ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
เมษายน 27, 2024, 05:00:00 AM
ผีเสื้อและดอกไม้ [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีเขียว
| |-+  ผีเสื้อ และ ดอกไม้ (ผู้ดูแล: นายซาไกทัดดอกฝิ่น)
| | |-+  ดัน "พลับพลึงธาร" ขึ้นบัญชีแดง
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ดัน "พลับพลึงธาร" ขึ้นบัญชีแดง  (อ่าน 5579 ครั้ง)
ดัน "พลับพลึงธาร" ขึ้นบัญชีแดง
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 06:36:27 PM »

ดัน "พลับพลึงธาร" ขึ้นบัญชีแดง IUCN ให้เป็นสปีชีส์ใกล้สูญพันธุ์ของโลก



ความงดงามของดอกพลับพลึงธาร สีขาวชูช่อแบ่งบานกลางสายน้ำในคลองนาคา อาจกลายเป็นความทรงจำในอดีตที่มีให้เห็นเพียงภาพถ่าย เพราะพืชน้ำถิ่นเดียวของไทยชนิดนี้กำลังถูกคุกคามอย่างหนักและอาจสูญพันธุ์ จากโลกในไม่ช้านี้หากเรายังไม่เร่งหาทางอนุรักษ์
       
       "พลับพลึงธาร" เป็นพืชน้ำเฉพาะถิ่นที่สามารถพบได้เพียงแห่งเดียวในโลกตั้งแต่จังหวัดระนอง ตอนล่างถึงพังงาตอนบนเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ (สผ.) จัดอันดับให้พลับพลึงธารอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (endangered species) และเป็น 1 ใน 10 ชนิดพันธุ์พืชที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประกาศให้มีมาตรการคุ้มครองชนิดพันธุ์รวมทั้งปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยเนื่องในโอกาสปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพด้วย
       
       "เมื่อก่อนนี้เราสามารถพบเห็นพลับพลึงธารขึ้นเป็นจำนวนมากในคลอง ต่างๆ ตั้งแต่ตอนล่างของจังหวัดระนองไปจนถึงพังงาตอนบน แต่ปัจจุบันนี้มีเหลือให้เห็นอยู่แค่ในคลองนาคา คลองตาผุด และคลองบางปรุเท่านั้น" นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือไอยูซีเอ็น (IUCN) เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจของสถานภาพพลับพลึงธารในปัจจุบัน
       
       นายสมศักดิ์ บอกถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้พลับพลึงธารลดจำนวนลงและค่อยๆ หายไปจากธรรมชาติ คือ การ ขุดลอกคลองที่มีพลับพลึงธารขึ้นแพร่กระจายอยู่ ส่งผลให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล สภาพแวดล้อมในคลองเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพลับพลึง ธาร แม้จะมีความพยายามนำพลับพลึงธารกลับไปปลูกในคลองเดิมก็ไม่ค่อยเห็นผล รวมถึงการขุดพลับพลึงธารส่งไปขายยังต่างประเทศ เนื่องจากเป็นพืชที่ตลาดค้าพืชน้ำทั่วโลกต้องการ
       
       "การอนุรักษ์พลับพลึงธารเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะเราไม่มีกฎหมายอนุรักษ์พืชชนิดนี้โดยตรง เนื่องจากพลับพลึง ธารไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2518 ไม่ได้อยู่ในบัญชีไซเตส (CITES) และบริเวณที่พบพลับพลึงธารก็อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่วนในระดับท้องถิ่นเองก็มีปัญหาเรื่องการขุดลอกคลองโดยไม่มีการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และไม่ศึกษาผลต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเห็นว่าเป็นโครงการขนาดเล็ก" นายสมศักดิ์ กล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถทำได้ในตอนนี้คือ การกำหนดให้บริเวณคลองที่มีพลับพลึงธารเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของพลับพลึงธาร ซึ่งจะสามารถช่วยคุ้มครองสปีชีส์นี้ได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อเสนอ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป รวมทั้งทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพลับพลึงธารเพื่อเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการหรือกฎกระทรวงห้ามส่งออกพลับพลึงธาร และผลักดันให้พลับพลึงธารได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีไซเตส เพื่อควบคุมการส่งออกพลับพลึงธาร
       
       "นอกจากนั้นเรายังดำเนินการเพื่อผลักดันให้มีการจัดพลับพลึง ธารให้อยู่ในบันชีแดงของไอยูซีเอ็น (IUCN Red List) โดยให้มีสถานภาพเป็นสปีชีส์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เพื่อบ่งชี้ว่าเป็นพันธุ์พืชที่หายากในระดับโลก และให้ประเทศต่างๆ ที่นำเข้าพลับพลึงธารเกิดความตระหนักร่วมกัน เพื่อหาแผนจัดการอนุรักษ์ในระดับโลกต่อไป ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการประเมินโดยคณะกรรมการไอยูซีเอ็น" นายสมศักดิ์ กล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการโครงการของไอยูซีเอ็นมองว่า การประกาศให้คลองต่างๆ ที่มีพลับพลึงธารขึ้นอยู่เป็นพื้นที่คุ้มครองจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย หากภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ตามมา ฉะนั้นทุกคนต้องเห็นคุณค่าของสปีชีส์นี้ และมีความตื่นตัวที่จะดำเนินการอนุรักษ์อย่างจริงจัง
       
       ขณะนี้พวกเขากำลังพยายามที่จะอนุรักษ์พลับพลึงธารให้คงอยู่ตาม ธรรมชาติคู่กับสายน้ำในระนองและพังงาต่อไปโดยทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนใน พื้นที่ และกรมประมงได้ศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์พลับพลึงธารด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อ เยื่อเพื่อนำกลับไปปลูกในแหล่งน้ำที่เคยมีพลับพลึงธารบานสะพรั่ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 กรกฎาคม 2553 16:05 น.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.02 วินาที กับ 19 คำสั่ง