมื่อดิ๊ก ดำลงไปถึงระดับ 33 ฟิต ปริมาณอากาศที่ดิ๊กต้องใช้ สูงกว่าที่ regulator ของเขาจะส่งไปให้ได้ ในสภาพที่ regulator นั้นมีปัญหา เมื่อเป็นเช่นนั้นดิ๊กก็จะหายใจแรงและถี่ขึ้น จนกระทั่ง o-ring เองก็ไม่สามารถรับความกดดันได้และเสียหายจนใช้งานไม่ได้ อากาศจึงรั่วออกมากขึ้น คงจะเป็นเพราะความกดดันนี้ ที่ส่งผลให้ดิ๊กเกิดอาการหัวใจล้ม เหลวและเสียชีวิตในที่สุด

เหตุการนี้สอนให้รู้ว่า

•ที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดำน้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ regulator ควรส่ง first และsecond stage เข้าตรวจสอบสภาพ ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง และสำหรับregulator ที่ใช้เป็น ประจำ ควรส่งนำส่งไปตรวจเป็นประจำทุก ๆ ปี

•O-ring ทำจากยางหรือสารสังเคราะห์อื่น ซึ่งอาจแห้งหรือแตกรอยได้ตามอายุของวัสดุ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานเลย ดังนั้น จึงควรตรวจสภาพ หยอดสารหล่อลื่น หรือเปลี่ยน o-ring ใหม่ทุกปี

•เกล็ดเกลือจากน้ำเค็มแม้เพียงไม่กี่หยด มีผลทำให้ความสามรถในการส่งอากาศของ regulator ลดลง ดังนั้นจึงควรตรวจสภาพและหรือเปลี่ยนใหม่ทุกปี

•น้ำทะเลเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับชิ้นส่วนภายใน ดังนั้นนักดำน้ำจึงต้องระวังไม่ให้ภายในของอุปกรณ์เปียกน้ำ โดยการล้าง regulator เมื่อยังไม่ได้ถอด regulator ออกจาก แทงค์หรือปิดฝากันฝุ่นไว้ นอกจากนี้แล้ว เมื่อเก็บ regulator ก็ต้องปิดฝากันฝุ่นไว้ตลอดเวลาด้วย เช่นเดียวกันการตรวจสอบสภาพเป็นประจำ จะช่วยให้พบข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ และจัดการแก้ไข ก่อนที่จะกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

•โดยทั่วไปแล้ว นักดำน้ำแม้จะมีปัญหาสุขภาพบ้าง ยังสามารถดำน้ำได้โดยปลอดภัย ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี แต่เมื่อใดที่มีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น นักดำน้ำจำเป็นต้องแข็ง แรงหรือมีสุขภาพดี เพื่อที่จะรับมือปัญหานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
บันทึกการเข้า

เพราะหัวใจ(เรียกร้อง ... เราจึงออก)เดินทาง
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.021 วินาที กับ 19 คำสั่ง