TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง

กระดานข่าวสีเขียว => ศิลปวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: LightHouse ที่ กรกฎาคม 09, 2008, 10:00:16 AM



หัวข้อ: คิวต่อไป...ปราสาทตาเมือนธม
เริ่มหัวข้อโดย: LightHouse ที่ กรกฎาคม 09, 2008, 10:00:16 AM
(http://ndc.prd.go.th/Sitedirectory/449/2005/77266_DSC_1931.JPG)

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน บนแนวเทือกเขาบรรทัด ประกอบด้วยปรางค์สามองค์ มีปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ปรางค์อีกสององค์อยู่ถัดไปด้านหลังทางด้านขวาและซ้าย ปรางค์ทั้งสามองค์สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักที่งดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางด้านตะวันออกและตะวันตก มีวิหารสองหลังสร้างด้วยศิลาแลง อาคารทั้งหมดมีระเบียงคดซึ่งสร้างด้วยหินทรายล้อมรอบ มีโคปุระทั้งสี่ด้าน โคปุระด้านใต้มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีบันไดทางขึ้นจากเชิงเขาด้านนั้น นอกระเบียงคดทางด้านทิศเหนือมีสระน้ำและที่ลานริมระเบียงคดทางมุขด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศิลาจารึกภาษาขอม กล่าวถึงชื่อ พระกัลปกฤษณะ จึงสันนิษฐานได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายจำหลักต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า โบราณสถานแห่งนี้คงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งเก่าแก่กว่าโบราณสถานอีกสองแห่งในกลุ่มปราสาทตาเมือน 

ไทยกับกัมพูชายังมีปัญหาจ่อคิวให้สะสางอีกไม่น้อย

เมื่อมีการปักปันเขตแดน ตลอดแดนยาวประมาณ 798 กิโลเมตรนั้น แบ่งออกมาเป็น 3 ลักษณะคือ ลักษณะที่เป็นสันปันน้ำมี 524 กิโลเมตร ที่เป็นเส้นตรงมี 58 กิโลเมตร และที่เป็นลำคลองมี 216 กิโลเมตร

ทั้งไทยและกัมพูชามีการปักปันเขตร่วมกันครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2451 ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี เรื่อยไปจนถึงจังหวัดตราด เรามีหลักเขต แดน 73 หลัก

ปัญหาเกิดขึ้นคือ หลักเขตแดนทั้ง 73 หลัก ปัจจุบันเหลือไม่ครบ

สาเหตุเป็นเพราะอะไร ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยการสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บอกว่า “บางหลักถูกเคลื่อนย้าย บางส่วนสูญหาย”

ปัญหาที่เป็นกรณีพิพาทจึงปรากฏในจังหวัดต่างๆ ตามตะเข็บแดนไทย-กัมพูชา ไล่มาตั้งแต่จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดนี้มีหลักเขตแดนทั้งหมด 23 หลัก ตั้งแต่หลักที่ 2 ถึง 23 ผลสำรวจไม่พบ 6 หลัก และบางหลักมีร่องรอยการเคลื่อนย้าย

ผลของการไม่พบและเคลื่อนย้ายหลักเขต ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งคือ กัมพูชาอ้างว่าปราสาทตาเมือนธมเป็นของกัมพูชา ฝ่ายไทยจึงเสนอให้ตรวจสอบร่วมกันโดยใช้สันปันน้ำในบริเวณปราสาท แต่ทางกัมพูชาอ้างว่าได้ตรวจสอบแล้ว พร้อมทั้งอ้างแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 มาประกอบ

ปัญหานี้...จึงยังไม่ยุติ