ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
เมษายน 18, 2024, 07:32:19 AM
ทะเลใจ ใส ๆ [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีคราม
| |-+  ทะเลใจ (ผู้ดูแล: Joyful, Mask-400)
| | |-+  มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ  (อ่าน 7444 ครั้ง)
มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 12:54:20 PM »

ปัจจุบันอุปกรณ์ถ่ายรูปใต้น้ำมีราคาถูกลงและมีทางเลือกที่หลากหลาย ทำให้นักดำน้ำหลายๆ คนหันมาสนใจเรื่องการถ่ายภาพใต้น้ำกันมากขึ้น

พอดีไปเปิดกรุเอกสารเก่าๆ ที่เก็บไว้ แล้วไปเจอบทความนี้เข้า ซึ่ง copy เก็บไว้นานแล้ว และจำไม่ได้ด้วยว่าเอามาจากใหน  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม แต่เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์และเป็นหลักการที่ดีที่น่านำไปปฏบัติ เพราะมีสมาชิกของเราจำนวนไม่น้อยที่ ชอบถ่ายภาพและดำน้ำ บางคนก็ปฏิบัติถูกต้องแล้ว บางคนก็มีเผลอไผลไปบ้าง ส่วนบางคนไม่เคยศึกษาและเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัวที่ดีเลย  ตกใจ ตกใจ
บทความนี้ไม่ได้มีประโยชน์กับใครเลยแม้แต่ตัวฉันหรือคนเขียนเอง  นอกจากคนที่อ่านและนำไปปฏิบัติเท่านั้น  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เมื่อคิดจะเอากล้องลงน้ำ       
    ถ้าวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพใต้น้ำของเราเพื่อถ่ายเล่นๆ เอาไว้ดูเล่น คุณอาจใช้เพียงโหมด Auto ก็เพียงพอ แต่ถ้าคุณต้องการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ต้องการนำไปประกวด หรือ เอาไปทำอะไรอื่นๆ มากกว่านี้ คุณควรศึกษาคุณสมบัติของกล้องให้ดีก่อนว่าทำอะไรได้บ้าง เช่น
  • การใช้แฟลชในตัวของกล้อง
  • การใช้ไฟฉาย หรือ การใช้ Strobe ภายนอก
  • การใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ถ่ายใต้น้ำ ,Shutter Speed, ISO, การถ่ายวีดีโอคลิป และสารพัดฟังก์ชั่นที่กล้องมีมาให้ 
  • ควรฝึกใช้กล้องให้เกิดความคล่องแคล่วและคุ้นเคยก่อนที่จะนำลงน้ำ  คุณอาจลองถ่ายสัตว์เล็กๆ เช่น มด หนอน ผีเสื้อ แมลงปอ เป็นต้น
  • เมื่อถ่ายบนบกคล่องแล้ว ควรลงสระน้ำฝึกอีกหน่อย จากนั้นไปฝึกฝีมือต่อที่ไดฟ์ไซท์ใกล้ๆ เช่น พัทยา แสมสาร ลองถ่าย ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน เช่น พื้นทราย ปะการังแข็ง แล้วลองจำลองสถานการณ์ เช่น หากกุ้ง ปู อยู่ในหลืบ ในซอก ในโพรง จะถ่ายอย่างไร ปลาว่ายมาเร็วๆ จะต้องทำอย่างไร ลองซูมอิน ซูมเอ๊าท์ เข้าโหมดมาโคร(Macro)  เป็นต้น
    การถ่ายภาพใต้น้ำ จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก เพราะการถ่ายภาพใต้น้ำยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปัจจัยอีกหลาย เช่น การลอยตัว  กระแสน้ำ การมองเห็น สภาพใต้น้ำ เวลา เป็นต้น นอกจากจะฝึกฝนในเรื่องการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังอีกครับ

ข้อควรระวังในการถ่ายรูปใต้น้ำ
  • ควรระมัดระวังเรื่องการลอยตัว (Buoyancy control) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ เช่น ปะการัง กัลปังหา สำคัญนะครับเรื่องนี้
  • ควรสำรวจดูบริเวณโดยรอบ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษหรือ เช่น หอยเม่น หรือปลาหินต่างๆ ซึ่งอาจทำให้การถ่ายรูปของเราหมดสนุกไปได้
  • ที่สำคัญ อย่าลืมกฎสำคัญของการดำน้ำ คือ โนดีคอมเพลสชั่น ลิมิต(No Decompression Limited) หรือ NDL เพราะนักถ่ายภาพใต้น้ำส่วนใหญ่ จะถ่ายเพลิน หรือรอเพื่อถ่ายช็อตเด็ด จนอาจให้อยู่ในที่ลึกจนนานเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ดังนั้นควรวางแผนการดำน้ำให้ดีเสียก่อน หรือควรจะมีไดฟ์คอมพิวเตอร์อยู่กับตัวสัก 1 เครื่อง

มารยาทที่ดีสำหรับ การถ่ายรูปใต้น้ำ
หากว่าเราหาตัวนู้นตัวนี้เจอเอง แล้วไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ จะกดแชะ แชะ นานแค่ไหน ก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าเป็นตัวอะไรแปลกๆ ที่ใครๆ ก็อยากเจอ อยากถ่ายละก้อ เราต้องมีมารยาทกันบ้างครับ  ยิงฟันยิ้ม
  • ขั้นต้นก็คือ การรอคิว หรือ เข้าคิว ต้องรอกันบ้างครับ ไมใช่มะรุมมะตุ้มแย่งกันถ่าย
  • ระหว่างรอคิวควรปรับโหมด เซ็ทกล้องเอาไว้ล่วงหน้า หรือคิดว่าจะถ่ายอย่างไรดี พอถึงคิวถ่ายก็จะได้ไม่เสียเวลา
  • จากนั้นเมื่อถ่ายสัก 2-3 รูป ก็ควรผลัดให้คนอื่นเข้ามาถ่าย เข้ามาดูบ้าง
  • ตอนออกจากจุดที่ถ่ายรูป ให้ค่อยๆ ผลักตัวหรือถอยออกมาก่อนแล้วจึงค่อยๆ เตะฟิน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นทรายหรือตะกอนคละคลุ้ง หรือบางครั้งหากเราตีฟินแรงก็อาจทำให้ตัวเล็กตัวน้อย เช่น ทากทะเล กระเด็นกระดอนไปไหนก็ไม่รู้

อย่าลืมนะครับว่าระบบนิเวศน์ใต้ทะเลของเรานั้นแสนจะบอบบาง หากรักที่จะถ่ายภาพเพื่อ "เก็บ" เป็นที่ระลึก ก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสียหายต่อท้องทะเลด้วย อย่าให้ใครเค้าว่าเอาได้ว่า "ดีแต่เอากล้องลงน้ำ"
 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 25, 2008, 01:29:16 PM โดย G-girl » บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 01:23:12 PM »

Decompression Sickness

• คุณรู้อะไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง ?
นอกจากอย่าดำน้ำจนเกิน NDL หรือ อย่าขึ้นเร็วจนเกินไป

• มีปัจจัยเพียงเท่านั้นเองหรือ?
จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัย ซึ่งบางอย่างผมเองก็เพิ่งรู้ รู้จากไหน?
 ก็จากตัวเอง และเพื่อนๆ สมาชิก ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงแน่ว เลยล่ะ
เรามักจะรับรู้กันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า อย่าดำนาน และอย่าดำลึกจนเกิน dive table หรือ wheel วางแผนการดำน้ำให้ดี ก็จะป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ (ถึงแม้ไม่มีทฤษฎีใดๆ รับประกันว่าจะไม่เกิดโรคนี้ก็ตาม) จริงๆ แล้วยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิด Decompression sickness ได้ อาทิ

ร่างกายขาดน้ำ
ควรทานน้ำเยอะๆ ก่อนดำน้ำ ไม่ใช่เพียงเพื่อไม่ให้คอแห้งเท่านั้นนะครับ แต่การทานน้ำเยอะๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนช้าลง เพราะน้ำพาความร้อนไปได้ดีกว่าในอากาศถึง 20 เท่า หากร่างกายขาดน้ำจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดโรคได้เร็วขึ้น
นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
อายุมาก ความอ้วน ไขมัน
การออกแรง เช่น ยกก้อนหิน  การตีฟินสู้น้ำที่แรง ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยานะครับ
น้ำเย็น (อย่าลืมบวกการคำนวณความลึกไปอีก 4 เมตร นะครับ)
การดื่มเครื่องดิ่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนและระหว่างดำน้ำ (หากว่าหลังดำของแต่ละวันละ? ก็มีผลเหมือนกันครับ)

เราสามารถแบ่งโรคนี้ได้ออกเป็น 2 แบบ คือ Type I และ Type II
ซึ่งทั้งสองแบบ จะเกิดอาการตั้งแต่ขึ้นมาจากน้ำ 5 นาทีไปจนถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นนะครับ
หากเลยไปวันที่ 2 วันที่ 3 หรือ เป็นสัปดาห์ ก็คงเป็นโรคอื่นแล้วล่ะครับ ซึ่งเราก็ไม่ควรวิตกจริตจนเกินไปนัก

Type I
แบบนี้ จะไม่ร้ายแรงมากนัก
อาการก็จะเป็นผื่นแดง คันๆ บริเวณผิวหนัง ครั่นตัว ซึ่งอาการเหล่านี้พวกเราหลายคนอาจจะเคยเป็นแล้วก็ได้ แต่ไม่รู้ตัว เพราะอาจหายได้เองหากเวลาผ่านไป (ภายใน 72 ชั่วโมง) แต่ควรสังเกตดูด้วยนะครับ ว่าโดนพวกไฮดรอย หรือ แมงกะพรุน หรือเปล่า ไม่ใช่ตะบี้ตะบันเหมาว่าเป็น Bend ไปหมด หากอีกพักนึง มีอาการเจ็บปวดที่แขน ขา ชา ก็ควรสันนิษฐานว่า อาจเป็นโรค Bend ให้ skip dive ซะ เฝ้าดูอาการก่อน อย่าไปงกกับค่าทริปมากนัก หากอาการโอเค หรือ นอนสักงีบแล้วหาย ก็คงไม่เป็นอะไรหรอกครับ ดำต่อได้

Type II
ท่าจะแย่แล้วล่ะครับ หากขึ้นมาแล้ว รู้สึกว่าหายใจขัด เจ็บขณะหายใจ ไออย่างรุนแรง เจ็บตามข้อ เริ่มเป็นอัมพาต เป็นลม หมดสติ แบบนี้ไม่ต้องมัวสันนิษฐานหรอกครับ รีบปฐมพยาบาลทันทีนะครับ โดยการให้ ออกซิเจน 100% (เรือดำน้ำทุกลำต้องมี) กับผู้ป่วย เปิดทางเดินหายใจ หากผู้ป่วยหมดสติ  หากผู้ป่วยหายใจเองได้ ให้หายใจแบบปกติ อย่ากลั้น หรือ ทำ Hyperventilation โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้อาการทรุดหรือหนักกกว่าเดิม  และไม่ต้องหวังดีพาผู้ป่วยลงไปทำ Recompression ในน้ำนะครับ ไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้ทรุดหนักขึ้น ให้สังเกตอาการของผู้ป่วยไปเรื่อยๆ โทรหา Chamber และรถพยาบาลแต่เนิ่นๆ พอถึงฝั่งจะได้รักษาโดยเร็ว

ความรู้เพิ่มเติมครับ ใช่ว่าทุกวันนี้คุณสามารถเข้า Chamber ได้ทันทีนะครับ Chamber ทุกวันนี้ มักใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นแผลหายยาก หรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานครับ ดังนั้นคิวจะยาวมาก และก็คาดว่า .... น่าจะแพง

     ดังนั้นการระมัดระวังในการดำน้ำของพวกเราน่าจะเป็นทางออก ที่ดี(และถูก)ที่สุดนะครับ หากสามารถทำตามข้อแนะนำต่อไปนี้ได้ ก็จะเยี่ยมมากเลยครับ
   • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
   • ทานให้อิ่ม (อันนี้สบาย)
   • นอน หรือพักผ่อน เยอะๆ ก่อนดำน้ำ (เป็นปัญหาของหลายๆ คน ที่ อาจจะแปลกที่ เมาเรือ คืนแรกไม่ค่อยหลับกันหรอก แต่ก็ควรพยายาม (อาจใช้ตัวช่วยเช่น ยาแก้เมาเรือ ก็อาจทำให้หลับได้ง่ายขึ้น)
   • ขณะดำน้ำ อย่าอยู่ต่ำกว่าไดฟ์ลีดเดอร์ อันนี้ขอเน้นย้ำครับ เพราะนักดำน้ำโดยส่วนใหญ่มักลอยตัวอยู่ต่ำกว่าไดฟ์ลีดเดอร์เสมอ(ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจก็ตาม) ไดฟ์ลีดแทบทุกคนจะมีประสบการณ์ และมีไดฟ์คอม ซึ่งเป็นอาชีพของเค้า เค้าต้องรักษาตัวให้ดำน้ำได้นานๆ โดยที่ไม่เสี่ยงดำจนเกิน NDL หรือ ติด ดีคอม ดังนั้นเราก็ไม่ควรเสี่ยงด้วย ไม่ว่าจะมี Dive Computer หรือไม่ก็ตาม
   • อย่าคิดว่าตัวเองเท่ห์ แน่ เจ๋ง ดำนานเกินไป
   • สำหรับนักถ่ายรูป ตากล้อง ยายกล้องทั้งหลาย ควรจะมี Dive Computer เป็นของตัวเองนะครับ เพราะว่า หากน้ำใส ไหลเย็นเห็นตัวปลา ตากล้องทั้งหลายมักจะลืมตัว นึกว่าอยู่บนบก แล้วก็เล็งอยู่นั่นแหละ กดชัตเตอร์ปุ๊ป กุ้งหอย ปู ปลา ก็มักจะหลบปั๊ป(เหมือนจะแกล้ง) กว่าจะได้รูปดั่งใจ ก็ผ่านไปแล้วหลายนาที โอกาสติด ดีคอมจึงมีสูงกว่าคนอื่น

*** อย่าลืมนะครับ ไม่มี ทฤษฎี ใดๆ ที่รับประกันได้ว่าเราจะไม่เป็นโรค Decompression Sickness ดังนั้นการปลอดภัยดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 01:38:11 PM »

Safety Stop และ Decompression Stop

รู้ไหมครับว่า มันต่างกันอย่างไร ?
    ปกติการทำ safety stop นั้นตารางน้ำ ( dive Table ) บอกไว้ว่า ควรทำเมื่อดำนานจนตก pressure group เป็น 3 กลุ่มสุดท้าย หรือ NDL time หรือดำน้ำที่ความลึกตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป (เอ หรือ ลงไป หว่า ? ) เอาเป็นว่าความลึกที่มากกว่า 30 เมตรละกันนะ  ให้หยุดพักน้ำที่ 5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 นาที ย้ำนะครับ ไม่น้อยกว่า 3 นาที มากกว่ายิ่งดี อันนี้เค้าเรียกกันว่า Safety Stop ครับ
    แต่ถ้าไดฟ์นั้นๆ คุณดำไม่ลึกถึง 30 เมตร หรือ เวลาดำน้ำไม่อยู่ใน 3 pressure group สุดท้าย หากกำลังทำ safety stop อยู่ แต่เกิดตัวลอยขึ้นไปบนผิวน้ำ หรือ ไม่ได้ทำ safety stop ก็ไม่ต้อง ซีเรียส กังวลมากนะครับ ยังอยู่รอดปลอดภัยอยู่ ยังไม่ติดดีคอม หรือเป็นโรคเบนด์ หรอกครับ แต่หากเป็นไปได้ หรือ ทำได้ และควรจะทำ คือ ควรทำ safety stop ทุกไดฟ์ ทำได้ทุกไดฟ์ยิ่งดีนะครับ มากกว่า 3 นาทีก็ยิ่งดีมั่ก มั่ก ครับ จะช่วยให้เราปลอดภัย หรือมีปริมาณไนโตรเจนที่สะสมในร่างกายน้อยลงครับ

แล้วถ้าหากดำนานจนเกิน NDL หรือเวลาดำน้ำที่ปลอดภัยหล่ะ ต้องทำยังไง?
อันดับแรกต้องทำใจก่อนครับ แล้วท่องนะโม 3 จบ จากนั้นให้หายใจลึกๆ สัก 2-3 ครั้ง :-)
กรณีนี้เราเรียกมันว่า Decompression Stop ครับ ซึ่งเราสามารถแยกได้เป็น 2 กรณี คือ
  1. ดำเกิน NDL แต่ไม่เกิน 5 นาที
      สมมุตินะครับ สมมุติ ที่ความลึก 26 เมตร NDL คือ 10 นาที คืออยู่ที่ความลึก 26 เมตร ได้ 10 นาทีอย่างปลอดภัย บังเอิ๊ญ บังเอิญ ถ่ายรูปเพลินไปหน่อย คุณอยู่นานถึง 11 นาที หรือ 12 นาที หรือ 13 นาที 14 นาที และ 15 นาที (คือเกิน NDL time แต่เกิ   นไม่เกิน 5 นาที) อย่างนี้ทำงัย?
     วิธีแก้หลังจากท่องนะโมแล้วนั้น ให้เราขึ้นมาทำ safety stop ที่ 5 เมตรเช่นเดิม แต่ชื่อ safety stop จะเปลี่ยนเป็น Decompression Stop ให้พักน้ำที่ 5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 นาที (มากกว่ายิ่งดี) จากนั้นเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้ว ให้พักน้ำ(Surface Interval) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และสังเกตุอาการว่าคุณจะเป็น Bend หรือไม่
เห็นมั๊ยครับ ดำเกิน NDL แค่เกินไม่ถึง 5 นาที ไม่คุ้มค่าเลยที่ต้องรอดูอาการถึง 6 ชั่วโมง
  2. ดำเกิน NDL และเกิน 5 นาที
      เอาตัวอย่างเดิมนะครับ ที่ความลึก 26 เมตร NDL บอกว่า 10 นาที คืออยู่ที่ความลึก 26 เมตร ได้ 10 นาทีอย่างปลอดภัย บังเอิ๊ญ หลับเพลินไปหน่อย คุณอยู่นานถึง 16 นาที หรือ 17 นาที เป็นต้นไป (คือเกิน NDL time และเกิน 5 นาที) อย่างนี้ ทำงัย
      วิธีแก้หลังจากท่องนะโม และบ่นกับตัวเองว่า "ซวยแล้วตู" แล้วนั้น ให้เราขึ้นมาทำ safety stop ที่ 5 เมตรเช่นเดิม แต่ชื่อ safety stop จะเปลี่ยนเป็น Decompression Stop ให้เราพักน้ำที่ 5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที (มากกว่ายิ่งดี) จากนั้นเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้ว ให้พักน้ำ(Surface Interval) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และสังเกตุอาการว่าคุณจะเป็น Bend หรือไม่
คุ้มหรือไม่ ที่คุณดำเกินกำหนดเวลาดำน้ำที่ปลอดภัย หรือ NDL Time (No Decompression Limited)
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคลนะครับ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ
เพราะนักดำน้ำหลายๆ ท่านยังคงมีความเชื่อผิดๆ ว่า บางคนก็บอกว่า Dive comp. มันคำนวณ เผื่อให้แล้ว
ร่างกายเราแข็งแรง ดำไม่บ่อย ปีละหนสองหน คงไม่เป็นไรหรอก อย่างนี้เป็นต้น

อย่าลืมนะครับก่อนดำน้ำ เรือแทบทุกลำให้เราเซ็นต์ว่า หากเกิดอันตรายขึ้น เราไม่สามารถเรียกร้องเอาผิดอะไรกับใครได้นะครับ ความปลอดภัยการดำน้ำขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตัวเราเอง ตกใจ ยิ้มเท่ห์ ดังนั้นขอให้โชคดีครับ   ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 02:26:08 PM »

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ คับ

เป็นการให้ความรู้ก่อนการไปทริป มีประโยชน์มากคับ

ถ้าเป็นไปได้ ขอบทความพวกเทคนิคการดำน้ำด้วย จะดีมากคับ  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2008, 05:19:52 PM »

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ คับ

เป็นการให้ความรู้ก่อนการไปทริป มีประโยชน์มากคับ

ถ้าเป็นไปได้ ขอบทความพวกเทคนิคการดำน้ำด้วย จะดีมากคับ  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ได้คับ แต่ไอ้ 25 ข้อที่ให้ไปอะ แปลหมดอะยัง อะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2008, 08:55:25 PM »

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ คับ

เป็นการให้ความรู้ก่อนการไปทริป มีประโยชน์มากคับ

ถ้าเป็นไปได้ ขอบทความพวกเทคนิคการดำน้ำด้วย จะดีมากคับ  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์  ยิ้มเท่ห์

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ได้คับ แต่ไอ้ 25 ข้อที่ให้ไปอะ แปลหมดอะยัง อะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เอ๋...  ฮืม  ฮืม อันไหนอ่ะคับ  อายจัง สงสัยจะลืม

ขออีกทีได้ป่าว  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2008, 10:54:44 AM »

...ที่แท้เอกสารที่ส่งให้เราตอนขึ้นรถ
ก็มาจากนี้นี่เอง 55555


บันทึกการเข้า

...โห..ดูมันตั้งชื่อให้ชั้นนนนนนนนน.....
Re: มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2008, 03:59:39 PM »

...ที่แท้เอกสารที่ส่งให้เราตอนขึ้นรถ
ก็มาจากนี้นี่เอง 55555




เจ้อ่านแล้วท่องให้ขึ้นใจเลยนะคับ มีไรจะได้แนะนำน้อง ๆ บ้าง เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.033 วินาที กับ 20 คำสั่ง