ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 29, 2024, 09:15:55 PM
ทะเลใจ ใส ๆ [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีคราม
| |-+  Diving Knowledge : นานาสาระในโลกสีคราม
| | |-+  Diving Knowledge # การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Diving Knowledge # การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล  (อ่าน 15210 ครั้ง)
Diving Knowledge # การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 02:10:31 PM »

ดูเหมือนช่วงนี้กระแสการบาดเจ็บจากการดำน้ำจะมาแรงเหลือเกิน จนทำให้หลายๆ คนรู้สึกว่าการดำน้ำได้กลายเป็นเรื่องน่ากลัวไปซะแล้ว
แต่สำหรับคนที่คลั่งไคล่ให้ผืนน้ำสีครามนั้น ดูจะเป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะให้เลิกกิจกรรมที่แสนสุขนี้ไป (คาดว่าไปถ้ำกระบอก ก็คงไม่สามารถรักษาได้ ยิงฟันยิ้ม)
ฉะนั้น เมื่อไม่สามารถที่เลิก จึงหันมาศึกษาหาความรู้และระมัดระวังตัวเองกันดีก่า  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

            การบาดเจ็บในการดำน้ำนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว ผลที่ตามมามักจะรุนแรง อาจนำไปสู่การบาดเจ็บสาหัส
การพิการ หรือการเสียชีวิตได้ วิธีการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการดำน้ำที่ดีที่สุดคือการไม่ประมาท ดำน้ำด้วยความรอบคอบ ปฏิบัติตนตามกฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อแนะนำ ของสถาบันดำน้ำที่เรียนมา ของ Instructor, และ Divemaster อย่างเคร่งครัด ไม่ควรทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตน
 ไม่ควรดำน้ำด้วยความคึกคะนอง อวดเก่ง หรือเพื่ออวดความสามารถของตน


            นอกจากนั้น สิ่งที่ควรจะมี คือการมีแผนปฏิบัติการสำหรับกรณีฉุกเฉิน ดังเช่นในเอกสารฉบับนี้ การมีแผนปฏิบัติการที่ดีนั้น
จะทำให้นักดำน้ำนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในเวลาวิกฤติ ไม่ต้องเสียเวลาทบทวน หรือเดาว่าสิ่งที่ตนจะกระทำนั้นถูกต้องหรือไม่ และนำไปสู่การกู้ภัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง
            การบาดเจ็บจากการดำน้ำนั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน บางอย่างก็เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วๆ ไป ขณะที่บางอย่าง ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดำน้ำด้วยอุปกรณ์ในการหายใจใต้น้ำเท่านั้น
 เอกสารฉบับนี้ จะแนะนำถึงอุบัติเหตุ การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาลการติดต่อสื่อสาร และวิธีการนำผู้ป่วยไปส่งแพทย์ ในกรณีฉุกเฉินจากการดำน้ำ

          สิ่งที่สำคัญในการรับมือกับกรณีฉุกเฉินนั้น คือการเตรียมพร้อม ทั้งความพร้อมด้านบุคลากร ข่าวสารข้อมูล และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินการ
นั่นคือ บุคลากรที่จะรับมือกับกรณีฉุกเฉินในการดำน้ำนั้น ควรที่จะมีความพร้อมทั้งในด้านความรู้ ด้านร่างกาย และจิตใจ บุคลากรดังกล่าวควรมีสมรรถภาพทางกายที่ดี
มีทักษะในการดำน้ำและว่ายน้ำเป็นอย่างดี มีความรู้ความสามารถในเรื่องการกู้ภัยจากการดำน้ำ และมีจิตใจที่พร้อมในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติอันอาจจะเกิดขึ้น
อันดับต่อมา ในการที่จะรับมือกับกรณีฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรจะต้องมีการเตรียมข้อมูลที่จะใช้ เช่นข้อมูลวิธีการดำเนินการต่างๆ
ข้อมูลวิธีการติดต่อกับบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลวิธีการขนส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์ เส้นทางการเดินทาง ฯลฯ และสุดท้าย
สำหรับการรับมือกับกรณีฉุกเฉิน ควรจะมีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่คาดว่าน่าจะได้ใช้งานไว้ใกล้ๆ เช่นเครื่องมือช่วยคนตกน้ำ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2008, 07:14:06 PM โดย Joyful » บันทึกการเข้า
Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 02:24:36 PM »

อุปกรณ์ที่ควรมี ในกรณีฉุกเฉิน มีดังต่อไปนี้
    • กล้องส่องทางไกล
    • คลิปบอร์ด กระดาษ ปากกา ดินสอ
    • กระดานกู้ภัย หรือเซิร์ฟบอร์ด
    • เชือกขนาดและความยาวต่างๆ
    • สมอสำหรับทำ Circular Sweep
    • เข็มทิศใต้น้ำ
    • เครื่องหมายสำหรับปักใต้น้ำ
    • ทุ่น Marker
    • ผ้าห่ม
    • อุปกรณ์ปฐมพยาบาล อันประกอบไปด้วย
    • คู่มือการปฐมพยาบาล สำลีทำแผล
    • แผนปฏิบัติการ และข้อมูลสื่อสาร แผ่นซับแผล
    • เหรียญสำหรับหยอดโทรศัพท์ เทปพันแผล และเทปทั่วไป
    • น้ำส้มสายชู ที่กดลิ้น
    • ยา Sea Balm หรือ Bacitrincin ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย
    • Cortizone Cream มีดโกน
    • ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่แอสไพริน กรรไกร
    • สบู่ ไม้ขีดไฟหรือไฟแช๊ค
    • ถุงร้อน ผ้าห่ม
    • ถุงเย็น ไม้ทำเฝือก
    • แอลกอฮอล์ ไฟฉายขนาดเล็ก
    • แผ่นพลาสติค ยาแก้เมาคลื่น
    • ผ้ากอซห้ามเลือด Pocket Mask
    • ขวดบีบใส่น้ำเปล่า อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
    • ผ้าสามเหลี่ยม ผ้าพันแผลแบบม้วน
    [/list]
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2008, 02:36:09 PM โดย G-girl » บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 02:34:16 PM »

    การบาดเจ็บจากการดำน้ำ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นและการปฐมพยาบาล มีดังต่อไปนี้
    โรคเบนด์ หรือ Decompression Sickness

         เป็นการเจ็บป่วยอันเกิดจากก๊าซไนโตรเจนที่ถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายเมื่อนักดำน้ำลงไปในความลึก ปลดปล่อยออกมาช้ากว่าอัตราการลดของความดันภายนอกร่างกายของนักดำน้ำเมื่อขึ้นมาสู่ผิวน้ำ อันจะก่อให้เกิดฟองอากาศในเนื้อเยื่อและเข้าสู่กระแสเลือด เกิดการขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และนำไปสู่อาการต่างๆ ของโรคเบนด์ มากน้อยตามลักษณะ บริเวณ และปริมาณของฟองอากาศที่เกิดขึ้น
    มีนักสรีรวิทยาจำนวนมาก ที่เชื่อว่าฟองอากาศนั้นเกิดขึ้นและอยู่ในร่างกายของนักดำน้ำหลังจากการดำน้ำทุกครั้ง หากฟองอากาศนี้มีจำนวนน้อยและมีขนาดเล็ก ก็จะไม่มีผลกระทบอันใดต่อนักดำน้ำ ในทางตรงกันข้าม หากฟองอากาศมีมาก และมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดอาการของโรคเบนด์ขึ้นมาได้
    สาเหตุของโรคเบนด์นี้ มักเกิดจากการที่นักดำน้ำขึ้นจากความลึกสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป และจากการอยู่ใต้น้ำที่ความลึกและเวลาที่เกินกว่าร่างกายจะทนได้  สภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่เหมาะสม ความเหนื่อย ความเย็น สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งเทคนิคการดำน้ำ เช่นการไม่ทำ Safety Stop เป็นต้น  นอกจากนั้น ยังมีการเกิดโรคเบนด์จากการขึ้นเครื่องบินหรือขึ้นสู่ความสูงเกิน 300 เมตร ภายในระยะวเลา 12 ชั่วโมงหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำ อัตราความกดดันของอากาศที่น้อยกว่าที่ระดับน้ำทะเลอาจทำให้ก๊าซไนโตรเจนที่ยังตกค้างในร่างกายของนักดำน้ำขยายตัวขึ้นมาจนทำให้เกิดอาการของโรคเบนด์ขณะขึ้นเครื่องบินได้
         เนื่องจากฟองอากาศนี้สามารถก่อตัวขึ้นมาได้ทุกที่ในร่างกายของคน อาการและความรุนแรงของโรคเบนด์จึงมีหลายระดับหลายอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและปริมาณของฟองอากาศที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วย โรคเบนด์นี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดใหญ่ ตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ
       
       แบบที่ 1 เป็นอาการที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือตามข้อต่อต่างๆ โรคเบนด์แบบนี้มักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าแบบที่ 2 นักดำน้ำที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการคัน ชา เจ็บ ตามผิวหนัง หรือมีอาการปวดตามข้อต่างๆ เช่นข้อนิ้ว ข้อศอก ข้อเข่า เป็นต้น

       แบบที่ 2 เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย มักเป็นระบบสมอง ระบบประสาท ระบบการหายใจ ระบบการย่อยอาหาร เป็นต้น อาการของโรคเบนด์แบบนี้ มักเกิดความอ่อนเพลียผิดปกติอย่างมาก วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอัมพาต เสียการทรงตัว ไม่สามารถกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการหยุดหายใจ เจ็บหน้าอก หรือไออย่างมาก จนกระทั่งอาจหมดสติไปได้
    โดยปกติ อาการของโรคเบนด์ทั้งสองแบบนี้ มักเกิดขึ้นหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วตั้งแต่ 5 นาที ถึง 12 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคเบนด์จะเกิดขึ้นช้า ผู้ป่วยมักไม่หมดสติทันที อาการมักเกิดขึ้นทั้งสองด้านของร่างกาย และมีการตอบสนองต่อการปฐมพยาบาลน้อย
    เมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงให้เห็นว่าเป็นโรคเบนด์แล้ว วิธีการรักษาพยาบาลก็คือการนำผู้ป่วยเข้า Recompression Chamber เพื่อให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ความดันที่ทำให้เกิดฟองอากาศในขั้นแรกก่อนที่จะเป็นโรคเบนด์ การกลับเข้าสู่ความดันดังกล่าวนี้ ยิ่งเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งลดแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยพิการมากเท่านั้น เนื่องจากการกลับเข้าสู่ความดันจะทำให้ฟองอากาศซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเบนด์นี้หดตัวลงไป หรือกลับเข้าสู่สภาพของเหลว ซึ่งจะทำให้อาการเจ็บป่วยของโรคเบนด์นี้หายไป จากนั้นจึงค่อยๆ ลดความกดดันอย่างช้าๆ เพื่อให้ก๊าซไนโตรเจนค่อยๆ ออกจากร่างกายตามปกติอย่างปลอดภัย

    วิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคเบนด์เบื้องต้นนั้นคือการจัดกระบวนการกู้ชีวิตเบื้องต้น (Basic Life Support) แล้วจึงให้ผู้ป่วยหายใจเอาก๊าซออกซิเจน ( หากเป็นไปได้ควร 100%) เข้าไปให้มากที่สุดท่าที่จะมีอยู่จนกระทั่งถึงมือแพทย์ การที่ผู้ป่วยหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปนั้น จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกำจัดเอาก๊าซไนโตรเจนออกจากร่างกายโดยเร็วและปลอดภัย
    ขณะทำการปฐมพยาบาล ควรให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย เอามือซ้ายหนุนศีรษะไว้ ท่านอนท่านี้จะทำให้ทางเดินอากาศเปิดอยู่เสมอหากผู้ป่วยจะอาเจียน ไม่ควรให้ผู้ป่วยนั่งเนื่องจากเคยมีการศึกษาพบว่าการขึ้นมานั่งจะทำให้อาการของโรคหนักไปกว่าเดิม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่หายใจ ควรให้นอนหงายเพื่อรับการปฐมพยาบาลและการผายปอดปั๊มหัวใจ

    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2008, 03:03:36 PM โดย G-girl » บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 02:56:10 PM »

    การบาดเจ็บจากปอดขยายตัวมากเกินไป (Lung Overexpansion)

          เกิดจากการขยายตัวของอากาศในปอดของนักดำน้ำ ซึ่งถูกปิดกั้นไว้ไม่ให้ระบายออกนอกร่างกายด้วยสาเหตุต่างๆ ทำให้เนื้อเยื่อ หรือถุงลมในปอดขยายตัวเกินกว่าที่จะรับได้ และเกิดการรั่วของอากาศไปยังที่ต่างๆ หรือสู่กระแสโลหิต โดยส่วนมาก การบาดเจ็บชนิดนี้มักเกิดจากการกลั้นหายใจขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่นการขัดขวางทางเดินของระบบหายใจขณะขึ้นสู่ผิวน้ำจากของเหลว เสมหะเนื่องจากการเป็นหวัด ติดเชื้อในปอด หรือการปิดของท่อ Alveolus ของ Bronchioulus เพราะสารเคลือบท่อเหล่านั้นสูญหายไปเนื่องจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น
    การบาดเจ็บของปอดนี้ อาจเกิดขึ้นได้จากการขยายตัวของอากาศเพียงน้อยนิดเท่านั้น นักดำน้ำอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้หากกลั้นหายใจและขึ้นมาเพียงสองหรือสามฟิตเท่านั้นเอง
    การบาดเจ็บดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ปอดฉีกขาดในลักษณะเดียวกับลูกโป่งแตก แต่จะฉีกขาดภายใน อาการบาดเจ็บนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

     ฮืม Air Emblism เป็นอาการปอดขยายตัวมากเกินไปที่ร้ายแรงที่สุด และมักพบบ่อยที่สุดด้วย เนื่องจากอากาศที่ขยายตัวทำให้ถุงลม (alveoli) ในปอดฉีกขาด อากาศรั่วเข้าไปในกระแสเลือด เกิดฟองอากาศในเส้นเลือดที่หัวใจ อาจเกิดการขัดขวางทางเดินโลหิตที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่นสมอง มักทำให้เกิดอาการตามัว เวียนศีรษะ หมดสติกระทันหัน ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น ไอ น้ำลายเป็นฟองเลือด อาจหยุดหายใจ หรือเสียชีวิตได้ อาการนี้มักเกิดขึ้นภายใน 5 นาทีหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำ

     ฮืม Mediastinal Emphysema เกิดจากอากาศรั่วเข้าสู่แกนกลางของปอด และสะสมจนกระทั่งกดหัวใจและหลอดเลือดหลัก รบกวนการไหลเวียนโลหิต ผุ้ป่วยมักมีอาการเจ็บใต้กระดูกหน้าอก หยุดหายใจ หายใจติดขัด ต้องพยายามกลืนอากาศ เป็นลม หมดสติ ช๊อค

     ฮืม Subcutaneous Emphysema เกิดจากอากาศรั่วไปสู่ฐานของคอ จะรู้สึกว่ามีลมอยู่ภายใต้ผิวหนังบริเวณคอ เสียงเปลี่ยน รู้สึกหายใจติดขัด
     
     ฮืมPheumothorax เกิดจากการขยายตัวจนปอดฉีกขาด อากาศรั่วเข้าไปในบริเวณระหว่างปอดและผนังของปอด ทำให้เกิดการยุบตัว (Collapse) ของปอดข้างนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกมาก หายใจติดขัด หายใจไม่ออก ชีพจรเต้นผิดปกติ

    ถึงแม้ว่าอาการปอดขยายตัวมากเกินไปนี้ จะมีเพียงแบบ Air Embolism ชนิดเดียวที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่การขยายตัวของปอดแบบอื่นๆ ก็อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า Air Embolism อาจเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วย ด้วยเหตุนี้เอง หากมีอาการปอดขยายตัวมากเกินไป ผู้ป่วยจะต้องได้รับการปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับแบบ Air Embolism ไม่ว่าจะมีอาการแบบใดก็ตามที
    การให้การรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยปอดขยายตัวมากเกินไปแบบ Air Embolism นั้นคือการเข้าสู่ความกดดันใน Chamber เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคเบนด์ เพื่อให้ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยหดลดขนาด หรือกลับเข้าสู่ภาวะของเหลว และถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยปอดขยายตัวมากเกินไปแบบอื่นๆ นั้น ไม่จำเป็นต้องกลับเข้าสู่ความกดดัน
    ผู้ป่วยแบบ Pneumothorax จะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอาอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างปอดที่ยุบไปกับผนังปอดออกมา จากนั้นจะต้องเติมลมเข้าไปในปอด สำหรับผู้ป่วยแบบ Mediastinal Emphysema และ Subcutaneous Emphysema นั้น จะหายกลับเป็นปกติเองหลังจากเลือดได้ดูดซับเอาอากาศที่ถูกกักอยู่ออกไป
    โดยปกติแล้ว อาการปอดขยายตัวมากเกินไปนี้ มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 5 นาทีหลังจากขึ้นสู่ผิวน้ำ ผู้ป่วยมักหมดสติทันที และมีอาการของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง รวมทั้งมีการตอบสนองที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วต่อการปฐมพยาบาล โดยเฉพาะการได้รับออกซิเจน 100%
    หากมีเหตุฉุกเฉิน ซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบนด์ หรือมีอาการปอดขยายตัวมากเกินไป ให้ข้ามขั้นตอนวินิจฉัยนี้ไป และทำการปฐมพยาบาลเลย เนื่องจากขั้นตอนในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งสองโรคนี้เป็นวิธีการเดียวกัน
    บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:02:06 PM »

    การปฐมพยาบาลสำหรับโรคเบนด์ และปอดขยายตัวมากเกินไป ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

     เจ๋ง เรียกผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบปฏิกริยาตอบสนอง
     เจ๋ง เปิดทางหายใจ ตรวจดูว่ามีสิ่งมาขัดขวางการเดินทางของลมหายใจ ตรวจเสียงที่ผิดปกติ
     เจ๋ง ตรวจสอบลมหายใจด้วยการดู ฟัง และสัมผัส หากพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ทำการผายปอดช่วยชีวิต โดยการเป่าอากาศเข้าสู่ปอดของผู้ป่วย ช้าๆ สองครั้ง และเป่าต่อไปอีกในอัตรา ห้าวินาทีต่อหนึ่งครั้ง
     เจ๋ง ตรวจสอบการไหลเวียนของโลหิต ตรวจสอบอัตราการเต้นของชีพจร ที่บริเวณลำคอของผู้ป่วย หากพบว่าผู้ป่วยไม่มีการเต้นของชีพจร ให้ทำการปั๊มหัวใจให้ผู้ป่วย โดยการใช้ส้นมือกดที่กระดูกหน้าอก ตรงที่ซี่โครงทั้งสองด้านเข้ามาบรรจบหากัน และสูงขึ้นมาทางศีรษะผู้ป่วยประมาณ 1 นิ้ว ให้ทำการกดกระดูกดังกล่าวลงไปลึกประมาณ 1-2 นิ้วฟุต ในอัตรา 80-100 ครั้งต่อนาที ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีทั้งลมหายใจ และไม่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากสองครั้ง สลับกับการปั๊มหัวใจ 15 ครั้ง และกลับไปเป่าปากอีก 2 ครั้ง ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจ และสามารถหายใจได้เอง หรือจนกระทั่งถึงมือแพทย์
     เจ๋ง ตรวจสอบอาการไหลของโลหิต ว่ามีหรือไม่ หากมีต้องทำการห้ามเลือด
     เจ๋ง ตรวจสอบอาการช๊อค หากพบอาการ ให้ควบคุมอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วย ให้นอนกับพื้น ยกขาขึ้น 8-12 นิ้วฟุต และทำการตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนแรก วนเวียนกันจนถึงขั้นตอนนี้อย่างต่อเนื่อง
     เจ๋งจากนั้นให้ทำการสอบถามผู้ป่วย เพื่อค้นพบว่การป่วยเกิดจากโรคเบนด์ หรือโรคปอดขยายตัวมากเกินไป โดยให้ถามผู้ป่วยว่าได้ทำการหายใจด้วยอากาศอัดใต้น้ำหรือไม่ ขึ้นสู่ผิวน้ำกระทันหันหรือไม่ ดำน้ำลึกเท่าไร ใช้เวลาใต้น้ำนานเท่าใด รู้สึกอ่อนเพลียอย่างมากหรือไม่ รู้สึกเจ็บ ปวด ตามข้อ ตามหลัง หรือบริเวณท้องหรือเปล่า รู้สึกเวียนศีรษะหรือไม่ รู้สึกชา หมดความรู้สึก หรือเป็นอัมพาตหรือเปล่า มีอาการหายใจติดขัดหรือไม่
     เจ๋งหากพบว่าผู้ป่วยมีอาการจากโรคเบนด์ หรือปอดขยาย ให้ปลอบผู้ป่วยไม่ให้ตกใจ ให้ความเชื่อมั่นกับผู้ป่วยว่าจะควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลงไปได้ และคอยตรวจดูอาการหายใจและการไหลเวียนโลหิตของผู้ป่วย
     เจ๋งให้ผู้ป่วยนอนลงในท่าที่สบาย ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้นอนหงาย อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งหรือยืน หากผู้ป่วยอาเจียน ให้เอียงตัวผู้ป่วย รักษาทางเดินหายใจให้เปิดไว้ และทำความสะอาดให้กับผู้ป่วย
     เจ๋ง ให้ผู้ป่วยหายใจจากถึงออกซิเจนฉุกเฉินที่เตรียมไว้ ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้ใช้เครื่องแบบ Continuous Flow และให้ผู้ป่วยหายใจด้วยออกซิเจน 60-100% ดังนี้จนถึงมือแพทย์
     เจ๋ง สามารถให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนได้
     เจ๋ง ติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีฉุกเฉิน
    บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:07:54 PM »

    จมน้ำ น้ำเข้าปอด
         กรณีจมน้ำและผู้ป่วยยังไม่เสียชีวิตนั้น น้ำที่เข้าไปในปอดจะไปขัดขวางการขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการขาดออกซิเจน (Hypoxia) อาการนั้นมีความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยจมน้ำ หากผู้ป่วยจมน้ำไม่นานเกินไป เช่นน้อยกว่า 4 นาที หากได้รับการปฐมพยาบาลและการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจกลับเป็นปกติได้ ในขณะเดียวกัน หากผู้ป่วยจมน้ำอยู่นาน เช่น 6-10 นาที ก็มีแนวโน้มว่าผู้ป่วยอาจไม่กลับมาสู่สภาวะเดิม อาจพิการ หรือเสียชีวิตในที่สุด
    อาการที่มักเกิดขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการไอ หยุดหายใจ หายใจถี่ ชัก หมดสติ หัวใจวาย หรือเสียชีวิต ผู้ป่วยมักมีริมฝีปากและปลายเล็บม่วงคล้ำ

          การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ป่วยจมน้ำนั้น คือการทำให้ผู้ป่วยหายใจและมีการเต้นของหัวใจกลับคืนมา ด้วยการผายปอดและปั๊มหัวใจ ในกรณีไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยหายใจด้วยก๊าซออกซิเจน (100%) หากเป็นไปได้ ข้อควรคำนึงในการให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่จมน้ำก็คือ ในบางกรณีผู้ป่วยกลับฟื้นคืนสติ และมีอาการดีขึ้นมา ก็ยังจำเป็นต้องดูแล ให้การปฐมพยาบาลต่อ จนกระทั่งถึงมือแพทย์ เนื่องจากอาจเกิดน้ำท่วมปอดได้อีกภายในระยะเวลาอันสั้น

    การปฐมพยาบาลสำหรับผู้ป่วยจมน้ำ ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

     ฮืม เรียกผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบปฏิกริยาตอบสนอง
     ฮืม เปิดทางหายใจ ตรวจดูว่ามีสิ่งมาขัดขวางการเดินทางของลมหายใจ ตรวจเสียงที่ผิดปกติ
     ฮืม ตรวจสอบลมหายใจด้วยการดู ฟัง และสัมผัส หากพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ทำการผายปอดช่วยชีวิต โดยการเป่าอากาศเข้าสู่ปอดของผู้ป่วย ช้าๆ สองครั้ง และเป่าต่อไปอีกในอัตรา ห้าวินาทีต่อหนึ่งครั้ง
     ฮืม ตรวจสอบการไหลเวียนของโลหิต ตรวจสอบอัตราการเต้นของชีพจร ที่บริเวณลำคอของผู้ป่วย หากพบว่าผู้ป่วยไม่มีการเต้นของชีพจร ให้ทำการปั๊มหัวใจให้ผู้ป่วย โดยการใช้ส้นมือกดที่กระดูกหน้าอก ตรงที่ซี่โครงทั้งสองด้านเข้ามาบรรจบหากัน และสูงขึ้นมาทางศีรษะผู้ป่วยประมาณ 1 นิ้ว ให้ทำการกดกระดูกดังกล่าวลงไปลึกประมาณ 1-2 นิ้วฟุต ในอัตรา 80-100 ครั้งต่อนาที ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีทั้งลมหายใจ และไม่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากสองครั้ง สลับกับการปั๊มหัวใจ 15 ครั้ง และกลับไปเป่าปากอีก 2 ครั้ง ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยมีการเต้นของหัวใจ และสามารถหายใจได้เอง หรือจนกระทั่งถึงมือแพทย์
     ฮืม ตรวจสอบอาการไหลของโลหิต ว่ามีหรือไม่ หากมีต้องทำการห้ามเลือด
     ฮืม ตรวจสอบอาการช๊อค หากพบอาการ ให้ควบคุมอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วย ให้นอนกับพื้น ยกขาขึ้น 8-12 นิ้วฟุต และทำการตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนแรก วนเวียนกันจนถึงขั้นตอนนี้อย่างต่อเนื่อง
     ฮืม ให้ผู้ป่วยนอนลงในท่าที่สบาย ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้นอนหงาย อย่าให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งหรือยืน หากผู้ป่วยอาเจียน ให้เอียงตัวผู้ป่วย รักษาทางเดินหายใจให้เปิดไว้ และทำความสะอาดให้กับผู้ป่วย
     ฮืม ให้ผู้ป่วยหายใจจากถึงออกซิเจนฉุกเฉินที่เตรียมไว้ ในกรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้ใช้เครื่องแบบ Continuous Flow และให้ผู้ป่วยหายใจด้วยออกซิเจน 60-100% ดังนี้จนถึงมือแพทย์
     ฮืม ติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีฉุกเฉิน
     ฮืม ให้ทำการปฐมพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงมือแพทย์ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติแล้วก็ตาม
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2008, 03:09:28 PM โดย G-girl » บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:12:41 PM »

    การให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย

    เรือที่ไปดำน้ำควรจะต้องเตรียมถังออกซิเจนฉุกเฉินไว้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการนำผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล สำหรับเวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ปริมาณออกซิเจนที่ควรเตรียมไว้ในเรือสำหรับกรณีฉุกเฉิน ควรมีถังปริมาตร 50 C .ft. และอัดอากาศที่ความดัน 150 BAR จำนวน 2 ถัง เนื่องจากถังหนึ่งจะสามารถหายใจได้ในอัตราการหายใจปกติประมาณ 40 นาที
    บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2008, 03:19:52 PM »

    แผนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปสู่แพทย์ (Evacuation Plan)

    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และทำการปฐมพยาบาลตามขั้นตอน (Circle of Care) อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ระหว่างการดำเนินการเคลื่อนย้ายควรทำการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

    อุปกรณ์ที่ควรเตรียมพร้อมในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
    • รถยนต์
    • อุปกรณ์สื่อสาร เช่นโทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร
    • ผู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วย ควรเดินทางไปกับผู้ป่วยรวมทั้งจดบันทึกรายละเอียดส่วนตัวของผู้ป่ายจากผู้ใกล้ชิด ร่วมถึงโรคประจำตัว อาการของผู้ป่วย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปด้วย เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับแพทย์ในการรักษา
    บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2008, 01:47:25 PM »

    ปฐมพยาบาลใต้น้ำไม่ได้หรือไง
    บันทึกการเข้า

    ..ผู้อยู่นานเห็นมาก  ผู้ออกเดินทางเห็นมากกว่า..
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2008, 04:25:45 PM »

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
    บันทึกการเข้า
    Re: การบาดเจ็บจากการดำน้ำ และการปฐมพยาบาล
    « ตอบ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2008, 10:04:01 AM »

    ปฐมพยาบาลใต้น้ำไม่ได้หรือไง

    ได้ ได้ mouth to mouth เลย ฮ่าๆๆๆ  ตกใจ ตกใจ
    บันทึกการเข้า
    หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
    « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
    กระโดดไป:  


    เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

    Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
     
    Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
    หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง