TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง

กระดานข่าวสีเขียว => กวีแรมทาง => ข้อความที่เริ่มโดย: กระโจมไฟ ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 12:41:22 PM



หัวข้อ: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: กระโจมไฟ ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 12:41:22 PM
  เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!      

   
         ชื่อของ โชติศักดิ์ อ่อนสูง หรือ “แมมมอธ” กลายเป็นคนดังในสังคมนี้ขึ้นมาในพริบตา หลังจากที่ประกาศตัวไม่ยืนถวายความเคารพต่อบทเพลงสรรเสริญพระบารมี ผมเชื่อว่าประชาชนที่มีโอกาสรับรู้ข่าวสารนี้จะเกิดความรู้สึกเหมือนอย่างที่ที่ผมเป็น
       
        เบื้องแรกอยากร้องไห้ที่มีคนไทยอ้างว่าเป็นคนไทยใช้สิทธิเสรีภาพของเขาเพื่อประกาศว่า ไม่จำเป็นต้องยืนถวายความเคารพต่อบทเพลงที่เป็นตัวแทนขององค์พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของเราทุกคน

       และน้ำตาไหลหนักขึ้นเมื่อโดนซ้ำดาบสองด้วยการที่ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์หรือ NBT นำเอาสาวกของกลุ่มไม่ยืนเคารพต่อเพลงสรรเสริญพระบารมีไปออกรายการ พร้อมกับใส่เสื้อสัญลักษณ์ของกลุ่มอย่างโจ่งแจ้ง
       
        ท่ามกลางการเปิดทางสะดวกของรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลพลังประชาชนให้มีการกระทำย่ำยีหัวใจคนไทย...ซึ่ง ผมคิดว่านั่นคือความจงใจที่จะประกาศสงครามอย่างโจ่งแจ้งต่อสิ่งที่เราเคารพรักสูงสุด
       
        และสุดท้ายก่อนจะรู้สึกเหมือนโดนเหยียบหน้าซ้ำเมื่อผู้สื่อข่าวถามนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีผู้ดูแลกรมประชาสัมพันธ์ ผู้กำลังถูกแจ้งความฐานหมิ่นเบื้องสูง ผู้ที่เคยมีคดีต้องไปนั่งในคุกฐานป่วนเมืองหน้าบ้านท่านประธานองคมตรี ผู้ที่เคยไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นมาของสถาบันกษัตริย์ ระบบอุปถัมภ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแห่งนี้ต่อสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

       นายจักรภพตอบคำถามถึงการนำคนที่ใส่เสื้อ “ไม่ยืน(ถวายความเคารพ) ไม่ใช่อาชญากร” นี้ในใจความว่า
       
        “ประเทศเป็นประเทศเสรี ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใส่เสื้ออะไรก็ได้ เราต้องเคารพสิทธิ์ของเขาเหมือนกัน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ คนในประเทศนี้ไม่ได้เป็นทาสใครนี่ ถ้าอยากไปเป็นทาสก็ไปเป็นทาสที่อื่นโน้น ไม่ใช่ที่ประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตย”
       
        คือ ถ้าประโยคนี้ออกจากปากเหล่าหัวหน้าเขตคอมมิวนิสต์เมื่อ 30 ปีก่อนผมจะไม่แปลกใจ เพราะเป้าหมายของคอมมิวนิสต์เหล่านี้คือการล้มล้างสถาบันสูงสุดอยู่แล้ว
       
        แต่มันน่าตกใจที่ประโยคให้ท้ายออกจากปากเสนาบดี...ซึ่งอ้างประชาธิปไตยจากปวงชนชาวไทยเสมอ
       
        บอกตามตรงนะครับถ้านี่คือประชาธิปไตยในคอนเซ็ปต์ของจักรภพ ที่ใครๆ พร้อมจะหมิ่นคุณพ่อของคุณได้ ผมก็ขอใช้สิทธิในฐานะที่เป็นคนไทยตามรัฐธรรมนูญที่จะแสดงความคิดเห็นว่า...กูก็ไม่อยากอยู่ร่วมโลกกับไอ้ประชาธิปไตยระยำและรัฐมนตรีภายใต้ระบอบแบบนี้เหมือนกัน
       
        เพียงแต่ถึงตอนนี้น้ำตา ความเสียใจ และความช็อกในสิ่งที่เกิดขึ้นมันได้หายไปแล้ว จะเหลือก็แค่ความรู้สึกว่า แผ่นนี้นี้บรรพบุรุษเราสร้างมา ปกป้องรักษามา สถาบันกษัตริย์ของเราเป็นผู้นำในการสร้างให้ประเทศนี้เป็นไทอยู่ได้โดยไม่ตกเป็นเมืองขึ้น
       
        ที่ผ่านมาผมยังมองไม่เห็นเลยว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผิดอะไร บ้านเมืองที่รอดพ้นวิกฤติมาได้นับต่อนับก็เพราะเรามีองค์พระมหากษัตริย์ทรงธรรมคอยชี้นำให้กับพวกเรามิใช่หรือ?
       
        ที่มันฉิบหายทุกวันนี้มิใช่เพราะนักการเมืองชั่วที่คอร์รัปชั่น และแอบอ้างสิทธิ์ที่ได้จากประชาชน แม้ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่ได้จากการซื้อเสียงเข้ามาโกงกินก็ตาม
       
        เพราะพวกเอ็งมิใช่หรือที่แทรกแซงข่มขู่โยกย้ายจนทำให้ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระเด็นออกไป สร้างกลียุคที่เรียกว่าผู้ดีเดินตรอกขี้ครอกเดินถนน คนชั่วได้ดี คนดีได้ชั่ว

เพราะพวกเอ็งมิใช่หรือที่ทำให้ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลายสภาพเป็นเพียงเจ้าหน้าที่และพนักงานในกำกับของรัฐ ต้องหลับหูหลับตาทำความชั่วและทำให้บ้านเมืองนี้ร้อนเป็นไฟในขณะนี้
       
        เพราะพวกเอ็งมิใช่หรือที่ทำให้คำว่าคุณธรรมในบ้านเมืองนี้เบี่ยงเบน ถึงกับจะแก้กฎหมายสูงสุดของประเทศให้ถูกใจพวกเอ็ง
       
        ถามจริงๆ ไม่รู้สึกว่าพวกเอ็งทำเกินไปแล้วหรือ?
       
        เรื่องโกงเรื่องกินก็แทบจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว นี่ทำเหมือนให้ท้ายกันที่จะลบหลู่พ่อของเรา...มันไม่เจียมกะลาหัวไปหน่อยหรือ ?
        ..........
        บอกตามตรงนะครับ การที่เราเสียใจกับเรื่องนี้ เจ็บแค้นกับเรื่องนี้ แล้วนอนเจ็บ นอนแค้น นอนร้องไห้อยู่กับบ้าน ขบเขี้ยวเคี้ยวฟันอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ มันไม่ได้ช่วยให้สถาบันที่เรารักและเคารพสูงสุดปลอดภัยขึ้นมาหรอกครับ

เพราะขณะที่เราเจ็บอยู่ในอกและไม่แสดงออกมา...ฝ่ายตรงข้ามมันเหิมเกริมและแสดงออกราวกับไม่มีสิ่งที่เราเคารพอยู่ในโลกนี้แล้วนะครับ
       
        อย่าพูดว่ารักพ่อและทำดีเพื่อพ่อกันแต่ปาก แต่จงปฏิบัติบูชาเพื่อพ่อที่เราเคารพเทิดทูนด้วย
       
        เขียนมาถึงตรงนี้ผมนึกถึงบทพระราชนิพนธ์เพลง “เราสู้” ที่องค์พ่อหลวงของเราทรงแต่งขึ้นในยุคที่วิกฤติของชาติกำลังล้อมกรอบประเทศนี้อยู่ นั่นคือ คอมมิวนิสต์ ตอนนั้นลัทธิมาร์กซ์เอย เหมาเอย เลนนินเอยกำลังเบ่งบาน ธงชาติไทยจากสีแดงขาวน้ำเงินก็ถูกเหล่านักศึกษาหัวก้าวหน้าย้อมสีให้เป็นสีแดงอย่างเดียว ปนเหลืองบ้าง ปนขาวบ้าง...ขึ้นอยู่กับว่าเป็นคอมมิวนิสต์สายไหน
       
        จากทฤษฏีโดมิโน ประเทศรอบข้างของเรากลายเป็นคอมมิวนิสต์กันเกือบทั้งหมด ประเทศไทยนั้นก็จ่อที่จะเป็นอยู่ เพราะ มีการฝังลัทธิล้างสถาบันเหล่านั้นกันให้ทั่วไปหมด
       
        พระองค์ท่านพระราชนิพนธ์ทำนองจากบทกลอนสุภาพ 4 บทที่นายสมภพ จันทรประภาแต่งจากพระราชดำรัสที่พระราชทานให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติที่เข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดาฯ มาเป็นกลอนถวาย เมื่อพระราชนิพนธ์ทำนองเสร็จแล้วก็ทรงมอบให้วง อส. นำไปบรรเลงในวันปีใหม่ที่ 1 มกราคม 2517 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ ทหาร อาสาสมัคร และตำรวจตระเวนชายแดน ขณะที่ประชาชนก็ได้รับอานิสงส์จากเพลงพระราชนิพนธ์เพลงนี้ด้วยเช่นกัน

ประชาชนได้ตรงไหนครับ...ก็ตรงนี้เมื่อฟังเพลงนี้แล้ว ความฮึกเหิมที่จะสู้กับลัทธิอุบาทว์ที่จะล้มล้างและเปลี่ยนชาติของเราให้เป็นชาติของมันมันเกิดขึ้นอย่างอักโข เพลงนี้ช่วยเตือนสติเราว่า ในช่วงเวลาที่ลัทธิคอมมิวนิสต์เบ่งบานนั้น ถ้าเราเอาแต่วางเฉย ถ้าเราไม่สู้กับความเชื่อและตัวบุคคลที่มันจะมาล้างเราให้ออกจากประเทศที่เรารู้จัก เราจะกลายเป็นคนไม่มีแผ่นดินอยู่ เหมือนเขมรอพยพ เหมือน ญวนอพยพที่สุดท้ายต้องหนีตายลงเรือแบกเสื่อผืน-หมอนใบไปตามยถากรรม
       
        บทเพลงพระราชนิพนธ์เราสู้นั้น พวกคอมมิวนิสต์ยุคอดีตหรือแม้แต่คอมมิวนิสต์อารมณ์ค้าง หรือ คอมมิวนิสต์อกหักในยุคปัจจุบัน ขนานนามว่าเป็น 1 ใน 3 บทเพลงอันเป็นเครื่องไม้เครื่องมือศักดิ์สิทธิ์ที่เอาไว้ทำลายพวกมัน
       
        นอกจากบทเพลงพระราชนิพนธ์เราสู้แล้ว ก็ยังมีบทเพลงทหารเสือพระนเรศวร และบทเพลงหนักแผ่นดินอีกด้วย

        แน่นอนในสงครามครั้งนั้นเราชนะจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติ ประเทศเรารอดพ้นวิกฤติในครั้งนั้นได้ คงไม่ปฏิเสธนะครับว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดรวมใจที่ทำให้พวกเราร่วมใจกันชนะศึกครั้งนั้น

        มาถึงยุคสมัยนี้ ยุคที่สถาบันกษัตริย์ถูกละเมิดมากที่สุด และการคงอยู่ของสถาบันที่รักยิ่งของเรานั้นกำลังวิกฤตเพราะถูกพวกไม่หวังดีทำลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
       
        บอกตามตรงนะครับบทเพลงพระราชนิพนธ์เราสู้นี้ยังสามารถเอามาฟังเพื่อปลุกและปลอบขวัญคนในประเทศจำนวนมากที่กำลังท้อแท้กับเหตุการณ์ที่เป็นไปในบ้านเมือง ให้เราสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้องเสียที แม้สงครามครั้งนี้จะไม่ใช่ภาพที่ชัดเจนอย่างอดีต แต่เป็นการต่อสู้กับศัตรูที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีพร้อมทั้งอำนาจทุนและอำนาจสื่อ และอันตรายกว่าเดิมมากนัก
       
        แต่ถ้าเราสู้...เราจะชนะในที่สุด
       
        ไม่ต้องรอทหารออกมาปฏิวัติสู้หรอกครับ ประชาชนนี่แหล่ะสามารถสู้เองได้โดยสันติ ไม่ว่าจะเป็นการไปรวมตัวกันเพื่อถามนายกฯสมัครก่อนจะไปออกรายการสดทางช่อง 11 หรือเจอหน้าท่านที่ตลาด อตก. ก็ถามท่านเสียงดังๆ ไปเลยว่า ใจคอจะปล่อยให้สถาบันโดนหมิ่นแบบนี้ไปเรื่อยๆ หรือ
       
        ถามท่านเลยว่ารักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และผู้ที่จัดเสื้อผ้าให้คุณจิตราใส่ออกอากาศเพื่อแสดงออกว่าจะไม่เคารพต่อเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นควรจะต้องลงโทษให้หลาบจำไหม
       
        ถามท่านเลยว่า ท่าทีเมินเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้นของนายจักรภพ รัฐมนตรีที่กำกับดูแลสื่อของรัฐ...ท่านจะทำอย่างไร
       
        บางส่วนก็ไปไล่แจ้งความกันให้ทั่วให้โชติศักดิ์และพรรคพวกได้รู้ว่า คนที่ควรจะไปอยู่ประเทศอื่นไปอยู่กับคุณพ่อมาร์ก - เหมา - เลนนิน นั้นคือ พวกเขา...
       
        มิใช่พวกเราคนไทยที่อยู่ใน ‘ราชอาณาจักรไทย’แห่งนี้!!
       
        เหมือนที่ใครบางคนบอกให้เราไปเป็นทาสที่ประเทศอื่น หลังจากที่ฟังเพลงนี้จนจบ เราคงสามารถปลอบตัวเองและบอกคนรอบข้างดังๆ ว่า
       
        เราจะอยู่ตรงนี้ สู้ตรงนี้ สู้จนตาย เพื่อสิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เราศรัทธา และสิ่งที่เราเคารพ!!

เราสู้

       บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ
       ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
       เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา
       หน้าที่เรารักษาสืบไป
       
       ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า
       จะได้มีพสุธาอาศัย
       อนาคตจะต้องมีประเทศไทย
       มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
       
       ถึงขู่ฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น
       จะสู้กันไม่หลบหนีหาย
       สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย
       ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู
       
       บ้านเมืองเราเราต้องรักษา
       อยากทำลายเชิญมาเราสู้
       เกียรติศักดิ์ของเราเราเชิดชู
       เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว

ที่มา : ผู้จัดการ Online
http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000051083 (http://manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000051083)



หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: นายซาไกทัดดอกฝิ่น ที่ พฤษภาคม 02, 2008, 01:54:52 PM
.......................
ผมรัก  พ่อ
ผมรักแม่
ผมรักดินเกิด
 ทั้งกาย  ใจ..และการกระทำ
.................................
  ทำอย่างไร  ให้พ่อเราได้ยิ้มได้  สบายใจบ้างหนอ....


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: i-am-ton ที่ พฤษภาคม 05, 2008, 09:45:29 PM
ครับ....
ประเทศนี้เป็นประเทศเสรี เป็นประชาธิปไตย เราต้องยอมเสียงข้างมาก แม้จะลากไปถูไป ก็ต้องยอมจำนนเสียงข้างมาก

หากเสียงข้างมากของประเทศ ซึ่งรักและเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ ไม่เห็นด้วยที่จะให้คุณอยู่ในผืนแผ่นดินไทยของเราเล่าครับ
และหากพวกเราเสียงข้างมากของประเทศ ซึ่งรักและเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ จะไม่สนับสนุนคุณผู้ส่งเสริม โดยอ้างคำว่าเสรีภาพเล่าครับ

หากพวกเราอยากให้คุณไปอยู่เสียที่อื่น เมืองอื่น ที่คุณจักไม่ต้องฝืนใจทำในสิ่งที่คุณไม่อยากทำเล่าครับ
รวมทั้งคุณด้วย คุณจักรภพ...คุณไปอยู่ที่อื่นเถิดครับ.... อย่าให้เราต้องขยะแขยงคุณอีกเลย


หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน

(สร้อย) หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน
คนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกัน

ได้อาศัยโพธิทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลาย
คนใดเห็นไทยเป็นทาส ดูถูกชาติเชื้อชนถิ่นไทย
แต่ยังฝังทำกินกอบโกยสินไทยไป เหยียดคนไทยเช่นทาสของมัน

(สร้อย)...

คนใดยุยงปลุกปั่น ไทยด้วยกันหวังให้แตกกระจาย
ปลุกระดมมวลชนให้สับสนวุ่นวาย เพื่อคนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเอง

คนใดหลงชมชาติอื่น ชาติเดียวกันเขายืนข่มเหง
ได้สินทรัพย์เจือจานก็ประหารไทยกันเอง ที่ชาติอื่นเกรงดังญาติของมัน

(สร้อย)...

คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรู
เข้าทลายพลังไทยให้สลายมางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมัน

คนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการ
เกื้อหนุนอคติเชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: นายซาไกทัดดอกฝิ่น ที่ พฤษภาคม 16, 2008, 06:20:26 PM
ชักจะไปกันไหญ่แล้ว  รัฐมนโท  นักวิชาเกิน  แถมตอนนี้มีหนังสือ  เวปไซด์   ถ้าเป็นแต่ก่อนพวกนี้คงถูกประหารเจ็ดชั่วโครต  แค่คิดก็ผิดแล้ว นี้กระทำออกมาเลย  ไม่ยื่นเคารพ พูดจาบจ้วง  เผยเพร่ข้อมูลในเวปไซด์  ออกหนังสื่อที่ล่อแหลม...............จะทำอย่างไรดีกับไอ้พวกสันขวานพวกนี้   ทำได้ตอนนี้เลยคือ  ขอสาบแช่ง.ให้ไม่ตายดี


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: นายซาไกทัดดอกฝิ่น ที่ พฤษภาคม 27, 2008, 01:45:25 PM
โดย อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
       คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       
       นานนับสัปดาห์ที่คุณจักรภพ เพ็ญแข ตกเป็นข่าวให้ผู้คนกล่าวถึง ภายหลังจากที่บทแปลปาฐกถาที่คุณจักรภพเคยแสดงไว้ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อเดือนกันยายน 2550 เผยแพร่สู่สาธารณะ ก็ก่อให้เกิดประเด็นให้ผู้คนกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่า ถ้อยคำและเนื้อหาที่คุณจักรภพแสดงปาฐกถาไว้นั้นเข้าข่าย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังแสดงความเห็นด้วยว่า ทรรศนะของคุณจักรภพ เพ็ญแขที่แสดงไว้ที่ FCCT เป็น “ทรรศนะอันเป็นอันตราย” ผู้เขียนสนใจใคร่รู้ว่าทรรศนะของคุณจักรภพที่กล่าวกันว่าเป็นอันตรายนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงได้ลองวิเคราะห์ปาฐกถาของคุณจักรภพอย่างเป็นวิชาการตามแนวทางอักษรศาสตร์ดู
       
       ข้อตกลงเบื้องต้น
       
       เนื่องจากปาฐกถาที่ FCCT บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ตามที่จะยกมานี้ เมื่อต้องยกตัวอย่าง ผู้เขียนจะยกโดยใช้คำแปลภาษาไทยซึ่งผู้เขียนแปลเอง คำแปลที่ใช้ เลือกใช้วิธีแปลแบบเอาความซึ่งมุ่งความเข้าใจในบทพากย์ภาษาไทยมากกว่าจะสนใจเก็บรักษาทุกถ้อยคำตามภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาต้นฉบับ การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คุณจักรภพเป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษระดับดีมากจนสามารถสื่อความคิดที่ซับซ้อน เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจง่ายด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้คล่องแคล่ว ผู้เขียนไม่สนใจประเมินภาษาอังกฤษของคุณจักรภพว่า เป็นภาษาที่สวยงามหรือไม่ ถูกไวยากรณ์มากน้อยเพียงใด คำที่ใช้ใช้ตามแบบเจ้าของภาษาอย่างรู้จริงหรือไม่ เนื่องจากผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ทรรศนะหรือความคิดของคุณจักรภพมากกว่าจะวิเคราะห์ตัวภาษาในฐานะที่เป็น form หรือพาหะของความคิด
       
       โครงสร้างเนื้อหาปาฐกถาที่ FCCT
       
       หัวข้อปาฐกถาของคุณจักรภพที่ FCCT คือ Democracy and Patronage System of Thailand—ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ของไทย คุณจักรภพแสดงโดยเหลือบดูบทร่างเป็นระยะๆ ปาฐกถานี้มีเนื้อหาเป็นเอกภาพอย่างยิ่ง เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
       
       ส่วนที่ 1 ว่าด้วยประวัติและพัฒนาการระบบอุปถัมภ์ของไทยในสมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันอย่างย่อๆ ส่วนนี้คุณจักรภพพยายามวิเคราะห์ให้เห็นรากเหง้าของระบบอุปถัมภ์ของไทยและผลกระทบที่มีต่อวิกฤติการเมืองของไทยในปัจจุบัน
       
       ส่วนที่ 2 เป็นบทสรรเสริญความกล้าหาญ พ.ต.ต. ทักษิณ ชินวัตร ที่กล้าเผชิญหน้ากับระบบอุปถัมภ์อย่างซึ่งๆ หน้า และผลงานบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ต. ทักษิณ ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทย
       
       และส่วนที่ 3 เป็นคำประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้งและแรงกล้าของคุณจักรภพว่า คุณจักรภพและพวกจะทำลายระบบอุปถัมภ์ของไทยให้ภินท์พังลงแบบชนิดขุดรากถอนโคน และตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นในช้าไม่นานหลังจากนี้
       
       Patronage System : คำที่มีสถิติใช้สูงสุด
       
       คำที่เป็น key word ในปาฐกถาที่ FCCT ของคุณจักรภพคือ patronage system ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับ key word ของคุณจักรภพดังนี้
       
       1) คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system รวมจำนวน 24 แห่ง (ไม่นับที่เป็นชื่อหัวข้อปาฐกถาและที่ปรากฏในส่วนคำถามคำตอบท้ายปาฐกถา) และใช้คำว่า patronizeจำนวน 7 แห่ง
       
       2) โดยทั่วไป patronage มักแปลว่า ความอุปถัมภ์ patronage system แปลว่า ระบบอุปถัมภ์ ส่วน patronize แปลว่า อุปถัมภ์, อุปถัมภ์ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล
       
       Patronage System : คำความหมาย 2 นัยยะ
       
       คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ในความหมายที่แตกต่างกัน 2 นัยยะ ดังนี้
       
       นัยยะที่ 1 :
       
       patronage system คือ “ระบบที่ยอมรับความแตกต่างของฐานะของคนในสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ใหญ่และผู้น้อยมีส่วนช่วยเหลือเกื้อกูลกันและอำนวยประโยชน์แก่กัน”
       
       ตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบ win-win ทั้งผู้เกื้อกูลและผู้รับประโยชน์เกื้อกูล ส่วนผู้ที่ไม่ win ด้วย คือ ผู้น้อยคนอื่นที่ไม่ได้รับประโยชน์เกื้อกูลด้วย ดังนั้นระบบอุปถัมภ์จึงไม่ใช่ระบบที่ยืนอยู่บนความคิดเสมอภาค แต่ก็ไม่ถึงกับขัดหรือแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยในลักษณะที่จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ประการสำคัญตามนัยยะนี้ ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่อุดมการณ์ทางการเมือง ไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม และไม่ใช่ระบบที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย ปัจจุบัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และหลายชาติของเอเชียก็ยังมีระบบนี้อยู่
       
       คุณจักรภพใช้ patronage system ตามนัยยะนี้เพียง 2 แห่ง ทั้ง 2 แห่งใช้เมื่อกล่าวถึงตนและครอบครัวซึ่งเติบโตขึ้นมาในสังคมไทยที่มีระบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดังนี้
       
       I myself grew up in patronage system.—ตัวผมเองเติบโตขึ้นมาภายใต้ระบบอุปถัมภ์
       
       He grew up in patronage system too.—เขา (หมายถึงบิดาของคุณจักรภพ) ก็เติบโตขึ้นมาในระบบอุปถัมภ์เช่นกัน
       
       นัยยะที่ 2 :
       
       patronage system ตามนัยยะที่ 2 เป็นความหมายเฉพาะของคุณจักรภพ ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในลำดับต่อจากนี้ไปว่ามีความหมายเฉพาะว่าอย่างไร คุณจักรภพใช้คำว่า patronage หรือ patronage system ตามนัยยะนี้มากถึง 21 แห่ง มีแห่งเดียวที่กำกวม ไม่แน่ใจว่าคุณจักรภพใช้คำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 หรือนัยยะที่ 2
       
       ทำไม patronage system ของคุณจักรภพจึงได้มี 2 นัยยะ ?
       
       ตามปรกติคำที่เราใช้สื่อสารกัน แม้ว่ามี form เดียวกัน แต่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้ในความหมายแตกต่างกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำที่มีความหมายเชิงนามธรรม ความหมายที่แตกต่างกัน อาจเกิดจากสาเหตุที่ผู้ใช้เข้าใจความต่างกัน ตีความต่างกัน หรือผู้ใช้กำหนดความหมายของคำให้แตกต่างกันก็ได้ เช่นคำว่า แม่ชี คนกลุ่มหนึ่งอาจตีความเคร่งครัดตามหลักพุทธศาสนาเถรวาทว่า ไม่ใช่นักบวช เป็นฆราวาส มีฐานะเพียงอุบาสิกาซึ่งถืออุโบสถศีล หรือ ศีล 8 แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจตีความตามความเข้าใจของคนไทยปัจจุบันว่า แม่ชีเป็นนักบวชหญิงในพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยๆ
       
       ตามความรู้รัฐศาสตร์ที่คุณจักรภพได้ร่ำเรียนมา คุณจักรภพย่อมรู้จัก patronage system ตามนัยยะที่ 1 อย่างดี แต่คุณจักรภพเลือกที่จะกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ทำให้คำนี้มีความหมายเฉพาะแตกต่างกับความหมายตามนัยยะที่ 1 หลายประการ ดังนี้
       
       1) เป็นระบบที่ผู้น้อยเป็นฝ่ายพึ่งพิงหรือคอยเฝ้ารับประโยชน์เกื้อกูลแต่ฝ่ายเดียว ในทำนองเดียวกัน ผู้ใหญ่ก็เป็นฝ่ายเกื้อกูลเพียงลำพัง ส่งผลให้ผู้คน ask about dependency before our own capability to do things—ร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       
       2) เป็นระบบที่ฝ่ายที่คอยเฝ้ารับประโยชน์หรือพึ่งพิงต้องจ่ายค่าตอบแทนความเกื้อกูลด้วย ความจงรักภักดี และเป็นระบบที่คุณจักรภพคิดว่า มีแต่เฉพาะในประเทศไทย จึง makes Thai people different from many peoples around the world…So people had duty to be loyal.— ทำให้คนไทยแตกต่างกับผู้คนอื่นใดในโลก…ดังนั้นประชาชนจึงมีหน้าที่ต้องจงรักภักดี
       
       3) เป็นระบบที่ฝ่ายเกื้อกูลคือพระมหากษัตริย์ ส่วนฝ่ายเฝ้ารับประโยชน์คือสามัญชน
       
       คุณจักรภพเชื่อมโยงความคิดอย่างมีชั้นเชิงโดยเริ่มต้นกล่าวว่า …we have started off as a country in patronage system—เราตั้งต้นด้วยการเป็นประเทศที่อาศัยระบบอุปถัมภ์ แล้วก็กล่าวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ที่โปรดให้แขวงกระดิ่งร้องทุกข์ไว้หน้าวัง จักรภพมองว่า ประชาชนที่ไปสั่นกระดิ่ง คือผู้เมื่อเดือดร้อนก็ที่ไม่ยอมพึ่งตนเอง แต่กลับไปรับประโยชน์อุปถัมภ์จากพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพแสดงทรรศนะว่า นี่เป็นเหตุให้ผู้คน …are led into the patronage system—เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์
       
       นั่นหมายความว่า คุณจักรภพกำหนดความหมาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อยให้แคบลงมากว่าความหมายของ patronage system ตามนัยยะที่ 1 คือ ผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปถัมภ์คือพระมหากษัตริย์ ส่วนผู้น้อยที่คอยเฝ้าแต่จะรับการอุปถัมภ์โดยไม่พึ่งพาตนเองคือประชาชนทั่วไป
       
       4) เป็นระบบที่ทำให้คนไทยคิดว่า we don’t actually need democracy. We are led into believing that the best form of government is guided democracy, or democracy with His Majesty greatest guidance…which I see as a clash or the clash between democracy and patronage system.— คนไทยเราจึงไม่ได้ปรารถนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราถูกชักนำให้เชื่อว่า รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดคือ ประชาธิปไตยแบบชี้นำ หรือประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำอย่างมากมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
       
       
       5) เป็นระบบที่ is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย
       
       ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณจักรภพจะใช้คำว่า patronage system เป็นคู่ตรงข้ามกับ democracy หรือ ประชาธิปไตย คุณจักรภพจึงแสดงทรรศนะว่า ระบบอุปถัมภ์กับประชาธิปไตยไม่อาจอยู่ร่วมกันได้
       
       คุณจักรภพวิเคราะห์ว่า Current political crisis in my opinion is the clash between democracy and patronage system directly.— ในทรรศนะของผมวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์
       
       
       และแสดงความชื่นชม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรว่า เป็นผู้ทำลายระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
       
       …what he did was to release people from patronage system, but when the most crucial decision comes, even him, made the decision out of patronage system. So the deep root of the patronage system is here…—สิ่งที่ท่านนายกฯ ทักษิณทำเป็นการปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบอุปถัมภ์ เมื่อได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ ท่านก็ตัดสินใจออกจากระบบอุปถัมภ์ แต่ระบบอุปถัมภ์ได้หยั่งรากลงลึกเสียแล้ว
       
       เมื่อจบปาฐกถาผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ถามคำถามย้อนคุณจักรภพเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรกับระบบอุปถัมภ์ว่า
       
       Wasn’t it as much patronage under Taksin Shinawatra? Doesn’t he rely on patronage to bring people on board as well?— ก็มีระบบอุปถัมภ์อย่างมากมายในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มิใช่หรือ ? ทักษิณเองก็อาศัยระบบอุปถัมภ์ดึงประชาชนมาเป็นพวกอย่างมากเหมือนกันมิใช่หรือ ?
       
       คำถามดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ตั้งคำถามเข้าใจคำว่า patronage system ตามนัยยะที่ 1 ซึ่งผู้ให้ความอุปถัมภ์อาจเป็นใครก็ได้ ตามนัยยะนี้ ผู้ถามจึงเข้าใจว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จัดเป็นผู้ใหญ่คนสำคัญที่ให้ความอุปถัมภ์แก่ผู้น้อยคือประชาชน เป็นคนละนัยยะกับของคุณจักรภพ เพราะตามนัยยะของคุณจักรภพ ผู้ใหญ่ในระบบอุปถัมภ์จำกัดว่าเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น
       
       Patronage System = Monarchy ???!!!
       
       คำว่า patronage มาจากต้นศัพท์ภาษาละตินว่า pater แปลว่า “พ่อ” คำว่า pater เป็นคำร่วมเชื้อสายกับคำว่า father ในภาษาอังกฤษ
       
       ทันทีที่คุณจักรภพเริ่มกล่าวถึงต้นพัฒนาการของ patronage system คุณจักรภพก็กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหง คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great father แทนคำว่า พ่อขุน ดังนี้
       
       In Sukhothai…we were led to know and believe that one of the kings during Sukhothai period, King Ramkhamhaeng, at the time, to be more precisely “Great Brother” –er I’m sorry “Great Father Ramkhamhaeng”— สมัยสุโขทัย…เราถูกชักนำให้เชื่อว่ากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยสุโขทัยคือพระเจ้ารามคำแหง หรือที่ถูกต้องคือ พี่ขุน อ้อ ขอโทษครับ พ่อขุนรามคำแหง
       
       คำว่า พ่อขุน มีความหมายเหมือนคำว่า king จากคำปาฐกถาของคุณจักรภพ คุณจักรภพก็รู้ดี เมื่อรู้ดีเช่นนั้นทำให้เกิดคำถามว่า
       
       ทำไมคุณจักรภพไม่ใช้คำว่า King Ramkhamhaeng แต่กลับเจตนาใช้ Great father Ramkhamhaeng ?
       
       คำตอบที่เป็นไปได้มี 2 ทาง
       
       คำตอบทางที่ 1 :
       
       คุณจักรภพต้องการแปลให้ตรงกับภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหง = Great father Ramkhamhaeng
       
       ถ้าคำตอบเป็นคำตอบนี้ จะทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่า ใช้ Great father Ramkhamhaeng สื่อความคิดดีหรือมีประสิทธิภาพกว่า King Ramkhamhaeng อย่างไร ? คำตอบที่จะให้แก่คำถามหลังนี้ หาไม่พบจากปาฐกถาของคุณจักรภพหรือแม้แต่จากที่อื่นๆ
       
       ถ้าเช่นนั้น ลองพิจารณาคำตอบทางที่ 2
       
       คำตอบทางที่ 2 :
       
       มีความเป็นไปได้สูงมากว่า คุณจักรภพรู้ว่าต้นศัพท์ของ patronage คือ pater ซึ่งเป็นคำร่วมเชื้อสายกับ father คุณจักรภพเลือกใช้คำว่า Great Father Ramkhamhaeng แทน king Ramkhamhaeng เพื่อที่จะบ่งเป็นนัยๆ อย่างชาญฉลาดแก่ผู้ฟังว่า
       
       patronage = Great Father = king
       
       คุณจักรภพสร้างตรรกะดังกล่าวก็เพื่อวัตถุประสงค์ปลายทางคือการกำหนดความหมายเฉพาะแก่คำว่า patronage system ซึ่งเป็น key word ในปาฐกถาว่า ไม่มีนัยยะที่ 1 แต่มีนัยยะที่ 2 คือ “ระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญในสังคม เป็นระบบที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบความอุปถัมภ์ในรูปของความช่วยเหลือเพียงน้อยนิดแก่ประชาชนเพื่อแลกกับความจงรักภักดีและแลกกับการคงดำรงอยู่ในฐานะสูงสุดในทางการปกครอง” ความหมายใหม่นี้เองทำให้คุณจักรภพกล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์นั้น is in direct conflict with democratization—ขัดแย้งโดยตรงกับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้วิเคราะห์ระบบคิดของคุณจักรภพได้ว่า
       
       เมื่อ Patronage = Great Father = King
       การอุปถัมภ์ = พ่อขุน = กษัตริย์
       
       ดังนั้น Patronage System = King system = Monarchy
       ระบบอุปถัมภ์ = ระบบกษัตริย์ = ระบอบกษัตริยาธิปไตย
       
       เมื่อลองนำคำว่า monarchy ไปแทนที่คำว่า patronage หรือ patronage system ซึ่งใช้ตามนัยยะที่ 2 และใช้จำนวนมากถึง 21 แห่ง ก็พบว่า แทนที่กันได้และเข้ากับเนื้อความได้สนิทเป็นอย่างดี
       
       When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the PATRONAGE SYSTEM because we ask about dependency before our own capability to do things.
       
       When we have problem, turn to someone who can help you. So before we know it, we are led into the MONARCHY because we ask about dependency before our own capability to do things.
       
       ดังนั้น ข้อความข้างต้นแทนที่จะแปลว่า
       
       —ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบบอุปถัมภ์เสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       
       ที่ถูกควรแปลว่า
       
       —ยามใดที่เราเมื่อประสบปัญหา เราก็หันไปพึ่งพระองค์ผู้เดียวซึ่งสามารถช่วยเราได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่เราจะทันรู้ตัว เราก็ได้ถูกชักนำเข้าไปสู่ระบอบกษัตริยาธิปไตยเสียแล้ว เพราะเราร่ำร้องหาแต่ที่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นโดยไม่คิดจะพึ่งพาความรู้ความสามารถของตนเองก่อนเลย
       
       ที่สำคัญเมื่อแทนที่ patronage system ทำให้เข้าใจกระจ่างกว่าด้วยซ้ำว่า เหตุใดคุณจักรภพจึงแสดงตัวอย่างเฉพาะความอุปถัมภ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบแด่ประชาชน โดยเว้นไม่อภิปรายถึงความอุปถัมภ์ลักษณะอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างขุนนางผู้ใหญ่กับขุนนางผู้น้อย นายกับบ่าว ฯลฯ ในกรณีสังคมเก่า หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง นักการเมืองกับหัวคะแนน ฯลฯ ในกรณีสังคมปัจจุบัน
       
       “โอกาสที่สูญเสียไป” ในทรรศนะของจักรภพ ?
       
       
       คุณจักรภพคิดว่า ระบบอุปถัมภ์ หรือให้ตรงกว่านั้น ระบอบกษัตริยาธิปไตย มีกำเนิดและหยั่งรากฝังลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ใน “ระยะเวลาที่ยาวนาน” ของประวัติศาสตร์ระบบอุปถัมภ์หรือระบอบกษัตริยาธิปไตย การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ด้วย เวลาที่ยาวนานทำให้ประชาชนแยก perception หรือ การรับรู้ ไม่ออกว่า เป็น ความจริง หรือเป็น ปะรำปะราคติ
       
       And then, here we are in the reign of the current King, King Bhumibhol or Rama IX. We have all of that combined. And because he reigns for so long of a time, 60 some years now, his being in Thailand has been promoted to the state of myth. People don’t know whether or not they’re talking about realities or belief about him. Because he reigns long enough that he could be all of those combined: the traditional King, the scientific King, the developing King, the working monarch, and now so, he can still be the guardian of the new invention to Thailand, democracy.— ขณะนี้เราอยู่ในรัชกาลปัจจุบัน รัชกาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือรัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์รัชกาลนี้มีทุกประการที่ผมได้กล่าวมาแล้วรวมกัน เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 60 ปีแล้ว ประชาชนจึงยกพระองค์ขึ้นสู่เทวตำนาน โดยมิพักรู้เลยว่า พวกเขากำลังกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เป็นบุคคลจริงหรือเป็นบุคคลในความเชื่อปะรำปะราคติ ด้วยว่าพระองค์ทรงครองราชย์ยืนนานมาจนทรงสามารถเป็นได้ทุกอย่างรวมกัน ทั้งกษัตริย์ที่สืบคติต่อกันมา กษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ กษัตริย์นักพัฒนา กษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และทุกวันนี้ ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย
       
       ข้อความตอนท้ายที่ว่า ยังได้ทรงดำรงฐานะผู้พิทักษ์สิ่งใหม่ของไทย คือ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่คุณจักรภพต้องการให้ผู้ฟังใช้วิจารณญาณตรองอีกครั้งว่าเป็น reality หรือ belief
       
       จากนั้นคุณจักรภพต่อความคิดทันทีว่า
       
       We missed some opportunities in the past like when Predee Panomyong, the civilian leader of the revolution of 1932, 2475 for Thai people, that the system was turned from absolute monarchy into constitutional monarchy.— ในอดีตเราสูญเสียโอกาสอย่างในสมัยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำพลเรือนในการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ.1932 หรือ พ.ศ. 2475 กลายเป็นว่า เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูไป
       
       
       คุณจักรภพเจตนาใช้คำว่า civilian leader ขยายคุณสมบัติของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อย้ำว่าว่าบุคคลที่คุณจักรภพเพิ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำ ซึ่งคุณจักรภพคิดว่านั่นเป็นเพียง myth หรือ belief
       
       ดังนั้น โอกาสที่สูญเสียไปในทรรศนะของคุณจักรภพคือ ทั้งๆ ที่ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำพลเรือน แต่ก็มิได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริยาธิปไตยให้กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พลเรือนเป็นทั้งผู้นำรวมถึงทั้งประมุขของรัฐ
       
       คุณจักรภพเชื่อสนิทใจว่า ประชาธิปไตยกับระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) ขัดแย้งกันโดยตรง จึงได้กล่าวหนักแน่นภายหลังว่า WE have to undo it.. WE have to personalize patronage system by saying that, well, who keeps patronizing people. And I believe that the time is near to do that.— พวกเราต้องแก้ไข พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ (ระบอบกษัตริยาธิปไตย) โดยช่วยกันตั้งคำถามว่า ใครกันที่เฝ้าวนเวียนแต่คอยหยิบยื่นความอุปถัมภ์แก่ประชาชน ผมเชื่อว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว
       
       คำถาม 2 คำถามสุดท้ายมีว่าคำว่า we หรือ พวกเรา หมายถึงใครแน่ ? หมายถึง คุณจักรภพในฐานผู้แสดงปาฐกถารวมทั้งผู้ฟังปาฐกถา ? หมายถึงประชาชนคนไทยทั่วไป ? หรือหมายถึง คุณจักรภพ กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และผู้แวดล้อมวงในทั้งหมด ??? กับคำถามว่า เวลาที่จะทำดังว่าใกล้เข้ามาแล้ว คือ วันนี้หรือพรุ่งนี้ ?
       
       คำตอบมิได้อยู่ในสายลม และเป็นคำตอบที่ “ฟ้ารู้ ดินรู้ เรารู้ ท่านรู้” และแน่นอน บุรุษชื่อ จักรภพ เพ็ญแข ก็รู้ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ก็รู้ นอกจากนี้ ศาลท่านจะรู้หรือไม่ ? และจะทำให้ประชาชนทั่วไปรู้หรือไม่ ? และเมื่อคนไทยรู้แล้วจะคิดหรือทำอะไรเป็นประการต่อไป ???


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: tako ที่ พฤษภาคม 27, 2008, 11:52:15 PM
ขอบคุณครับ ;D ;D


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: Blue Fin (underwater PAD) ที่ พฤษภาคม 29, 2008, 11:14:45 AM
ขอเสริมต่อจากคุณซาไกฯ

รายการ “รู้ทันประเทศไทย” ดำเนินรายการโดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายแสงธรรม ชุนชฎาธาร ออกอากาศทางเอเอสทีวี เวลา 19.00-20.30 น.วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เชิญ ผศ.ดร.เอื้อจิตร วิโรจน์ไตรรัตน์ ผอ.โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาพของสังคม หรือ มิเดียมอนิเตอร์ และ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมวิเคราะห์คำพูดของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่พูดไว้ในที่ต่างๆ ในลักษณะที่หมิ่นเหม่ ว่ามีความหมายหรือนัยอย่างไร
       
       โดยเฉพาะการพูดที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 พ.ย.50 ซึ่งนายจักรภพได้พูดถึงการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ไว้ดังนี้
       
      “คุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผมทำงานด้วย ไม่อยากจะวิจารณ์ผู้บังคับบัญชาเลย แต่นี่มันบ้านเมืองใหญ่กว่า ความรู้สึกส่วนตัว คุณสุรเกียรติ์อยู่ได้จนถึงนาทีสุดท้าย เพราะอะไร อยู่เพื่อจะกระซิบคุณทักษิณที่นิวยอร์กว่าอย่าไปสู้เลย รัฐประหารครั้งนี้เนี่ยสูงมาก
       
       ซึ่งเป็นผลให้คุณทักษิณตัดสินใจไม่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น เพราะอยากเห็นความสมานฉันท์ในบ้านเมือง ผมนะเสียใจมาก ถ้ารู้ว่ารับมืออยู่กับโจรเนี่ย เชียร์ให้ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นไปซะนานแล้ว ทางนี้จะได้กลายเป็นเถื่อนไปให้หมด
       
       ทางนี้หมายถึงที่กรุงเทพฯ นะ ไม่ว่าจะฤาษีเลี้ยงเต่าหรือเต่าควายอะไรทั้งหลายนั่นหนะ เถื่อนทั้งนั้น ...เถื่อนทั้งนั้น
       
       เพราะฉะนั้นเนี่ย มันมีเหตุผลที่จะต้องตัดสินใจยามคับขัน ผมเห็นใจท่านนายกฯ ตอนนั้นผมอยู่ที่กรุงเทพฯ นะครับ ท่านนายกฯ อยู่นิวยอร์ก ผมไม่ได้ไปด้วย เพราะว่าเราเริ่มได้กลิ่นอะไรไม่ค่อยดีกัน
       
       อ่ะ ตรงนี้ในเมื่อเข้าซอยตรงนี้ ก็เล่าตรงนี้ว่า ทำไมไม่สู้ กำลังก็มี เตรียมไว้แล้วด้วย
       
       ก็ตอบสั้นๆ เท่านั้นล่ะครับ แล้วขอตอบประโยคเดียว ใครถามก็จะร้องเพลงให้ฟังแทน ไม่ตอบเพิ่มว่า ..เหตุที่ ไม่สู้ ก็เพราะว่า เราเตรียม กำลังไว้ สู้กับคุณเปรมเท่านั้น ถ้าเป็นเฉพาะคุณเปรมนั่นเหรอก็จบเกมไปนานแล้ว
       
       เพราะว่าดูหนังจีนเรื่องเดียวกันรู้ว่าจะจัดการกับนางพญาผมขาวอย่างไร ดูเหมือนกันหนังเรื่องนี้ รู้วิธี
       
       ..ครับ ขันทีก็ได้ รู้ว่าเก็บไอ้ถ้วยที่เก็บของสำคัญจะเก็บไว้ตรงไหน ขันทีนี่ เขาต้องตัดของสำคัญแล้วเก็บใส่ถ้วยไว้ แล้วเวลาเปลี่ยนแผ่นดินในจีนนี่ ต้องเอาอวัยวะใส่ภาชนะนะฮะ แล้วเอาไว้บนตรงหัว แล้วก็เดินออก
       
       ท่านต้องดูหนังเดอะลาสต์เอ็มเพอเรอร์ ที่ว่าด้วยไอ้ที่เกี่ยวกับ ปู้ยี่ หรือปูยี กษัตริย์องค์สุดท้ายของจีนก่อนการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐนี่ ...ขันทีเดิน ก็เอา..ใส่ไว้บนหัวแล้วเดินไป ผมตั้งใจจะไม่พูดภาษที่มันชัดเจนเกินไป กรุณาอย่าขึ้นภาพประกอบนะครับ ก็ทำอย่างนั้นแล้วก็เดินออกไป ก็รู้วิธีจัดการ
       
       เพียงแต่ว่า เมืองไทยมันซับซ้อนกว่านั้น เพราะฉะนั้นนี่ คุณทักษิณก็เลยบินจากนิวยอร์ก ไปลอนดอน
       
       ถ้าจะว่าไป ก็คือ ทำงานมากเกินไปด้วย ชั่วโมงงานนี่..ยาว ในขณะที่ช่วงเวลาแห่งการเอาใจ..สั้น นายกฯ เมืองไทย ต้องทำงาน 2 ใน 3 แล้วก็ประจบอีก 1 ใน 3 จะไปได้ดี ผมได้สูตรนั้นแล้ว แต่ถ้าหากว่าประจบ 2 ใน 3 แล้วทำงาน 1 ใน 3 ก็อาจจะเป็นมหาบุรุษ (เสียงหัวเราะ ปรบมือ) ไม่ใช่นายกฯ เฉยๆ”
       
ดร.อนันต์ กล่าวว่า เมื่อฟังนายจักรภพพูด ไม่นึกว่าจะพูดออกมาแบบนี้ ตกใจพอสมควร ที่จริงก่อนมารายการนี้ได้อ่านคำถอดเทปที่นายจักรภพพูดที่ชมรมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทย (เอฟซีซีที) แล้ว แต่เมื่อได้ฟังเทปเมื่อสักครู่นี้ มันย้ำชัดเจนมากกว่า นายจักรภพใช้น้ำเสียง ในข้อความที่ตนเองต้องการเน้น แม้จะไม่พูดออกมาชัดเจน แต่ด้วยวิธีการเน้นคำให้ผู้ฟัง ถูกตอกย้ำอย่างมั่นคง จนมั่นใจว่าผู้พูดหมายถึงอะไร
       
       ดร.อนันต์ กล่าวต่อว่า นายจักภพเน้นอยู่ 2 จุด ข้อความตอนแรกที่อ้างอิงถึงนายสุรเกียรติ์ว่า ได้กระซิบบอก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าอย่าสู้ เพราะรัฐประหารครั้งนี้ สูงมาก นายจักรภพเน้นคำว่าสูง ซึ่งตรงนี้อาจจะยังไม่ชัดเจน แต่พอต่อภาพกับอีกข้อความหนึ่ง โดยที่เรื่องที่พูดยังเป็นเรื่องเดิมอยู่ ไม่มีเรื่องอื่นเข้ามาแทรกเลย นายจักรภพบอกว่า “ใครถามก็จะร้องเพลงให้ฟังแทน ไม่ตอบเพิ่ม ว่าเหตุที่ไม่สู้ ก็เพราะว่า เราเตรียม กำลังไว้ สู้กับคุณเปรมเท่านั้น” นายจักรภพพูดแล้วหยุด 3 จังหวะ พูดคำว่า “เราเตรียม” หยุด “กำลังไว้” หยุด แล้วพูดว่า “สู้กับคุณเปรมเท่านั้น”
       
       เสร็จแล้วยังมีข้อความต่อมาอีกว่า “ถ้าเป็นเฉพาะคุณเปรมนั่นเหรอก็จบเกมไปนานแล้ว” ทำให้ไปย้ำข้อความที่บอกว่ารัฐประหารครั้งนี้สูงมากชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เรารู้ว่าเขาพูดถึงอะไร
       
       ดร.อนันต์ กล่าวต่อว่า การพูดแค่นี้ก็ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร โดยนายจักรภพต้องการให้เห็นว่าการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลชุดที่แล้ว คือรัฐบาลทักษิณ กับการรัฐประหาร 19 ก.ย. ในความคิดของนายจักรภพนั้น เขาคิดว่านั่นไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างหัวหน้าคณะทหารที่ทำการปฏิวัติ (กับรัฐบาลทักษิณ) แต่เป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่มีอิทธิพลสูงกว่าคณะทหารที่ทำการปฏิวัติ (กับรัฐบาลทักษิณ) ซึ่งเขาหมายถึง พล.อ.เปรม และเขายังเชื่อมโยงไปมากกว่านั้น ให้หมายถึงคนที่อยู่สูงกว่า พล.อ.เปรม ซึ่งเราเข้าใจได้ตรงกันว่า เขาหมายถึงใคร เพราะว่า พล.อ.เปรม ดำรงฐานะที่เป็นประธานองคมนตรี
       
       นอกจากนี้ จากคำพูดที่ว่า “ถ้าเป็นเฉพาะคุณเปรมนั่นเหรอก็จบเกมไปนานแล้ว” แสดงว่า เขาคิดว่าถ้าต่อสู้เฉพาะกับคณะปฏิวัติธรรมดา ถ้าใช้กำลังทหารที่เตรียมไว้สู้เมื่อ 19 ก.ย. พวกเขาไม่มีวันจะพ่ายแพ้
     
       
       ส่วนข้อความที่ว่า “ผมนะเสียใจมาก ถ้ารู้ว่ารับมืออยู่กับโจรเนี่ย เชียร์ให้ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นไปซะนานแล้ว” คำว่าโจรในที่นี้จะหมายถึงใครนั้น ดร.อนันต์ กล่าวว่า คำนี้ตีความได้ยากว่าหมายถึงบุคคลที่มีฐานะสูงที่พูดก่อนหน้านั้น หรือหมายถึงบุคคลอื่น อาจจะหมายถึงกลุ่มคนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการยุดอำนาจเมื่อ 19 ก.ย.
       
       ดร.อนันต์ กล่าวว่า ถ้าตนตีความเอง โจรในที่นี้น่าจะหมายถึง คนที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ ซึ่งถ้านายจักรภพคิดว่ามีคนที่สถานะภาพสูงกว่า พล.อ.เปรมเกี่ยวข้องด้วย ก็น่าจะหมายความรวมเข้าไปด้วย แต่ถ้าจะตีความว่าโจรหมายถึงบุคคลคนเดียวก็ได้ แต่จะเป็นการเลือกตีความจนเกินไป แต่ถ้าตีความว่าทั้งกลุ่ม อาจจะดีกว่า แต่ไม่ว่าจะตีความอย่างไรเขาหมายรวมเอาบุคคลๆ หนึ่งเข้ามาอยู่ในคำที่เขาใช้คำว่าโจร
       
       ส่วนที่นายจักรภพบอกว่าเสียใจนั้น น่าจะหมายถึงเสียใจที่ตัดสินใจผิดพลาดในการที่ไม่สู้และไม่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น
       
       ดร.อนันต์ ย้ำว่า เจตนาของนายจักรภพที่พูดเพียงแค่ต้องการให้ผู้ฟัง ได้เข้าใจสถานการณ์ตามการมองของเขา ที่ต้องการบอกว่าการรัฐประหาร 19 ก.ย.มีเบื้องหลังเช่นนี้
       
       ด้าน ผศ.เอื้อจิตร กล่าวว่า ที่นายจักรภพพูดคำว่าโจรคงต้องการหมายความว่า คนที่มาปล้นมาขโมยในช่วงที่เจ้าของเขาไม่อยู่ ทิ้งบ้านไป แล้วมาปล้นมาขโมยไป
     
       
       ส่วนที่นายจักรภพบอกว่า รู้ว่าจะจัดการกับ “นางพญาผมขาว” อย่างไร รู้ว่า “ขันที” ได้เก็บถ้วยที่เก็บของสำคัญไว้ตรงไหน คำว่าขันทีจะหมายถึงใครนั้น ผศ.เอื้อจิตร กล่าวว่า เป็นการพยายามพูดในเชิงเปรียบเทียบที่จะอธิบายเพิ่มเติมในเกี่ยวกับ พล.อ.เปรม
       
       ด้าน ดร.อนันต์ กล่าวว่า เป็นการบรรยายลักษณะประจำตัว ซึ่งพิเศษแตกต่างจากคนอื่น เมื่อนายจักรภพพูดถึงชื่อของพล.อ.เปรมว่า “คุณเปรม” จากนั้นใช้คำว่า “นางพญาผมขาว” แล้วใช้คำว่า “ขันที” โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนบุคคล ไม่เปลี่ยนสถานการณ์ เพราะฉะนั้น คำ 3 คำนี้ มีค่าเท่ากันหมด แล้วพูดต่อกันด้วย
       
       ตรงที่นายจักรภพพูดถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีนนั้น ดร.อนันต์กล่าวว่า จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง หรือราชวงศ์แมนจูนั้น โดยปกติแล้วเราจะเรียกกันว่าจักรพรรดิปูยี่ หรือ ปูยี เราไม่เคยได้ยินใครออกเสียงว่า “ปู้ยี่” แบบนายจักรภพเลย ในกรณีนี้นายจักรภพใช้คำว่า “หรือ” จึงคิดว่าเป็นความจงใจ เนื่องจากเป็นเสียงวรรณยุกต์ที่เราไม่ใช้กัน เรารู้ว่าจักรพรรดิองค์สุดท้ายคือพระเจ้าเฮนรี่ ปูยี่ แต่นายจักรภพเลือกใช้คำว่า ปู้ยี่ มันทำให้คนฟังมีจิตประวัติไปถึงคำว่า “ปู้ยี่ปู้ยำ” ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ที่เขาเชื่อว่าคนที่ดำรงสถานภาพจักรพรรดิ แล้วก็ดำรงฐานะที่เป็นกษัตริย์ของประเทศ เขาคิดว่ากษัตริย์องค์นี้สร้างความเสียหายให้กับประเทศจีน ถ้าเรามีประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนเราจะพอเข้าใจ
       
       “แต่สิ่งที่น่าสนใจคือทำไมคุณจักรภพเลือกกล่าวถึงจักรพรรดิปูยี่ แล้วเลือกใช้คำที่ให้เสียงวรรณยุกต์แบบนี้ ไม่แน่ใจว่าบังเอิญหรือจงใจ แต่ถ้าจงใจคุณจักรภพก็ต้องรับผิดชอบเอาเอง”
       
       ดร.อนันต์ กล่าวต่อว่า การที่นายจักรภพเปรียบเทียบ พล.อ.เปรมว่าเป็นขันที แล้วพูดถึงขันทีในราชสำนักของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงด้วย แสดงว่าคนพูดต้องการที่จะสื่อถึงสถานการณ์บางอย่างในประเทศไทยด้วย เขาอาจจะมีความคิดว่าสถานการณ์ของประเทศไทย อาจจะเดินไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์เฉกเช่นเดียวกับประเทศจีนในราชวงศ์สุดท้าย หากมีการปะทะกัน ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณตัดสินใจที่จะตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ด้วยเหตุนี้เองที่ตอบคำถามว่าทำไมเขาถึงได้พูดว่าเขาเสียใจมาก
     
       
       สำหรับพูดประโยคที่ว่า “นายกฯ เมืองไทย นี่ ต้องทำงาน 2 ใน 3 แล้วก็ประจบอีก 1 ใน 3 ก็จะไปได้ดี ผมได้สูตรนั้นแล้ว แต่ถ้าหากว่าประจบ 2 ใน 3 แล้วก็ ทำงาน 1 ใน 3 ก็อาจจะเป็นมหาบุรุษ ไม่ใช่นายกฯ เฉยๆ” นั้น ผศ.เอื้อจิตรกล่าวว่า คำว่า “ประจบ” ต้องเป็นผู้น้อยประจบผู้ที่อยู่เหนือกว่า คงไม่มีผู้ใหญ่ไปประจบผู้น้อย เพราะฉะนั้นนายกฯ ก็ต้องประจบคนที่เหนือกว่า แล้วพวกเราก็รู้ว่า พล.อ.เปรมท่านเป็นรัฐบุรุษ เพราฉะนั้นมีคำว่าประจบ มีคำว่าถ้าประจบมากขึ้น ก็จะได้เป็นมหาบุรุษไปแล้ว ก็แสดงว่ามีความพยายามเชื่อมโยงไปถึงบุคคลที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้น
       
       ทั้งนี้ คำพูดดังกล่าว นายจักรภพต้องการยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณว่า ทำแต่งานไม่มีเวลาไปประจบ ขณะเดียวกันก็กระทบกระทั่งไปถึง พล.อ.เปรมว่าประจบเก่งจนได้เป็นรัฐบุรุษ
       
       ดร.อนันต์ กล่าวว่า ต้องขอชมว่านายจักรภพฉลาดที่จะพูดแบบนี้ เพราะเลือกที่จะพูดโดยไม่ใส่กรรมของประโยคว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องไปจบใคร 2 ใน 3 พ.ต.ท.ทักษิณจะประจบอาจารย์เอื้อจิตรหรือไม่ จะประจบอาจารย์เจิมศักดิ์ หรือไม่ หรือประจบผู้ฟังทางบ้าน ในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศนี้ ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แม้ไม่ใส่กรรมให้กับกริยา “ประจบ” ก็ตีความได้ไม่ยากว่า เขาหมายถึงประจบใคร เพราะฉะนั้นถ้าเทียบเคียงกับ พล.อ.เปรมซึ่งมีฐานะเป็นรัฐบุรุษ ถ้าเขาประจบซะแล้วเขาจะเป็นมหาบุรุษ
     
       
       ส่วนเรื่องที่นายจักรภพพูดที่ชมรมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (เอฟซีซีที) นั้น ดร.อนันต์ กล่าวว่า การพูดครั้งนั้นพูดก่อนจะพูดที่อเมริกา แต่ถ้าฟังการพูดทั้ง 2 สถานที่ จะเข้าใจความคิดของนายจักรภพมากขึ้น เวลาที่พูดที่เอฟซีซีทีค่อนข้างนานคือ 1 ชั่วโมง และบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ นายจักรภพเริ่มต้นพูดถึงระบบอุปถัมภ์ในไทยว่าเริ่มมีมาในสมัยสุโขทัย ด้วยการพูดถึงพ่อขุนรามคำแหง ในภาษาอังกฤษ คำที่นายจักรภพใช้ที่สำคัญมากคือคำว่า patronage system หรือ ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งมาจากคำว่า patron
       
       ดร.อนันต์ กล่าวต่อว่า คิดว่านายจักรภพจงใจ เวลาพูดถึง patronage system แล้วเลือกมาพูดถึงพ่อขุนรามคำแหง ในฉบับภาษาอังกฤษ นายจักรภพใช้คำว่า Great Father Ramkhamhang แต่ก่อนหน้านั้นนายจักรภพพูดโดยใช้คำว่า Great Brother แล้วแก้เป็น Great Father การจงใจที่จะพูดผิดนั้น เป็นการย้ำว่า พ่อขุนรามคำแหงนั้นต้องเรียกว่า Great Father แล้วหลังจากนั้นตลอดเวลาก็ใช้คำว่า Great Father แทนสถานะที่เป็นกษัตริย์ แล้วมาพูดถึงอยุธยา รัตนโกสินทร์
       
       สิ่งที่น่าสนใจก็คือ รากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า patron นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า pater มีกำเนิดศัพท์เดียวกับว่า father ที่แปลว่า บิดา เพราะฉะนั้นคิดว่านายจักรภพใช้คำว่า Great Father หรือ พ่อที่ยิ่งใหญ่ ล้อกับความหมายของตัวต้นศัพท์ของคำว่า patronage แล้วใช้คำว่า ระบอบอุปถัมภ์ เรื่อยมา
       
       อย่างไรก็ตาม ดร.อนันต์ กล่าวว่า นายจักรภพได้ตีความคำว่า patronage system เข้าข้างตัวเอง และตีความผิด สังเกตจากคำถามของผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ถามนายจักรภพย้ำถึง 2 คำถามว่า สมัยของรัฐบาลทักษิณก็มีระบบอุปถัมภ์ และพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้เป็นวีรบุรุษที่ทำลายระบบอุปถัมภ์ทั้งยังสร้างระบบอุปถัมภ์เสียเอง แสดงว่าผู้สื่อข่าวต่างประเทศรู้ว่านายจักรภพตีความคำว่าระบอบอุปถัมภ์ผิด แล้วจงใจตีความเพื่อให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศได้ภาพระบอบอุปถัมภ์ที่บิดเบี้ยวไป
       
       ดร.อนันต์ กล่าวว่า นายจักรภพใช้คำว่าระบบอุปถัมภ์คู่กับคำว่า democracy หรือประชาธิปไตย ดูราวประหนึ่งว่าระบบอุปถัมภ์เป็นระบอบการปกครอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบอุปถัมภ์กับระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ระดับเดียวกัน สามารถที่จะอยู่ซ้อนกันได้ แต่ในระบบคิดของนายจักรภพนั้น ถ้าเลือกประชาธิปไตย ต้องประชาธิปไตยแบบทักษิณ ชินวัตร ต้องปฏิเสธ patronage system ที่ระบบกษัตริย์เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

Source://http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000060229


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: Blue Fin (underwater PAD) ที่ พฤษภาคม 29, 2008, 11:29:41 AM
^
^
^
คำปราศรัยของนายจักรภพ ด้านบนนี้เป็นเพียงบางส่วน ของสิ่งที่ได้กล่าวาจาที่ไม่เหมาะสมไว้ถึง 3 ช่วงด้วยกัน คือ

1.กล่าวหาหลวงตามหาบัว อยากเป็นพระสังฆราช
2.กล่าวหาคนใกล้ชิดราชวงศ์เป็นคนตอแหล
3.การปฏิวัติ 19 ก.ย.มีคนที่สูงกว่า พล.อ.เปรมเกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดเพีือดูภาพและฟังเสียงจริงได้ที่นี่
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000062060


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: G-girl ที่ พฤษภาคม 29, 2008, 02:53:06 PM
 ;D ;D ;D
เราสร้างห้องใหม่อีกสักห้องมะ สำหรับเรื่องนี้  ;D ;D
ชื่ออะไรดี

"อธิปไตยของไทย" ดีมะ  ;D ;D


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: Blue Fin (underwater PAD) ที่ พฤษภาคม 29, 2008, 03:58:04 PM
ตอบคุณกระโจมไฟ

เพลง เราสู้ เป็นเพลงที่คนกลุ่มใหญ่ยืนตากฝนร้องด้วยกันที่หน้าตึก UN
ฝนตก เครื่องขายเสียงไม่ทำงาน แต่ทุกคนมีจุดรวมใจที่เดียวกัน
และร่วมร้องเพลงนี้ด้วยกัน ไม่ถอยหนีไหน

เป็นบทพิสูจน์ว่าการรับจ้าง กับการมาด้วยใจมันต่างกัน !!!
 


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: Blue Fin (underwater PAD) ที่ พฤษภาคม 29, 2008, 03:59:33 PM
ไอเดียดีนะ G-Girl  แต่ขอชื่ออื่นอีกได้ป่ะ


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: นายซาไกทัดดอกฝิ่น ที่ มิถุนายน 12, 2008, 08:12:51 AM
ใครคิดแก้หรือสนับสหนุนให้แก้รัฐธรรมนูญ ตอนนี้   อ่านซะ

..........

ในหลวง” พระราชทานวโรกาสให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ฯก่อนรับหน้าที่ ทรงเน้นย้ำให้ตุลาการฯปฏิบัติหน้าที่ให้ได้อย่างที่ปฏิญาณตน เพราะรัฐธรรมนูญถือเป็นหลักของการปกครองในประเทศ ถ้ามีหลัก-การปกครอง-บุคคล ที่ตั้งใจปฏิบัติตามหลัก ประเทศก็จะดำเนินไปได้ดี
วันนี้ (11 มิถุนายน) เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายสนิท จรอนันต์ และนายนภดล ช.สรพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย
       
       โอกาสนี้ พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ปฏิบัติตามคำปฏิญาณในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปราศจากอคติ เพื่อประชาชนและประเทศชาติ
       
       “ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ฟังเหล่าผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้กล่าวปฏิญาณตน ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องพยายามที่จะปฏิบัติอย่างดีที่สุด เพราะว่ารัฐธรรมนูญก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในประเทศ เพราะว่าถ้ามีหลักที่ดีในการปกครอง ก็ถือว่าการปกครองจะเป็นไปด้วยดี ก็ดีที่ท่านได้ปฏิญาณตน ก็ขอให้ท่านทำตามคำปฏิญาณนี้ให้เคร่งครัดที่สุด เพราะว่ารัฐธรรมนูญเป็นหลักของการปกครองในประเทศ ซึ่งถ้ามีหลักในการปกครอง และมีบุคคลที่ตั้งใจที่จะปฏิบัติตามหลักนี้ ก็เชื่อว่าประเทศก็จะดำเนินงานไปได้ดี ก็ขอให้ท่านได้พยายามที่จะปฏิบัติตามที่ได้ปฏิญาณไว้ เพื่อความเจริญของประเทศ เพราะว่าถ้าประเทศมีบุคคลซึ่งเชื่อว่าท่านก็คงจะทำตามที่ต้องการ ตามที่ได้ปฏิญาณ มีหลักที่ดีแล้ว ประเทศก็จะไม่มีความเดือดร้อน ก็ขอให้ทุกท่านได้ปฏิบัติตามที่ได้ปฏิญาณ”
       
       จากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ นางสาวพรทิพย์ ทองดี เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย
       
       ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทถึงความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุด ว่ามีความสำคัญมากต่อความมั่นคงและการปกครองบ้านเมือง โดยทรงขอให้ทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ปฏิญาณ เพื่อปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถตามที่ได้เล่าเรียนมา หน้าที่ที่จะปฏิบัติ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ภายใต้พระปรมาภิไธย ด้วยความตั้งใจ ซื่อสัตย์ สุจริต จึงจะบังเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นผลดีต่อบ้านเมือง ถ้าคนไม่ดีจะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
       
       " ... ได้ให้ความรับผิดชอบ ถ้าท่านทำไม่ดีหมายความว่าองค์พระมหากษัตริย์ก็ทำไม่ดี ก่อนหน้านี้วุ่นวาย อย่าให้วุ่นวายต่อไป เพราะว่าการทำอะไร ถ้าไม่ทำตรงตามคำปฏิญาณนั้นก็จะยุ่ง ก็ยุ่งมาแล้ว ฉะนั้นขอให้ท่านเข้มงวดและเข้มแข็งยิ่งขึ้นในการปฏิบัติในพระปรมาภิไธย คำนี้แปลว่า พระเจ้าอยู่หัวทำอะไร ท่านทำอย่างนั้น ซึ่งถ้าท่านไม่ทำก็ไม่รู้จะเกิดเรื่องอะไร เป็นอย่างไร ท่านก็ได้เห็นแล้วว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ถ้าท่านไม่ทำ ไม่ช่วย ไม่ช่วยกันทำ"
       
       "ฉะนั้นก็ขอให้ท่านช่วยกันทำตามความสามารถที่ท่านมี ซึ่งไม่ใช่ง่ายๆ แต่ก็ขอให้ท่านทำ เพราะว่าถ้าไม่ทำ ไม่ใช่ท่าน 4-5 คนจะเดือดร้อน แต่ว่าจะเป็นหลายล้านคน ซึ่งประกอบเป็นบ้านเมืองที่เดือดร้อน เดือดร้อนกันทุกคน ถ้าเดือดร้อนแล้วเราก็ได้ผลที่ไม่ดีเกิดขึ้นมา ผลไม่ดีนี้ บ้านเมืองจะพัง ซึ่งพังมาแล้วและจะพังอีก แต่ท่านผู้ที่ทำหน้าที่ศาลปกครอง ได้ช่วยกันปกครอง ไม่ทราบว่าท่านมีความลำบากอะไรก็ขอให้ทำให้สำเร็จ โดยผ่านพ้นความลำบาก บนการปกครองที่ล่มจม ขอให้การปกครองไม่ล่มจม การปกครองไปโดยดีต่อไป"
       
       "ท่านมีความรู้โดยศึกษามาแล้วว่าจะทำอะไร อย่างใด ก็ขอให้ท่านทำสำเร็จ เพราะว่าสี่ห้าคนที่ท่านแสดงตัวออกมาจะทำให้จำนวนล้านคน เป็นล้านคนที่จะเดือดร้อนถ้าทำไม่สำเร็จ ก็ขอให้ท่านทำสำเร็จ ก็ขอให้ท่านประสบความสำเร็จ ท่านต้องใช้เครื่องมือ ความรู้ในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ ท่านจะมีความภูมิใจ และพระมหากษัตริย์จะภูมิใจเหมือนกัน หากทำไม่สำเร็จงานของกษัตริย์ก็จะล่มจม ขอให้ท่านมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงาน คนเป็นล้านคนจะมีความภูมิใจที่เจ้าหน้าที่ทำงานสำเร็จ จะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า เป็นผลดีสำหรับส่วนรวม"


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: BlackCap ที่ มิถุนายน 23, 2008, 11:19:41 AM
“เขาพระวิหาร” เป็นของเขมร - ใจ อึ๊งภากรณ์ (ผมไม่ใช่ “คนไทย” ภูมิใจเป็นจีนปนอังกฤษ)”  

ผู้จัดการออนไลน์ – ใจ อึ๊งภากรณ์ มั่วนิ่มระบุ “เขาพระวิหาร” เป็นของกัมพูชาแน่นอน อ้างเพราะเป็นวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณ ด่ากลุ่มพันธมิตรฯ ปัญญาอ่อน ปลุกระดมกระแสชาตินิยมขวาจัด แถมยืนยันเรื่องเขาพระวิหารไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-ความยากจน
       
       วันนี้ (22 มิ.ย.) เว็บไซต์ประชาไท ได้เผยแพร่บทความของ นายใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทความดังกล่าวมีชื่อว่า “เขาพระวิหารเป็นของเขมร” ซึ่งมีเนื้อหากล่าวโจมตี กรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หยิบยก โดยแสดงความกังวลในการที่รัฐบาลไทยและกระทรวงต่างประเทศไปลงนามยินยอมให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลกต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ว่า หมิ่นเหม่ต่อการทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดน
       
       นายใจ กล่าวว่า การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น เป็นการปลุกระดมอย่างไร้เหตุผลและด้อยพัฒนา เนื่องจากการตัดสินของศาลโลกในปี พ.ศ.2505 นั้นถูกต้องและมีเหตุผลเพียงพออยู่แล้ว ทั้งยังระบุด้วยว่า ปราสาทเขาพระวิหารนั้น สร้างขึ้นในขณะที่ชนเผ่าไท บรรพบุรุษของชนชาติไทย ยังด้อยพัฒนาอยู่ ดังนั้น เขาพระวิหารก็ควรเป็นของประเทศกัมพูชาอย่างไม่มีข้อสงสัย
       
        “เขาพระวิหารเป็นของเขมร เพราะบนยอดเขานั้นมีปราสาทหินจากยุคอาณาจักรเขมร สมัยอาณาจักรเขมร “ชนเผ่าไท” ยังด้อยพัฒนาอยู่มาก เป็นคนป่า ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรไม่ดีหรอก แต่ต้องยอมรับความจริง เขมรเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรใดที่มีในไทยภายหลัง แถมนักประวัติศาสตร์ยังมองว่ากษัตริย์สุโขทัยเป็นคนเขมรอีกด้วย วัฒนธรรม และศีลปะจำนวนมากที่อ้างกันว่าเป็นแบบ “ไทยๆ” ก็ลอกมาจากเขมรทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อเราไปดูนครวัด”
       
       “ถ้าเขาพระวิหารเป็นของเขมร พิมาย ควรเป็นของเขมรหรือไม่? ในแง่หนึ่งมันเป็นของเขมรอยู่แล้ว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมรในอดีต แต่ตอนนี้มันอยู่ใจกลางผืนแผ่นดินที่กษัตริย์กรุงเทพฯก่อตั้งขึ้นมาเป็นรัฐชาติไทยไปแล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้น การที่จะไปยกให้เขมรก็คงไม่สมควร และรัฐบาลเขมรก็ไม่ได้เรียกร้องด้วย แต่ในกรณีเขาพระวิหาร มันอยู่บนยอดเขาตรงเส้นพรมแดน ที่กรุงเทพฯ กับปารีส เคยขีดเอาไว้ ไม่มีหมู่บ้านประชาชนอยู่ตรงนั้น ไม่จำเป็นต้องไปเถียงอะไรบ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย” นายใจ กล่าวไว้ในบทความ
       
       นอกจากนี้ นายใจ ยังกล่าวหาด้วยว่า ประชาชนที่โกรธเคืองเรื่องเขาพระวิหารนั้น “ปัญญาอ่อน” และตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนที่ปลุกปั่นกระแสชาตินิยมอย่างไร้เหตุผล และการยกประเด็นเรื่องเขาพระวิหารขึ้นมาว่าเป็นของไทยหรือกัมพูชา ก็ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ปัญหาโลกร้อน ปัญหาชาวนา ได้เลย
       
       ทั้งนี้ ในตอนท้ายนายใจระบุอย่างรวบรัดตัดความว่า “ฟันธงเลยเขาพระวิหารเป็นของเขมร” พร้อมทั้งลงชื่อในตอนท้ายของบทความชิ้นดังกล่าวด้วยว่า “ใจ อึ๊งภากรณ์ (ผมไม่ใช่ “คนไทย” ภูมิใจเป็นจีนปนอังกฤษ)”
       
       อนึ่ง นายใจ อึ๊งภากรณ์ นั้นเป็นนักวิชาการซ้ายจัดที่นิยมในแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ นายใจเป็นบุตรชายของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และเป็นน้องชายของ นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กทม.ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ประชาไท และกรรมการนโยบายสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
       
       -----------


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: กระโจมไฟ ที่ มิถุนายน 24, 2008, 07:33:50 AM
“ภูวดล”แฉ“ไอ้โม่ง”เรียงตัว!ชักใยเว็บ"ไฮทักษิณ-ประชาไท"

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2551 02:18 น.

“ภูวดล” แฉแหลก “จอห์น-ใจ” อยู่เบื้องหลังเวปไซต์ประชาไท ชี้เป็นรวมศูนย์ของนักวิชาการ-เอ็นจีโอที่เหยียบย่ำสถาบันตั้งแต่ปี 46 ปูดซ้ำ “ทองเจือ” ศิษย์เก่าผู้จัดการยอมเป็นทาสรับใช้ “ยี้ห้อย” จนได้ดีคุมบังเหียน “เอ็นบีที”
       
       เมื่อเวลาประมาณ 00.30 น. วันนี้ (24 มิ.ย.) ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หน้าทำเนียบรัฐบาล ถึงกรณีที่นักวิชาการ และองค์กรเอกชนที่ทำตัวเป็นสมุนระบอบทักษิณ ว่า ถ้าพวกเราศึกษาให้ดี และจำได้หรือไม่ว่า ขบวนการประจบสอพลอ หรือขบวนการลบหลู่พระมหากษัตริย์ นั้น นักวิชาเกินบางพวก ทำตัวหากินกับระบอบทักษิณ โดยเฉพาะนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ที่ไม่เคยประสบความสำเร็จในชีวิตเลยสักเรื่องเดียว และยังมีสุนัขรับใช้พันธุ์อื่นๆ เช่น นายนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคพลังประชาชน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนนายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ไม่ต้องพูดถึง เพราะตีกินตลอดเวลา จนลูกเมียมีเงินไปเปิดร้านอาหารที่ประเทศอังกฤษ
       
       ศ.ดร.ภูวดล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีนายใจ อึ้งภากรณ์ อนุบาลมาร์กซิสต์ ที่ออกมากล่าวหาพันธมิตรฯ เรื่องเขาพระวิหาร ซึ่งพ่อของเขาทำคุณงามความดีไว้มากมายกับประเทศนี้ ซึ่งต้องเคารพยกย่อง แต่ลูกชายคนสุดท้องของนายป๋วย อึ้งภากรณ์ กลับมาตีกิน โดยนายใจ กับพี่ชาย คือนายจอน อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นที่รวมศูนย์ของพวกบูชาระบอบทักษิณ และเป็นที่รวมศูนย์ของนักวิชาการ และเอ็นจีโอที่เหยียบย่ำสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา”
       
       “เว็บไซต์อัปรีย์ในประเทศไทย มีอยู่ 3 เว็บไซต์ ซึ่งเว็บไซต์ที่ถูกปิดไป คือ ไฮทักษิณ ซึ่งทำอยู่ชั้นที่ 23 ตึกซันทาวเวอร์ ที่ ถ.วิภาวดี โดยสันติบาลเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยตึกดังกล่าวเป็นที่ทำการของไอบีซี หรือยูบีซี ซึ่งวันนี้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของตระกูลชินวัตร และสุนัขรับใช้จะไปรวมตัวกันอยู่ที่นี่ ส่วนคนเขียนเวปไซต์ไฮทักษิณ เป็นทอม จบจากมหาวิยาลัยเอแบค และเคยทำงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งมีคนทำทั้งหมด 3 คน”ศ.ดร.ภูวดล กล่าว
       
       ศ.ดร.ภูวดล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีนายทองเจือ ชาติกิจเจริญ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทำงานอยู่ที่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ แต่ตอนนี้แยกตัวมาเป็นสุนัขรับใช้ให้กับ “นายห้อย ร้อยยี่สิบ บุรีรัมย์” มาทำหน้าที่คุมช่อง 11 โดยตรง หรือสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในปัจจุบันนี้ นี่คือที่มาของเว็บไซต์ไฮทักษิณ
       
       ส่วนเว็บไซต์ประชาไทนั้น เกิดขึ้นได้เพราะเอาเงินมาจากกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) มากที่สุดถึง 2,979,000 บาท นอกจากนี้ยังได้มาจากสภาบันพัฒนาองค์องค์กรชุมชน (พอช.) อีก 1,896,000 บาท
       
       ศ.ดร.ภูวดล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้เงินสนับสนุนจาก Open Society Institute หรือ OSIที่มีนายจอร์จ โซรอส(ที่เคยโจมตีค่าเงินบาทเมื่อปี2540) เป็นประธานกรรมการ คนพวกนี้หากินกัน และเป็นบรมครูของนายโชติศักดิ์ ที่ไม่แสดงความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งคนเหล่านี้ คือ กองบรรณาธิการของนิตยสารที่ลบหลู่พระมหากษัตริย์ ซึ่งคนพวกนี้หากินกับเอ็นจีโอตลอดมา โดยเฉพาะบางคนทำตัวเป็นนักเรียนนอก จบมาจากประเทศอังกฤษ แล้วมีสิทธิ์อะไรมาดูถูกคนไทย
 



หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: กระโจมไฟ ที่ กรกฎาคม 09, 2008, 09:43:03 PM
ภาพประวัติศาสตร์ "เขาพระวิหาร"จาก ๒๕๐๕ ถึง ๒๕๕๑

(http://pics.manager.co.th/Images/551000008756401.JPEG)

พิธีอันเศร้าสลด : ตำรวจตระเวนชายแดนกำลังทำพิธีเชิญเสาธงบนยอดเขาพระวิหาร พร้อมกับธงไทยออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารเมื่อ ๑๒.๐๐ น.วันที่ ๑๕ ก.ค. (๒๕๐๕) ท่ามกลางความเศร้าสลดใจของคนไทยทั้งชาติ

พิธีรื่นเริง? : การพบปะกันระหว่าง นายนพดล ปัทมะ นายสก อาน และมาดามฟรังซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านวัฒนธรรมของยูเนสโก ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 โดยมีการบรรลุข้อตกลงขอให้ราชอาณาจักรไทยยืนยันอีกครั้งหนึ่ง เรื่องการสนับสนุนการนำปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะมีการเปิดประชุมที่เมืองควิเบก ที่ประเทศแคนนาดา ในเดือน ก.ค.2551

(http://pics.manager.co.th/Images/551000008756402.JPEG)

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2551 18:00 น.  


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: LightHouse ที่ กรกฎาคม 10, 2008, 12:05:39 PM
(http://202.80.231.103/img2/load_cpic.php?fid=8755&mime=image/pjpeg&ext=jpg)

เลื้อยบุกเว็บ - โฉมเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร ถูกมือที่มองไม่เห็นเจาะข้อมูล แถมฝากตัวเงินตัวทอง ช่วยดูแลหน้าเว็บเพจนาน 10 นาที

เมื่อเย็นวันนี้ (8 กรกฎาคม) ที่ผ่านมา ได้มีแฮกเกอร์มือดีเข้าไปแฮกในเว็บไซต์ของรัฐสภา (www.parliament.go.th) 

ด้าน นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า

ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ของสภา ตั้งแต่เย็นวันที่ 8 กรกฎาคมจึงได้สั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบให้แก้ไขและป้องกันแล้ว และให้ตรวจสอบต้นตอที่มาที่ไปเป็นอย่างไร แต่ต้องยอมรับว่าการที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาแฮกข้อมูลของรัฐสภานั้นทำได้ง่าย โดยป้องกันยากและไม่แน่ใจว่าจะมีวิธีป้องกันตลอดเวลาได้ แต่คงต้องหารือกับผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ที่มีผู้บริหารเป็นบอร์ดของรัฐสภา รวมทั้งสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญและศึกษาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น นายวราวุธ ศิลปอาชา ส.ส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย และนายอภิวัฒน์ เงินหมื่น ส.ส.อำนาจเจริญ พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อร่วมกันหาทางป้องกันแก้ไขปัญหา

ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า

ได้รับรายงานแล้วแต่ยังไม่เห็นภาพ ยังนึกสงสัยอยู่ว่าทำไมเขาไม่เอารูปกะโหลกใส่เข้าไป ทำไมต้องเอารูปตัวเงินตัวทองมาใส่ แต่ในฐานะที่เราเป็น ส.ส. ก็ต้องคิดว่า เป็นตัวแทนของชาวบ้านก็ต้องถูกตรวจสอบได้ เมื่อถามว่าจะให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหาคนทำหรือไม่ นายชัยตอบว่า ถ้าจะกรุณาก็ยินดี แต่สำหรับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ มันเป็นไปตามธรรมชาติ ดวงเมืองมาอย่างนี้มันก็ต้องเป็นไปอย่างนี้   

ส่วน นายมั่น พัทธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า

จากที่ได้รับทราบว่า มีคนนำตัวเงินตัวทอง ไปโพสต์บนหน้าของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร บนเว็บไซต์ของรัฐสภานั้น ได้สั่งดำเนินการลบภาพดังกล่าวทิ้งทันที โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้เจ้าหน้าที่มารายงานผลให้ทราบในวันเดียวกันนี้ ขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทีก็ได้ติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก   



หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: LightHouse ที่ กรกฎาคม 10, 2008, 04:06:29 PM
รัฐสามานย์ กวนสัญญาณมือถือที่ชุมนุม, dtac เร่งแก้ไข-แจง กทช.  

 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2551 16:17 น.  
 
 
       ผู้จัดการออนไลน์ – พันธมิตรฯ ร้อง รัฐบาลใช้แผนสกปรกกวนการชุมนุม กวนคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือ บริเวณที่ชุมนุม ถ.ราชดำเนินนอก ดีแทคร้อนใจรีบแจงไม่ได้มีปัญหาที่เครือข่าย แต่เกิดจากการส่งสัญญาณแทรกจากภายนอก พร้อมเร่งแก้ไขและชี้แจง กทช.
       
       หลังจากที่ช่วงค่ำวานนี้ (9 ก.ค.) นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ขึ้นเวทีระบุว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาตั้งแต่มีการย้ายจุดชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรจากหน้าทำเนียบรัฐบาลกลับมายังบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถ.ราชดำเนินนอก ได้มีผู้ชุมนุมแจ้งเข้ามาว่าสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของค่ายดีแทคประสบปัญหาในการใช้งาน โดยหน้าจอโทรศัพท์จะระบุเป็นระยะๆ ว่า “ไม่มีช่องสัญญาณ”
       
       ทั้งนี้เมื่อเจ้าหน้าที่ของพันธมิตรฯ ได้ติดต่อสอบถามไปยังศูนย์บริการของโทรศัพท์ดีแทคก็พบว่า ปัญหามิได้เกิดจากกรณีคลื่นสัญญาณเต็ม แต่เกิดการรบกวนคลื่นสัญญาณในบริเวณที่ชุมนุมและทางบริษัทกำลังเร่งแก้ไขอยู่
       
       ล่าสุดในวันนี้ (10 ก.ค.) บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทคได้ส่งจดหมายถึงสื่อมวลชนชี้แจงกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องปัญหาสัญญาณของดีแทคบริเวณถนนราชดำเนินนอกว่า
       
       “ที่มีสัญญาณรบกวนใช้การไม่ได้นั้น ดีแทคขอชี้แจงว่าทางบริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ส่งทีมงานเข้าตรวจสอบสัญญาณในบริเวณดังกล่าวทันทีที่ได้รับการร้องเรียน
       
       “จากผลการตรวจสอบของทีมวิศวกรของบริษัท ยืนยันว่าสัญญาณที่ส่งออกจากเครือข่ายของดีแทคนั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งพบว่ามีการส่งสัญญาณแทรกจากภายนอกเข้ามาในระบบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขัดข้องในการใช้งานสำหรับผู้ใช้บริการที่อยู่ในบริเวณนั้น
       
       “ทั้งนี้ บริษัทได้ส่งรถโมบายไปเพิ่มช่องสัญญาณเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนแล้ว และสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะต้องส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งบริษัทได้มีหนังสือรายงานเหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นให้ กทช. ทราบแล้วเช้าวันนี้”
       
       ก่อนหน้านี้มี รายงานจากแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า รัฐบาลได้มีการสั่งการให้ดำเนินการรบกวนคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ในเครือข่ายดีแทค อันเป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้บริการเป็นส่วนใหญ่ บริเวณถนนราชดำเนินนอกจริง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของพันธมิตรได้ให้สัมภาษณ์กับผู้จัดการออนไลน์ว่า ไม่ทราบว่าทางผู้ดำเนินการรบกวนสัญญาณนั้นมีจุดประสงค์ใด เพราะไม่เห็นว่าการรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับฝ่ายใดทั้งสิ้น
       
       ก่อนหน้านี้ ในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณเชิงสะพานมัฆวานฯ หน้าสหประชาชาติ ช่วงเดือน มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เคยใช้วิธีมิชอบรบกวนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มาแล้ว ด้วยการใช้ลำโพงเปิดเสียงเพลงและประกาศ เสียงดังและแหลมผิดปกติหันเข้าสู่ที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ จนทำให้ กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเข้าร้องเรียนต่อศาลปกครอง
 


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: Aekpat ที่ กรกฎาคม 13, 2008, 11:23:33 AM
อยากให้เรากลับไปอ่านคำปราศรัยของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เหลือเกิน ท่านกล่าวไว้อย่างชายชาติทหาร ในตอนหนึ่งอย่างมีความหวังว่า ในภายภาคหน้าเราจะเอาปราสาท(เขา)พระวิหารคืนกลับมา และอีกตอนหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า เราเสียปราสาท(เขา)พระวิหารไปนั้นเป็นเพราะอุปเท่ห์เล่ห์กลของบางฝ่าย
ถ้าท่านเป็นคนไทยโดยสายเลือด ท่านจะรู้สึกอย่างไร...
คำว่า ฝ่ายที่ช่วยเหลือกัมพูชา คือใคร
ฝรั่งเศส ไง เจ้าอาณานิคมเก่าของเขมร ชาตินี้ต้องการทำทุกอย่างเพื่อให้ชาติตนได้เปรียบ สร้างความน่าเชื่อถือ
ท่านจอมพลสฤษดิ์ ท่านกล่าวไว้ดังนี้
“พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตที่รักของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกว่า ศาลโลก ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2505 ให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และทางรัฐบาลได้ออกแถลงให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบเป็นลำดับนั้น
รัฐบาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะตัวของข้าพเจ้า ถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผลได้ผลเสียของชาติ อันเป็นเรื่องของแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้มา อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้ และตกทอดมาถึงรุ่นเรา

เนื่องจากในคำปราศรัยนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกและหัวใจแล้ว คนไทยผู้รักชาติทุกคน มีความเศร้าสลดและมีความข่มขืนใจเพียงใด แสดงออกถึงของประชาชนในการเดินขบวนทั่วประเทศ เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่อย่างชัดเจนแล้ว

ทั้งนี้ มิใช่ว่าพวกเราจะนั่งนิ่งเฉยหรือท้อแท้ใจ ชาติไทยยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้ เราเคยสูญเสียดินแดน แก่ประเทศมหาอำนาจ ที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง หากบรรพบุรุษของเรายอมท้อแท้ เราจะเอาแผ่นดินที่ไหน มาอยู่กันได้จนถึงทุกวันนี้ เราจะต้องหาวิธีการสู้ต่อไป

สำหรับกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอทบทวนเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลาย ว่า รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ไม่ได้เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลก ทั้งในข้อเท็จจริงกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม

เมื่อเป็นดังนี้ แม้นรัฐบาลและปวงชนชาวไทย จะได้มีความรู้สึกสลดใจและข่มขืนเพียงใด ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฎบัตรสหประชาชาติ กล่าวคือ ต้องยอมให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร ตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ แต่รัฐบาลขอตั้งประท้วงและขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้ เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินทางกฎหมายที่จำเป็น ซึ่งอาจจะมีขึ้นในภายภาคหน้า ให้กรรมสิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันสมควร

พี่น้องทั้งหลายคงทราบดีว่า ชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไป เนื่องจากเขาพระวิหาร อีกสิบปีอีกกี่ร้อยปี เราก็สามารถสร้างเกียรติภูมิคราวนี้กลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าทราบว่า การสูญเสียปราสาทเขาพระวิหารครั้งนี้ เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจของคนไทยทั้งชาติ

ฉะนั้น แม้นว่า กัมพูชาจะได้ปราสาทเขาพระวิหารนี้ไป ก็คงไปได้แค่ซากปรักหักพัง และแผ่นดินเฉพาะรองรับเขาพระวิหารเท่านั้น วิญญาณของปราสาทเขาพระวิหารยังคงอยู่กับคนไทยตลอดไป ประชาชนชาวไทยจะระลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทเขาพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไป ด้วยอุปเล่ห์เพทุบาย คนที่ไม่มีเกียรติและไม่รับผิดชอบ ไม่รักความเป็นธรรม เมื่อประเทศไทยเราประพฤติปฏิบัติดีในสังคมโลก อันเป็นที่มีศีลธรรม มีสัตย์ ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทเขาพระวิหารจะต้องกลับมาสู่ดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์เกี่ยวกับเขาพระวิหารครั้งนี้ สลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน และเป็นรอยจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไปตลอด เสมือนแผลที่อยู่ในใจของคนไทยทั้งชาติ แต่ข้าพเจ้าหวังอยู่เสมอว่า ในที่สุด ธรรมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะที่หลังย่อมดังกว่า และนานกว่า

พี่น้องร่วมชาติทุกท่าน ได้โปรดวางใจรัฐบาลซึ่งข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้ จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวสู่อนาคตอันสุกใสให้ได้ และข้าพเจ้ารับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า เมื่อถึงคราวที่ชาติคับขันแล้ว ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องประชาชนชาวไทย เอาเลือดทาแผ่นดิน ไม่เสียดายชีวิตแม้แต่นิดเดียว แต่เราจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเองมีความเจ็บช้ำน้ำใจไม่น้อยไปกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย
การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า การมาพูดกับท่านด้วยน้ำตา น้ำตาของข้าพเจ้า เป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคับแค้น และการผูกใจเจ็บชั่วชีวิตชาตินี้และชาติหน้า ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย
ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญาณด้วยสัตย์วาจาดังนี้ พี่น้องที่รักชาติทั้งหลาย น้ำตาไม่อาจทำให้เราฉลาดขึ้น แต่เราจะต้องได้อะไรคืนมา ในขั้นสุดท้ายชาติไทยจะต้องประสบกับชัยชนะเสมอ เราต้องกล้าสู้ เราต้องกล้ายิ้มรับภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบริวารพุทธศาสนา ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมตลอดมา
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่า ชาติของเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องใหญ่ทั้งหลาย มีความสำคัญมากกว่านี้ ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาไปในสู่วิถีทางที่ดีขึ้น เหตุนี้ไม่ใช่เหตุผลความอับจนของเรา จงหวังและทำในเรื่องชาติที่สำคัญกว่านี้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเหลือเกินว่า ชาติไทยของเรามีอนาคตแจ่มใสและรุ่งโรจน์อย่างแน่นอนและมั่นคงในอนาคตอันใกล้ นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเราต่อไป
พี่น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย วันนี้เป็นวันหนึ่งและเป็นในวันข้างหน้า เราจะต้องเอาปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมา ให้เป็นของชาติไทยให้จงได้ สวัสดี”

***พี่น้องที่เคารพโปรดจงจำไว้ว่า ขอม ไม่ใช่ เขมร
** เราเสียเขาพระวิหารไปสมัยท่านจอมพลสฤษดิ์ ท่านยังถึงแก่อนิจกรรม โดยการถูกปองร้ายเลย นับประสาอะไรกับอดีต รมต.ต่างประเทศ ชื่อ นายสัปดน ปากกะม๋า หรือ บักเหล่ จะไม่ได้ตายดี


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: slender piggy ที่ กรกฎาคม 15, 2008, 12:26:37 AM
ไป.....ไปสู้กัน 8)


หัวข้อ: Re: เพลง "เราสู้" และการปกป้องสถาบัน!!
เริ่มหัวข้อโดย: BlackCap ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 10:13:33 PM
“สุทิน วรรณบวร” คู่ปรับ นายกฯหอกหัก


(http://pics.manager.co.th/Images/551000009492802.JPEG)

โดย ผู้จัดการรายวัน 28 กรกฎาคม 2551 10:17 น.  

เขาคือนักข่าวรุ่นเก๋าคู่ปรับตลอดกาลของ‘สมัคร สุนทรเวช’ ตั้งแต่ครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 จนกระทั่งลมเพลมพัดส่งนายสมัครขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ยังมีการเผชิญหน้าอย่างท้าทาย ตามแบบลูกผู้ชายที่ชื่อ ‘สุทิน วรรณบวร’ ยิ่งกว่านั้นการปะทะคารมของคนทั้งคู่ยังนำไปสู่ที่มาของฉายา ‘นายกฯ หอกหัก’
       
       การตั้งคำถามแบบถึงลูกถึงคนซึ่งทำให้นักการเมืองใหญ่และนายทหารหลายคนไม่พอใจดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวีรกรรมเสี่ยงตายเมื่อครั้งเข้าไปทำข่าวกลุ่มกองกำลังต่างๆในช่วงสงครามอินโดจีน หลายครั้งที่แหล่งข่าวถือกระบอกปืนยืนข่มขู่ให้เขางดเสนอข่าว แต่เขาก็ยืนกราน ปฏิเสธ พร้อมทั้งยืนยันว่านี่คือการทำหน้าที่ของ ‘สื่อมวลชน’ ที่ต้องนำเสนอความจริง มิใช่ซุกกายแอบอิงอยู่ใต้ร่มเงาผู้มีอำนาจ
       
       ในยุคที่สื่อมวลชนไทยส่วนใหญ่ตีค่าตนเองให้เป็นเพียงกระบอกเสียงของผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจทางการเงิน แต่นักข่าวผู้นี้กลับยืนหยัดอหังการกับการทำหน้าที่‘สื่อ’ที่ถือว่าการเปิดโปงความจริงคือสิ่งที่ต้องยึดถือสำหรับสื่อมวลชน ตลอดระยะเวลา 30 ปีในการทำงานเขาผ่านมาทั้งดงระเบิด ควันโขมงจากปลายกระบอกปืน การข่มขู่คุกคามของผู้มีอำนาจ รวมถึงบรรยากาศตึงเครียดขณะปะทะคารมกับนักการเมืองระดับประเทศ แต่เขาก็หาได้ยี่หระ
       
       ณ วันนี้ ‘สุทิน วรรณบวร’ แห่งสำนักข่าวเอพี ยังคงมุ่งมั่นกับการทำหน้าที่‘คนข่าว’ ที่พร้อมจะเดินหน้าท้าชนเพื่อค้นหาความจริง และบอกกล่าวให้ผู้คนได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้
       
       30 ปีที่หยัดยืน
       
       สุทินเริ่มชีวิตการทำข่าวเมื่อ 30 ปีที่แล้วกับสำนักข่าวยูพีไอ (UPI- United Press International) ในช่วงที่สงครามอินโดจีนกำลังคุกรุ่น เขาจึงถูกส่งตัวไปคลุกคลีหาข่าวตามตะเข็บชายแดน และหลายครั้งที่ข้ามฝั่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อติดตามสถานการณ์การสู้รบ จึงนับเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายมากที่สุด หลายครั้งที่ถูกฝ่ายรัฐบาลและนายทหารคุกคามห้ามเสนอข่าว เขาและช่างภาพเคยถูกทหารเวียดนามกักตัวเพื่อต่อรองให้มอบฟิล์มที่บันทึกภาพกองกำลังเวียดนามที่ซ่องสุมอยู่ในกัมพูชา ชื่อของสุทินจึงเป็นที่รู้จักของกลุ่มกองกำลังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเขมร 3 ฝ่าย , โจรจีนมลายู , กลุ่มพูโล , กองกำลังแบ่งแยกดินแดนในพม่า ไปจนถึง‘ขุนส่า’ราชายาเสพติด
       
       “ ผมทำข่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศมาตลอด ที่แรกคือสำนักข่าวยูพีไอซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่สนุกและตื่นเต้นที่สุดเพราะกำลังเกิดสงครามอินโดจีน การต่อสู้ตามแนวชายแดนกำลังคุกรุ่นทั่วทั้งเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย รวมทั้งตามแนวชายแดนในประเทศไทยด้วย เราได้เข้าไปอยู่กับกองโจรเขมรแดง บางทีก็ลงไปอยู่กับกองโจรจีนมลายา เข้าไปอยู่กับเขา 7-8 วัน บางทีก็เป็นเดือน แล้วไม่ใช่ว่าเราแอบเข้าไปทำข่าวนะ แต่เขาเชิญเราเข้าไป คือสงครามยุคใหม่ในช่วงหลังจากสงครามเย็นมันไม่ใช่สงครามที่ต่อสู้กันด้วยอาวุธหรือสู้กันในสนามรบอย่างเดียว แต่มันต่อสู้กันด้วยสงครามข่าวสารด้วย
       
       การเผยแพร่ข่าวสารออกไปจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ให้เงินสนับสนุนเขา สมมติว่ากองกำลังเขมรแดงเข้ายึดหมู่บ้านหนึ่งได้ก็ไม่มีใครรู้ แต่ถ้าเขาพาผู้สื่อข่าวเข้าไป ไปเห็นว่าเขายึดได้จริง มีการถล่มหมู่บ้าน มีผู้อพยพ ข่าวนั้นเมื่อเผยแพร่ผ่านสำนักข่าวต่างประเทศ ข่าวมันก็จะออกไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น จีน อาเซียน หรือประเทศในแถบตะวันตก มันเป็นอำนาจการต่อรองทางการเมืองเวลาเจรจาตกลงสันติภาพกัน อย่างขุนส่าซึ่งเป็นราชายาเสพติด ช่วงที่ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกหมายจับ ตั้งค่าหัวถึง 2 ล้านดอลล่าร์ ตลาดการค้าของขุนส่าก็ปั่นป่วนไปหมด เขาก็ให้นักข่าวเข้าไปทำข่าว ไปถ่ายโรงงานของเขา พอข่าวออกไปลูกค้าก็มั่นใจว่าขุนส่ายังมีชีวิตอยู่ ยังมีเพาเวอร์ (หัวเราะ) คือกลุ่มที่เป็นกองโจร พวกนักปฏิวัติ หรือผู้ก่อการร้ายระดับสากล ระดับโลก เขาจะรู้วิธีติดต่อสื่อ คนที่เป็นมือเป็นไม้ของผู้ก่อการร้ายเนี่ยเขาไม่ได้อยู่ในป่าอย่างที่เราเข้าใจกันหรอก ถ้ารู้แล้วจะแปลกใจว่าโรงแรมใหญ่ๆในไทยบางแห่งเป็นของผู้ก่อการร้าย” สุทิน เล่าถึงเบื้องหลังในการเข้าไปทำข่าวกลุ่มกองกำลังตามแนวชายแดน
       
       วินาทีเสี่ยงตาย
       
       หลายห้วงเวลาที่สุทินและทีมงานต้องท้าทายกับความเป็นความตายที่อยู่ตรงหน้า เพราะแน่นอนว่ามิใช่ทุกข่าวที่แหล่งข่าวเต็มใจให้เผยแพร่ นักข่าวมาดเข้มหยิบยกบางส่วนของช่วงเวลาระทึกขวัญมาเล่าขานให้ฟังว่า
       
       “ มีอยู่ครั้งหนึ่งรัฐบาลทหารกัมพูชาเชิญผมและนักข่าวไทยอีก 2-3 คนไปทำข่าว เพราะเห็นว่าช่วงนั้นมีแต่ข่าวของฝ่ายเขมรแดงออกมา ระหว่างที่นั่งเรือจากตราดไปเกาะกง เรือเราก็ถูกทหารเขมรปล้น รัฐมนตรีกระทรวงข่าวสารที่นั่งมาด้วยเขาก็อาย เขาก็คุยกันเป็นภาษาเขมรว่าตอนนี้มีนักข่าวอยู่ในเรือ ถ้าจะเอาเงิน ค่อยไปเอาบนบก ให้ไปติดต่อที่บ้านผู้ว่าฯ (หัวเราะขำ) ทหารที่มาปล้นมันก็โมโห ยิงปืนลงน้ำชุดใหญ่ พอเห็นทหารยิงปืนพวกรัฐมนตรีก็รีบโยนกระเป๋าสตางค์ โยนของมีค่าลงในเรือ พอเรือของทหารพวกนี้ออกไปผู้ว่าฯเกาะกงซึ่งแกพูดภาษาไทยได้แกก็บอกว่า...คุณสุทิน นี่มันเป็นพวกทหารนอกแถวนะ อย่าถือเป็นสาระ อย่าเอาไปลงข่าวเลยนะ ผมก็บอกว่า..ผู้ว่าฯครับ ตั้งแต่เรามากัน 8 ชั่วโมงเนี่ย นี่เป็นข่าวชิ้นเดียวที่ผมรายงานได้ ผมก็รายงานไป ปรากฏว่าเขาโกรธผมใหญ่ แล้วก็ทิ้งผมกับช่างภาพไว้ที่แซมปึน
       
       พอเราถูกทิ้งด้วยสัญชาตญาณของนักข่าวเราก็หาข่าวทำไปเรื่อย ก็รอว่าวันไหนมีเรือประมงหรือเรือผู้อพยพผ่านมาเราก็จะขออาศัยเขาไปด้วย ก็ไปเจอทหารเขมรคนหนึ่ง พูดภาษาไทยได้ เขาจะรับจ้างพาไปที่ค่ายใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งยืนยันว่ายังมีทหารเวียดนามอยู่ คือตอนนั้นรัฐบาลเขมรเขาประกาศว่าทหารเวียดนาม 250,000 คนที่เข้ามายึดกัมพูชาออกไปหมดแล้ว ไปถึงช่างภาพก็ถ่ายรูปรถถัง อาวุธยุทโธปกรณ์ เราก็ได้คุยกับทหารที่พอพูดภาษาอังกฤษได้ ก็ได้เค้าว่ากองทัพเวียดนามยังอยู่ เราคุยไปสักพักหนึ่งได้ ก็มีทหารซึ่งเราเข้าใจว่าน่าจะเป็นทหารเวียดนามาเชิญไปคุยที่สำนักงานในค่าย เขาก็บอกว่าผมจำเป็นต้องขอฟิล์มคุณนะ เราก็ไม่ให้ คุยไปสักพักบรรยากาศเริ่มเครียดแล้ว ก็เจรจาต่อรองกัน เขาก็บอกว่าถ้าไม่ให้ฟิล์มเขาก็จำเป็นต้องกักตัวเรา ไม่รู้ยังไงอยู่ๆช่างภาพก็ยอมให้ฟิล์ม แต่ผมไม่รู้ว่าช่างภาพเขาสลับฟิล์มเก็บไว้ก่อนแล้ว (หัวเราะ) ผมเองก็แอบอัดเทปตอนที่คุยกันเอาไว้ พอกลับมาถึงที่พักช่างภาพก็บอกว่า พี่...ยังไงวันนี้ก็ต้องออกไปจากที่นี่ให้ได้ เพราะผมแอบเปลี่ยนฟิล์ม เดี๋ยวทหารมันไปเปิดดูล่ะตายเลย(หัวเราะร่วน) คือเราก็รู้ว่ามันอันตรายนะ แต่อะไรที่เป็นข่าวก็ต้องนำเสนอ ซึ่งสิ่งนี้ต้องมีอยู่ในสื่อทุกคน” สุทินพูดถึงปรัชญาในการทำงานที่เขายังคงยึดมั่นมาถึงทุกวันนี้
       
       ที่มาของฉายา‘นายกฯ หอกหัก’
       
       สุทินทำข่าวอยู่ที่สำนักข่าวยูพีไอได้ 12 ปีก็ย้ายไปสังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์(Reuters) และล่าสุดเขามีสถานะเป็นผู้สื่อข่าวประจำสำนักข่าวเอพี(AP- The Associated Press) โดยข่าวที่เขานำเสนอนั้นเป็นข่าวระดับมหภาค ทั้งข่าวสงคราม เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม สุทินในวัย 59 ปี ยังคงเส้นคงวากับสไตล์การทำข่าวแบบถึงลูกถึงคนชนิดยอมหักไม่ยอมงอ เขากล้าที่จะต่อกรกับแหล่งข่าวระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นนายทหาร นักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพลในสังคม และหนึ่งในนักการเมืองที่เข่นเคี่ยวและปะทะคมรมกันมาหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเรียกว่าเป็นคู่ปรับกันก็ว่าได้ก็คือ ‘นายสมัคร สุนทรเวช’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของไทยนั่นเอง ว่ากันว่าการปะทะคารมระหว่างนักข่าวหัวแข็งกับนักการเมืองฝีปากกล้ากลายเป็นที่มาของฉายา ‘นายกฯ หอกหัก’ ที่นายสมัครถูกเรียกขานมาถึงทุกวันนี้
       
       “ จริงๆแล้วผมเคยปะทะคารมกับคุณสมัครมาตั้งแต่ผมยังไม่ได้เป็นนักข่าว แต่เขาจำผมไม่ได้ ผมเจอคุณสมัครครั้งแรกที่สนามเสือป่า ตอนนั้นประมาณปี 2519 คุณสมัครไปพูดว่าคนตรังไปรู้เลือก ส.ส.มายังไง ส.ส.เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่ง ส.ส.ที่คุณสมัครพูดถึงตอนนั้นก็คือคุณชวน หลีกภัย ทีนี้เขาก็ไปปลุกระดมว่าทั้งประเทศเขามีลูกเสือชาวบ้านกันแล้วแต่จังหวัดตรังไม่มี ผมเองเป็นคนจังหวัดตรัง ก็เลยเกิดการปะทะระหว่างผมกับคุณสมัคร ผมก็ยืนยันว่าจังหวัดตรังมีลูกเสือชาวบ้าน ส่วนเขาจะเลือก ส.ส.มายังไงนั้นถือเป็นวิจารณญาณของเขาที่เขาเห็นว่าเป็นคนดี ไม่ใช่คนเลวทรามบัดซบอย่างนี้ จากนั้นก็มีการเผชิญหน้าและถกเถียงกันมาตลอด
       
       ครั้งที่ 2 คือหลังเหตุนองเลือดช่วงพฤษภาทมิฬ ปี 2535 นักข่าวก็ไปดักสัมภาษณ์คุณสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ว่าจะรับผิดชอบอย่างไร คุณสุจินดามาถึงทำเนียบฯแกเห็นนักข่าวเยอะ แกก็เผ่นแน่บไปเลย นักข่าวก็วิ่งไปดัก คุณสมัครซึ่งเป็นรองนายกฯก็วิ่งมาขวางแล้วบอกว่าจะแถลงข่าวเอง ผมก็ถามว่าคุณสมัครเมื่อเกิดเหตุนองเลือดขึ้นแล้วเนี่ย พรรคประชากรไทยของคุณจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลไหม แกก็บอกว่า เออ..ทีจอร์จบุชมันฆ่าคนในเหตุจลาจลในอเมริกาไม่เห็นมีใครว่าอะไรเลย ผมก็บอกว่ามันคนละเรื่องกัน ผมถามว่าคุณจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลไหม แกก็เห็นนักข่าวฝรั่งเยอะแกก็บอกให้ฝรั่งถามบ้าง ปีเตอร์ซึ่งเป็นนักข่าวฝรั่งเขาก็บอกว่าผมก็จะถามเหมือนที่คุณสุทินถามน่ะแหล่ะ ผมก็ถามย้ำว่าจะถอนตัวหรือเปล่า แกหันขวับมาบอกว่าคุณหุบปากได้แล้ว ผมก็เลยสวนไปว่ามึงก็หุบปากสิวะ แกก็บอกว่าถ้างั้นคุณมาถามผมทำหอกอะไร ผมก็บอกว่าแล้วคุณมาเป็นรองนายกทำส้น....อะไร เท่านั้นแหล่ะวงแตกเลย ตอนนี้พอแกมาเป็นนายกฯก็เลยมีคนตั้งฉายาแกว่า ‘นายกฯหอกหัก’ (หัวเราะขำ)
       
       ล่าสุดก็เถียงกันอีกตอนแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผมก็ถามคุณสมัครว่าทุกพรรคยืนยันหรือเปล่าว่าจะเลือกคุณสมัครเป็นนายกฯ แกก็บอกว่าเป็นคำถามที่ไม่น่าถาม ผมก็บอกว่าการจัดตั้งรัฐบาลถ้าไม่ให้ถามเรื่องบุคคลที่จะมาเป็นนายกฯแล้วจะให้ถามเรื่องอะไร หรือทุกคนอายที่จะให้คุณสมัครเป็นนายกฯถึงไม่ให้ถาม นักข่าวคนอื่นเขาก็ถามทำนองเดียวกันว่าพรรคร่วมรัฐบาลยอมรับในคุณสมบัติของคุณสมัครหรือเปล่า แกก็โมโหใหญ่ สุดท้ายก็ยกเลิกการแถลงข่าว (หัวเราะ)” สุทินเล่าถึงการปะทะคารมระหว่างเขาและนายสมัคร
       
       สาวไส้สื่อ
       
       สุทินยังแสดงความวิตกต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันว่า สิ่งที่น่าห่วงคือสื่อส่วนใหญ่มักนำเสนอข่าวเข้าข้างผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมือง อำนาจการทหาร หรืออำนาจทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังนำมาสู่ ‘วิกฤตสื่อ’ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายสังคมไทย
       
       “นักข่าวส่วนใหญ่ไม่กล้าถามคำที่รู้ว่าถามแล้วนักการเมืองจะไม่พอใจ ทั้งๆที่มันเป็นสิ่งที่สังคมควรรู้ รวมถึงไม่กล้าเสนอข่าวที่เป็นลบต่อนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจด้วย ที่น่าเศร้าคือนักข่าวที่ว่าเนี่ยล้วนแต่เป็นนักข่าวอาวุโส ซึ่งแนวคิดแบบนี้มันเป็นสิ่งที่สั่งสมมานานจนกลายเป็นวัฒนธรรม เท่าที่เห็นนักข่าวใหม่ๆหลายคนก็พยายามลุกขึ้นมาต่อสู้ แต่ว่าถูกกดดันจากนักข่าวระดับเจ๊ ระดับ 18 อรหันต์ ซึ่งมักแสดงความไม่พอใจนักข่าวรุ่นน้องที่ถามคำถามที่นักการเมืองขัดเคืองใจ
       
       อย่างตอนที่มีปัญหาเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ สุทิน คลังแสง พากลุ่ม นปก.เข้าไปแถลงข่าวในรัฐสภา และมีการถ่ายรูปนักข่าวในลักษณะข่มขู่คุกคาม นักข่าวก็ไม่พอใจ คุณเหวง โตจิราการ ก็บอกว่าเอาล่ะ เรื่องนี้ขอกันกินมากกว่า ก็มีนักข่าวรุ่นใหม่ๆเขาย้อนมาว่าใครไปขอคุณกิน แสดงให้เห็นว่านักข่าวเริ่มลุกขึ้นมาสู้ แต่การสู้ของเขาไม่สามารถทัดทานกับนักข่าวระดับบนที่มีอำนาจตัดสินใจในการนำเสนอข่าว แม้นักข่าวในพื้นที่จะรายงานว่าบนเวทีพันธมิตรฯ มีการแฉเรื่องการทุจริตของนักการเมืองในรัฐบาลนี้ แต่บรรณาธิการข่าวไม่เอาข่าวนี้มาออกอากาศ กลับเสนอแต่ข่าวเชิงบวกของรัฐบาล ตอนนี้มันจึงเกิดปรากฏการณ์สื่อทำร้ายสังคม ซึ่งตรงนี้นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง” สุทินกล่าวตบท้ายด้วยน้ำเสียงที่หดหู่
       
       * * * * * * * * * * *
       
       เรื่อง - จินดาวรรณ สิ่งคงสิน