ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤษภาคม 05, 2024, 01:10:39 AM
อุปกรณ์เดินทาง [ ปี 1- 5 ]

+  TRIP & TREK โลกกว้างของคนเดินทาง
|-+  กระดานข่าวสีเขียว
| |-+  อุปกรณ์เดินทาง (ผู้ดูแล: LightHouse)
| | |-+  คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ  (อ่าน 18710 ครั้ง)
คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« เมื่อ: ตุลาคม 11, 2011, 01:03:19 PM »

12 สิ่งของจำเป็นพื้นฐาน เพื่อเอาชีวิตรอด



1. อาหารกระป๋องที่สามารถเปิดฝารับประทานได้เลยกรณีที่ไม่มีไฟและแก๊ส

2. ยารักษาโรค อุปกรณ์ทำแผลเพื่อใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากบาดเจ็บ

3. น้ำสะอาดสำหรับดื่มที่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัว

4. ไม้ขีดหรือไฟแช็คสำหรับจุดไฟ

5. นกหวีดใช้เป่าขอความช่วยเหลือ หากเราบาดเจ็บและติดอยู่ในพื้นที่อันตราย

6. เสื้อชูชีพ เผื่อไว้ใช้ในกรณีที่น้ำท่วมสูง บางพื้นที่อาจใช้เรือยางในการอพยพด้วยคงต้องดูตามความเหมาะสม

7. เชือกสำหรับผูก มัดสิ่งต่างๆ หรือใช้สำหรับคล้องตัวเพื่อป้องกันน้ำพัดพา

8. ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน และแบเตอรี่อื่นๆ

9. มีดพับอเนกประสงค์ สำหรับตัดเชือกหรือกิ่งไม้เล็กๆ

10. วิทยุ เพื่อใช้ฟังการรายงานข่าวเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ

11. กระจก 1 บาน สำหรับใช้สะท้อนแสงแดด เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือระยะไกล

12. เข็มทิศ เพื่อดูทิศทางระหว่างการอพยพ หากกรณีน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก เส้นทางสัญจรเดิมถูกทำลาย ทำให้สับสนเรื่องทิศทางได้



เปิดปัจจัย 4 'ถุงยังชีพ'
http://www.tripandtrek.com/tntboard/index.php?topic=1933.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 12:48:43 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2011, 01:15:59 PM »

ข้อแนะนำสำหรับการวางแนวกระสอบทรายป้องกันน้ำ



 1. กระสอบทรายควรวางเป็นขั้นบันไดเรียงลำดับลงไปทั้งด้านนอกและด้านในเท่ากับความสูงของน้ำที่คาดการณ์เอาไว้ โดยฐานทำนบควรกว้างไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความสูง อุดใต้กระสอบทรายด้วยดินหรือทราย วางแต่ละชั้นให้ชั้นบนทับบนรอยต่อระหว่างถุงด้านล่าง ชั้นรองสุดท้ายควรวางทับบนแผ่นพลาสติกแล้วพลิกมาหุ้มปิดทับกระสอบทายอีกชั้นหนึ่งให้สูงเกือบถึงสันทำนบเพื่อกันน้ำซึม (อย่าขึงตึงจะทำให้ขาดง่าย) ดังนั้นหากมีแผ่นพลาสติกกันน้ำคลุมแน่นหนาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้กระสอบทรายเสมอไป สามารถใช้วัสดุประยุกต์ ที่มีน้ำหนักแทนได้เช่น กระสอบกรวดอัดแน่น ฯลฯ



แสดงตัวอย่างการเรียงกระสอบทรายปิดทับด้วนแผ่นพลาสติกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 09:59:51 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 01:05:43 PM »

รับมือสถานการณ์ “ไฟดูด” ความเสี่ยงที่มากับ “น้ำท่วม”

จากมหาอุทกภัยที่กำลังถล่มประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมหาศาล มีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่น้อย และอีกมากมายที่จำต้องทิ้งบ้านเอาไว้จมบาดาล ออกจากพื้นที่มาอยู่ในศูนย์พักพิงที่เปิดขึ้นจากน้ำใจคนไทยเพื่อซับน้ำตาคนไทยด้วยกันที่มีอยู่หลายแห่ง และนอกจากการจมน้ำเสียชีวิตแล้ว สาเหตุหนึ่งที่เป็นข่าวอยู่ในระยะหลังของเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ คือการเสียชีวิตจากการถูกไฟดูด จึงมีทิปเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญและเป็นเคล็ดลับในการที่จะช่วยชีวิตได้จากเหตุการณ์ไฟดูด

       ข้อมูลจากฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า ผู้ที่จะเข้าไปช่วยต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าจะต้องมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ “ห้าม” ใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วยอีกต่อหนึ่ง, หากทำได้ ให้รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊ก หรืออ้าสวิตช์ออกก็ได้ จากนั้นให้ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยาง หรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือเขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย แต่หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเหลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด และประการสำคัญ คือ “อย่า” ลงไปในน้ำกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้น หรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย
       
       หลังจากช่วยออกมาได้แล้ว หากปรากฏว่าผู้เคราะห์ร้ายที่ช่วยออกมานั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นดังนี้ คือ ริมฝีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมาก หรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคลำชีพจรไม่พบ ม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า “เป่าปาก” ร่วมกับการนวดหัวใจก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์

   
       และจากกรณีมีการส่งต่อข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์กสุดฮิตอย่าง “ทวิตเตอร์” กรณีมีความคลาดเคลื่อนจนก่อความสบสนเกี่ยวกับการสับสะพานไฟ (คัตเอาต์) ในพื้นที่น้ำท่วมนั้น จากการสอบถามไปยัง Call Center ของการไฟฟ้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 1129 ได้แจ้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหากต้องการตัดไฟภายในบ้านที่น้ำท่วมว่า
       
       ในกรณีที่มิเตอร์ไม่จมน้ำ แต่น้ำท่วมแล้ว จำเป็นต้องตัดไฟภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย ผู้ทำการตัดไฟต้องสับคัตเอาต์ลง ซึ่งต้องอยู่บนพื้นที่แห้ง ตัวแห้ง หรือหากอยู่บนเรือต้องเป็นเรือพลาสติก หรือเรือไม้เท่านั้น ไม่สามารถตัดไฟเมื่อตัวอยู่บนเรือโลหะได้ เพราะโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ก่อนสัมผัสมิเตอร์ หรือคัตเอาต์ ให้สังเกตว่า ไม่มีสายไฟฟ้าจมน้ำอยู่ จึงจะสับคัตเอาต์ได้ แต่ในกรณีมิเตอร์จมน้ำแล้ว แนะนำให้สับสะพานไฟในบ้านลงทันที ผู้สับต้องอยู่ในที่แห้ง บนเรือที่ไม่นำไฟฟ้า หรือหากมีไม้แห้งหรือสื่อไม่นำไฟฟ้าสามารถใช้เกี่ยวสับสะพานไฟลงได้ก็จะเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น แต่ตัวต้องแห้ง อุปกรณ์เกี่ยวต้องแห้งสนิท และพื้นยืนก็ห้ามมีน้ำหรือความชื้นเด็ดขาด
       
       กรณีที่มิเตอร์จมน้ำและสับคัตเอาต์ลงแล้ว ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือมิเตอร์นั้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่จมน้ำอย่างน้อย 1 เมตร ถือว่าเป็นระยะปลอดภัยที่ต่ำที่สุด เพราะไม่แน่ใจว่ามีกระแสไฟฟ้าค้างไหม แต่ถ้าจะให้ดีต้องห่าง 3 เมตร และถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าต้องการตัดไฟในพื้นที่ชุมชน ต้องให้ผู้นำชุมชนติดต่อมา เป็นตัวแทน การไฟฟ้าไม่สามารถจะตัดบ้านใดบ้านหนึ่งได้ เพราะแม้ตัดเฉพาะบ้านก็ยังมีกระแสไฟฟ้าวิ่งในสายไฟหลัก ถ้าตัดจะกระทบบ้านหลายหลัง บางหลังมีผู้ป่วยที่อาจต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่้ใช้ไฟฟ้า การตัดไฟจึงจำต้องได้รับการยอมรับจากทุกบ้านในชุมชนนั้น และให้ตัวแทนหมู่บ้านเป็นผู้มาร้องขอ สามารถแจ้งตัดไฟ 1129

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    12 ตุลาคม 2554 10:30 น.


ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า โดยการทำ CPR
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 10:00:01 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 06:33:39 PM »

CPFผลิตอาหารสำเร็จรูปช่วยน้ำท่วม


นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟเพิ่มกำลังการผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานในถุงทนความร้อน หรือ รีทอร์ต เพาซ์ (Retort Pouch) สำหรับนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายจังหวัดในขณะนี้อย่างเร่งด่วน นอกเหนือจากที่ทำการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น แคนาดา ฮ่องกง ฯลฯ ในปัจจุบัน

เนื่องจาก ซีพีเอฟตระหนักถึงความลำบากของประชาชนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย จนไม่สามารถดำรงชีวิตตามปกติได้ บางชุมชนไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ และลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะด้านอาหาร เพราะไม่สามารถประกอบอาหารเพื่อการบริโภคได้

ขณะเดียวกัน ก็ยังคงดำเนินความช่วยเหลือในส่วนของการตั้งเต็นท์โรงครัวเพื่อประกอบอาหารสดแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยใน 10 จังหวัด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายต่อไป

สำหรับอาหารพร้อมรับประทานที่ผ่านกระบวนการ Retort หรือ Retort Product เป็นอาหารพร้อมรับประทาน ที่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิปกติ โดยผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อแบบ sterilization คือการทำลายจุลินทรีย์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ที่ได้มาตรฐานคุณภาพการผลิตของซีพีเอฟ เป็นไปตามหลักมาตรฐาน สากล ปลอดภัย สะอาด และไม่ใส่สารกันบูด สินค้าแบบ retort นี้จะบรรจุอาหารในซองอลูมิเนียม ที่มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก ที่สำคัญ สามารถเก็บได้นานถึง 18 เดือน โดยไม่ต้องแช่แข็งหรือแช่เย็น ซึ่งยังคงคุณค่าทางอาหารดังเดิม อาหาร retort จึงสะดวกต่อการบริโภค และไม่เป็นภาระในการปรุงอาหาร เพียงฉีกซองก็สามารถทานได้ดังเช่นอาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ หรือหากจะอุ่นอาหารก็สามารถทำได้ ทั้งด้วยวิธีการต้มโดยนำถุงอาหารลงไปในน้ำเดือด ใช้เวลาประมาณ 6-8 นาที และการอุ่นด้วยไมโครเวฟ ที่ระดับกำลังไฟฟ้า 900 วัตต์ โดยฉีกซองใส่อาหารลงในภาชนะ ใช้เวลาอุ่นประมาณ 2-3 นาที จะได้รสชาติอาหารที่อร่อยยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ ที่ผ่านมาซีพีเอฟได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ retort pouch ให้กับกองทัพภาคที่ 1 เพื่อมอบให้ทหารนำไปรับประทานระหว่างการปฏิบัติภารกิจกู้ซากเฮลิคอปเตอร์ ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นกิจกรรมแรก นอกจากนี้ ยังมอบผ่านกองทัพภาคที่ 1 และกองทัพอากาศ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบอุทกภัยในหลายจังหวัด อาทิ ลพบุรี อ่างทอง และอยุธยา ตลอดจนนำไปมอบให้กับพี่น้องประชาชนด้วยตนเอง โดยชาวซีพีเอฟจิตอาสาที่กระจายลงพื้นที่ประสบภัยอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ซีพีเอฟได้วางแผนแจกจ่ายอาหาร retort pouch ไปยังพื้นที่ห่างไกลจากความช่วยเหลือต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 10:00:09 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 12:09:12 PM »

ส้วมกระดาษพับประกอบได้ของ SCG

“ส้วมกล่อง-ส้วมเก้าอี้” ไอเดียเก๋ๆ ยามฉุกเฉิน
http://www.tripandtrek.com/tntboard/index.php?topic=1921.0


* SCG_11_1.jpg (99.79 KB, 700x495 - ดู 4267 ครั้ง.)

* SCG_11_2.jpg (112.47 KB, 702x935 - ดู 4295 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 10:00:15 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: "ถุงยังชีพประจำบ้าน" เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 01:21:36 PM »

จับรถใส่ถุง! ไอเดียสุดเจิด เด็กวังสะพุง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 ตุลาคม 2554 11:55 น.    
          

       ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมของเมืองไทยยังคงวิกฤตต่อเนื่อง ภาพความเสียหายมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ยิ่งบ้านไหนมีรถยนต์แล้วขนย้ายไม่ทัน ก็จำต้องทิ้งรถไว้ให้จมน้ำตามยถากรรม แต่ตอนนี้มีทางแก้ไขใหม่สำหรับคนที่มีรถยนต์กับ "ถุงซิป กันน้ำท่วมรถ" ใครที่ยังพอมีเวลา น้ำยังมาไม่ถึงหน้าบ้าน ก็ลองนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำที่อาจจะมาถึงกรุงเทพฯ อีกไม่นานนี้
       
       ในหลายพื้นที่ต้องประสบกับน้ำท่วมสูงจนมิดหลังคารถยนต์ ทำให้เครื่องยนต์และห้องโดยสารรถยนต์พังเสียหาย ทำให้เจ้าของรถต้องจ่ายเงินค่าซ่อมไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ดังนั้น ถุงซิป กันน้ำท่วมรถ จึงเป็นทางเลือกที่ดีในเวลานี้ ซึ่งผลงานนี้เป็นของกลุ่มนักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง จังหวัดเลย พวกเขาได้ทำถุงพลาสติกนี้ขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า "ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์" (IDEA cover car) สามารถใช้คลุมรถที่จมอยู่ใต้น้ำได้ปลอดภัย 100%
       
       นายสันติประชา ดอนชุม อาจารย์ประจำแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตร่วมกับนักศึกษา กล่าวว่า ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์ ทำจากวัสดุโพลิเมอร์เอสทีลิน ซึ่งเป็นพลาสติกหนาสามารถกันน้ำได้ มีการออกแบบและตัดเย็บได้ตามขนาดของรถแต่ละชนิด มีซิบกันน้ำสำหรับเปิดเป็นช่องเพื่อขับรถเข้าไปเก็บในถุง รถยนต์จะวิ่งเข้าไปจอดอยู่ด้านในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ที่มีความหนาและทนทาน ก่อนที่จะรูดซิปยาวครอบทั้งคันรถ เหมือนกับการสวมถุงพลาสติกสิ่งของ

       "สำหรับต้นทุนในการผลิตถุงไอเดียฯ ขนาดใส่รถยนต์กระบะ 1 คัน อยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท จากการทดลองได้นำรถยนต์เข้าไปไว้ในถุงแล้วปิดให้สนิท จากนั้นนำลงไปแช่ในน้ำทั้งคันเป็นเวลานาน 1-2 วัน ปรากฏว่าไม่มีน้ำซึมเข้าไปภายในถุงได้ ทำให้รถปลอดภัยจากน้ำท่วม ทางทีมของเราและทาง สอศ.ได้มีการจดสิทธิบัตร "ถุงไอเดีย คอปเวอร์ คาร์" ไว้แล้ว พร้อมทั้งเตรียมที่จะพัฒนารูปลักษณ์ และการหาวัสดุคุณภาพดีมาใช้ผลิตถุงไอเดียฯ ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วย"

       
       อาจารย์แผนกอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวย้ำว่า มั่นใจว่าผลงานชิ้นนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ในช่วงเวลาคับขันที่เกิดปัญหาน้ำท่วมได้มาก เพราะถุงพลาสติกสามารถป้องกันน้ำเข้ารถ ไม่ให้รถยนต์เสียหายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะผลิตมาจากพลาสติกอย่างหนาและยังสามารถพับเก็บไว้ใช้งานได้ในคราวต่อไปได้อีกด้วย
บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2011, 12:27:05 AM »

“ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 10:00:26 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2011, 12:36:34 AM »

ทำเสื้อชูชีพด้วยตัวเอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2011, 10:00:32 PM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 08:18:04 PM »

“จัดหนัก” ชักชวนทำถุงพลาสติกชีวภาพไว้ “อึ” ช่วงน้ำท่วม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 ตุลาคม 2554 16:06 น.    
   
      
การถ่ายหนักในช่วงน้ำท่วมเป็นอีกความลำบากของผู้ประสบอุทกภัย แม้ว่า “สุขาฉุกเฉิน” จากถุงดำจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาแก่ผู้เดือดร้อนได้ แต่ในยามน้ำลดแล้วจะเหลือขยะปฏิกูลปริมาณมหาศาลที่จัดการยาก และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแฟนเพจ “ถุงจัดหนัก” ที่ส่งเสริมให้ใช้ “ถุงพลาสติกชีวภาพ” แทน พร้อมทั้งชักชวนให้โรงงานที่มีศักยภาพมาร่วมทำบุญด้วยการผลิตถุงบริจาค
       
       แฟนเพจ “ถุงจัดหนัก” ในเฟซบุ๊ก เป็นโครงการที่ชักชวนชาวเครือข่ายสังคมออนไลน์รวมพลังสนับสนุนให้มีการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพเพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งทางเพจได้ออกแบบถุงพลาสติกชีวภาพที่สามารถใช้ระหว่างถ่ายหนักได้ โดยไม่ต้องอาศัยเก้าอี้พลาสติกหรือสวมฉุกเฉินที่ต้องใช้ “ถุงดำ” รองรับของเสียจากร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการผลิตถุงพลาสติกดังกล่าวบริจาคสามารถนำแบบจากแฟนเพจไปใช้ได้โดยไม่สงวนสิทธิ
       
       อนุรักษ์ สุชาติ นักออกแบบผู้ชื่อเสียง และหนึ่งในผู้ก่อตั้งแฟนเพจให้สัมภาษณ์แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ถึงแนวคิดในการก่อตั้งแฟนเพจว่า ได้เห็นสหประชาชาตินำถุงลักษณะดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาห้องน้ำในแอฟริกา ซึ่งประชาชนขับถ่ายทิ้งเรี่ยราด จึงสนับสนุนให้ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับเก็บอุจจาระ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ฝังดิน ซึ่งช่วยให้ดินดีขึ้นด้วย และเห็นว่าถุงพลาสติกสำหรับขับถ่ายนี้เหมาะกับสถานการณ์ในเมืองไทยขณะนี้ อีกทั้งเหมาะแก่การใช้งานของคนหมู่มาก แม้ขาดเก้าอี้ก็สามารถใช้ได้โดยการตัดขวดน้ำมาใช้แทน และการเก็บอุจจาระไว้ในถุงนี้จะช่วยลดโรคระบาดได้ โดยเก็บรวบรวมแล้วฝังกลบหลังน้ำลด
       
       หลังจากอาศัยพลังของเครือขายสังคมออนไลน์ได้ 5 วัน เพื่อนของอนุรักษ์ซึ่งมีโรงงานผลิตพลาสติกได้ช่วยผลิต “ถุงจัดหนัก” จากเม็ดพลาสติกชีวภาพ 100 กิโลกรัม ซึ่งได้ถุงทั้งหมด 200,000 ใบ โดยการสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบ้านอาสาใจดี ซึ่งจะรับถุงดังกล่าวไปแจกจ่าย และทางโครงการจะผลิตเพิ่มอีก 800 กิโลกรัมจึงอยากเผยแพร่โครงการนี้ให้มากที่สุด และอยากประชาสัมพันธ์ให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง ปตท.และ SCG ที่มีเม็ดพลาสติกชีวภาพมาร่วมโครงการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับผู้ประสบอุทกภัย
       
       “อาทิตย์หน้าเราคงต้องใช้แน่นอน เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วมเราจะกดชักโครกไม่ลง และคนกรุงเทพฯ อาศัยอยู่ในคอนโด 20-30 ชั้น หากติดอยู่อยู่ 2 อาทิตย์ จะเป็นเรื่องน่ากลัวมาก สถานการณ์บีบคั้นมาก เป็นอีกปัญหาที่คนมองไม่เห็น ตอนนี้ทุกคนบริจาคถุงดำซึ่งเป็นพลาสติก HBPE ที่ไม่ย่อยสลาย ต้องเผาอย่างเดียว ถ้าจะรีไซเคิลต้องแยกออกมา ซึ่งถ้าเป็นอึจะไม่มีคนแยกเลย จึงอยากให้คนหันมาใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ แม้ต้นทุนตกใบละ 50 สตางค์จะแพงกล่าวพลาสติกปกติ แต่ควรใช้ในกรณี และอนาคตเมื่อคนตระหนักตรงนี้และใช้กันมากขึ้น ราคาก็จะถูกลง” อนุรักษ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ หลังจากโพสต์ข้อความในแฟนเพจแล้วมีผู้ติดต่อเข้ามาใน 2 ส่วน คือ ส่วนแรกคือผู้เสนอให้ทุน และอีกส่วนคือโรงงานผู้ผลิตพลาสติก โดยทางโครงการพยายามที่จับคู่ความต้องการทั้งสองส่วนให้ตรงกัน แต่สิ่งที่ทางแฟนเพจอยากจะเน้นคืออยากได้ผู้บริจาคเม็ดพลาสติกชีวภาพจากผู้ประกอบการรายใหญ่ ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยก็จะมีการกระจายกันทางเฟซบุ๊กต่อไป โดยอาจช่วยเหลือในเรื่องเงินหรือนำไปบริจาคก็ได้
       
       “ในอีก 1-2 อาทิตย์เราอาจต้องใช้เอง” อนุรักษ์ให้ความเห็น


(ซ้าย) ต้นแบบถุงจัดหนักสำหรับถ่ายหนัก (ขวา) ภาพต้นแบบถุงจัดหนัก ที่มีรายละเอียดวิธีการใช้ (ขวา) รายละเอียดวิธีการใช้ถุงจัดหนักซึ่งจะพิมพ์ไว้ข้างถุง



ถุงสำหัรบถ่ายหนักที่สหประชาชาติสนับสนุนให้ใช้ในแอฟริกา



ขั้นตอนการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพและการจัดเก็บหลังถ่ายหนัก



ภาพสาธิตการใช้งานและการกำจัด
บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 27, 2011, 12:40:44 AM »

ส้วมฉุกเฉินทำเองได้

หากบ้านคุณถูกน้ำโอบล้อม ทำให้ติดเกาะออกไปไหนไม่ได้ จะปลดทุกข์ก็ไม่ได้ เพราะชักโครกกดไม่ลงเสียแล้ว
ลองมาสร้างสุขแบบเฉพาะกิจด้วยตัวคุณเองกันดีกว่า ด้วย “ส้วมฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

    เก้าอี้พลาสติก นำมาเจาะรูตรงกลางเพิ่ม
    ถุงดำขนาด 30x40 นิ้ว
    จุลินทรีย์ EM สำหรับดับกลิ่น 1ขวด
    กระดาษทิชชู่
    ตัวหนีบ 4 ตัว
    ยางรัด

วิธีทำ



* EmergToilet.jpg (66.9 KB, 600x375 - ดู 4355 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 11:50:19 AM โดย BlackCap » บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 11:47:20 AM »

อาหารที่ควรมีติดบ้านในยามน้ำท่วม

ในช่วงเวลาน้ำท่วมเมือง อาหารเป็นปัจจัยแรกที่ทุกคนต่างกลัวว่าจะขาดแคลน ผู้คนจึงพากันกักตุนอาหารที่คิดว่าจำเป็นต่อการยังชีพ นี่เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มและอาหารสะดวกรับประทานซึ่งไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากในการประกอบเป็นอาหาร
       
       อาหารที่ผู้คนส่วนใหญ่เลือกกักตุนคือ อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกระป๋อง อาหารกระป๋องในน้ำเกลือ เช่น ปลากระป๋อง ผักดองกระป๋อง ขนมขบเคี้ยวที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น กุนเชียง หมูหยอง อาหารทอดน้ำมัน น้ำอัดลม โดยที่ไม่รู้ว่าอาหารประเภทเหล่านี้ถ้ารับประทานในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และผู้สูงอายุ การขาดสารอาหารจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วยและติดเชื้อโรคได้ง่าย สำหรับกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ก็จะยิ่งทำให้อาการของโรคแย่ลงไปอีก ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพตามมาหลังจากน้ำลดหรือในกรณีเจ็บป่วยในขณะที่น้ำยังท่วมอยู่ก็จะทำให้ลำบากมากขึ้นในการเดินทางไปหาหมอหรือหายามารักษา
       
       คำแนะนำสำหรับอาหารที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในยามน้ำท่วม
       
       • น้ำดื่มสะอาดร่างกายควรได้รับน้ำในแต่ละวันเฉลี่ยประมาณ 2-3 ลิตรหรือ 8 แก้วต่อวัน
       
       • ซีเรียล ธัญพืชอบแห้งหรือข้าวอบแห้งเช่น ซีเรียลที่นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าควรใส่รวมกับนมหรือนมถั่วเหลืองหรือหากใส่ผลไม้เพิ่มก็ยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น ซีเรียลควรที่จะเป็นชนิดโฮลเกรน น้ำตาลและไขมันต่ำ ข้าวอบแห้งที่สามารถหาได้ง่าย ๆ ในบ้านเรา ได้แก่ข้าวตังหน้าธัญพืช ลูกเดือยอบกรอบ ข้าวพอง ข้าวแต๋น
       
       • เมล็ดธัญพืชพร้อมรับประทาน เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วแดงกระป๋อง หรือจะเป็นธัญพืชอัดแท่งก็ได้ อาหารในกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงและทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน
       
       • ถั่วเปลือกแข็งเช่น อัลมอนด์ แมกคาเดเมีย พิสตาชิโอ วอลนัท พีแคน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง อาหารในกลุ่มนี้ให้คุณค่าทางอาหารสูงเนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัว โปรตีน ใยอาหาร และสารพฤกษาเคมีที่ช่วยขับสารอนุมูลอิสระที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมระดับในตาลในเลือดให้คงที่ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
       
       • เส้นหมี่แห้งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของอาหารประเภทข้าวแป้งที่สะดวกในนำมาปรุงประกอบอาหาร ในกรณีที่ไม่มีไฟฟ้าและมีเพียงเตาถ่านหรือเตาแก๊ส เส้นหมี่จะช่วยเราประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่มีอยู่จำกัด แค่นำเส้นหมี่มาแช่น้ำก็สามารถนำมาผัด หรือต้มก็ได้ตามชอบ
       
       • ข้าวเหนียวเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างข้าวสวยกับข้าวเหนียว ข้าวเหนียวจะสามารถทำให้อิ่มได้นานกว่าและมีอายุการเก็บรักษาได้นาน ข้าวสวยปกติจะเก็บได้ 4-5 ชั่วโมงก็จะเริ่มบูด ในขณะที่ข้าวเหนียวเก็บได้ประมาณ 1 วันและเหมาะกับการนำเป็นอาหารกล่องไปแจกให้กับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมโดยแยกข้าวเหนียวกับตัวกับข้าวคนละถุงกันก็จะทำให้อาหารเก็บได้นานขึ้นอีก
       
       • เนื้อสัตว์แห้งหรือกระป๋องเช่นปลากรอบ หมูฝอย เนื้อฝอยโปรตีนเกษตรพร้อมรับประทานแผ่นแห้ง รวมถึงสาหร่ายอบแห้ง เหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี
       
       • น้ำมันพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง
       
       • ขนมปังกรอบแห้ง จะเก็บได้นานกว่าขนมปังสดเนื่องจากอายุการเก็บของขนมปังโดยทั่วไปอยู่ประมาณ 3-7 วัน ก็จะเกิดเชื้อราขึ้นแม้ว่าจะตัดบริเวณที่เป็นเชื้อราทิ้งไปแล้วก็ไม่ควรที่จะรับประทานเพราะเชื้อราส่วนใหญ่จะแพร่กระจายไปทั่วแม้ว่าจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
       
       • น้ำผลไม้ 100% หรือน้ำสมุนไพรกระป๋องเช่นน้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ล น้ำองุ่น ดื่มแทนน้ำหรือแทนผลไม้สด
       
       • นม นมถั่วเหลือง หรือผลิตภัณฑ์ธัญพืชพร้อมดื่มบรรจุกล่อง ในภาวะที่น้ำท่วมและอาหารขาดแคลนการเลือกเครื่องดื่มเช่น นมกล่องอาจเลือกประเภทที่มีไขมันปกติหรือนมที่ให้พลังงานสูงเพราะจะทำให้อิ่มได้นาน 3-4 ชั่วโมงและให้ของเหลวแก่ร่างกายแทนที่น้ำได้บางส่วน
       
       • น้ำผึ้ง น้ำหวานหรือลูกอมเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ควรเก็บกักตุนไว้บ้างเพราะพื้นฐานของร่างกายจะต้องการน้ำตาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง หากไม่มีอาหารอย่างอื่นรับประทานได้แล้วและไม่มีแรงหรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รับประทานน้ำผึ้ง น้ำหวาน หรือลูกอมก็จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีลูกอมหรือน้ำหวานแบ่งใส่ขวดเล็กๆเอาไว้ใช้เมื่ออยู่ในภาวะขาดน้ำตาล
       
       • ช็อกโกแลตแบบดำหรือ Dark Chocolate ก็เป็นสิ่งที่ควรมีติดบ้านไว้บ้าง เนื่องจากในโกโก้มีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระสารคาเฟอีนเล็กน้อยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และมีสารที่ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินทำให้มีอารมณ์ดีและลดความเครียดลงได้
       
       • ถั่วเขียวดิบ เป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตชั้นดีสามารถน้ำมาต้มกับน้ำตาลเพื่อให้พลังงานทำให้อิ่มได้นานหรือจะใช้ถั่วเขียวมาเพาะเป็นถั่วงอกก็ได้หากไม่มีผักจะรับประทาน
       
       • ผักที่เก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น เช่นกระเทียม หัวหอม แครอท ฟักเขียว ฟักทองกะหล่ำปลีมันฝรั่งหรือจะเป็นผักอบแห้ง เช่น มะเขือเทศแห้ง หรือผักที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งแบบ Freeze – Dry ผักจะมีลักษณะแห้งและกรอบ เช่น ถั่วฝักยาว แครอท บล็อกโคลี่ กระเจี๊ยบ
       
       • ผลไม้ที่เก็บได้นาน เช่น กล้วย(เลือกแบบที่ยังเขียวอยู่จะสามารถเก็บได้ 1 อาทิตย์) ส้มแอปเปิ้ล หรือจะเป็นผลไม้แห้ง เช่น ลูกพรุน ลูกเกด ฝรั่งอบแห้ง มะม่วงกวน มะม่วงอบแห้งมะขามแห้งเป็นต้น
       
       • น้ำพริกแห้งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนำมาคลุกกับข้าวเพื่อเพิ่มรสชาติและได้ประโยชน์จากพริกที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และมีวิตามินซี
       
       • สมุนไพรตากแห้ง หรือสมุนไพรป่นในขวดที่วางขายกันอยู่ เช่น พริกไทย ขมิ้น ใบมะกรูด ตะไคร้ผง ข่าผง เป็นต้น หากจะนำมาปรุงประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติก็ทำได้ง่ายและยังเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารอีกด้วย
บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 05:12:50 PM »

ทุกข์ซ้ำ! เหยื่อน้ำท่วมโดนลักเงินหมื่นคาห้องพักโรงแรมดัง
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม    8 พฤศจิกายน 2554 14:50 น.    

      
        เหยื่อน้ำท่วมย่านรังสิต เดือดร้อนซ้ำ โดนขโมยเงินสดเกือบหมื่นบาท ขณะนอนพักในโรงแรมย่านบางนา-ตราด เจ้าตัวสงสัยแม่บ้านที่เข้ามาทำความสะอาด ขณะที่ผู้จัดการ ปฏิเสธไม่รับผิดชอบ อ้างไม่รู้จะไปเอาผิดกับใครได้ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน ทั้งที่กล้องวงจรปิดจับภาพพิรุธไว้ได้ แต่แนะให้ไปแจ้งความแทน
       
       วันนี้ (8 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมได้ร้องเรียนผ่าน ASTVผู้จัดการรายวัน ว่า เป็นผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมบ้านที่รังสิต และได้เดินทางไปเช่าโรงแรมที่พักย่านบางนาเพื่อพักอาศัย และเดินทางไปทำงานบริษัทเอกชนได้สะดวก
       
       โดย นางวิไลวรรณ ศรีคำภา อายุ 32 ปี พนักงานบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ตนเองพร้อมด้วยสามีได้เดินทางเข้าพักที่ โรงแรมเอวาน่า บางนา-ตราด ได้ประมาณสัปดาห์แล้ว และล่าสุดได้ถูกขโมยเงินสดจากกระเป๋าสตางค์ไปประมาณ 8,000 บาท ซึ่งได้ประสานขอให้ทางโรงแรมแสดงความรับผิดชอบ หรือหาคนทำผิดมาลงโทษ

          แต่ทางโรงแรมได้แนะนำให้ตนไปแจ้งความที่ สน.บางนา โดยอ้างว่าไม่รู้จะเอาผิดกับใครได้ ทั้งที่จากการตรวจสอบจากกล้อง CCTV ภายในโรงแรม เป็นที่น่าสงสัยว่าน่าจะเป็นแม่บ้านที่เข้าไปทำความสะอาดภายในห้องประมาณ 10 นาที เนื่องจากเห็นภาพชัดเจนว่าแม่บ้านคนดังกล่าวมีพิรุธ ลุกลี้ลุกลนออกจากห้อง อีกทั้งมือข้างซ้ายยังคงล้วงกระเป๋าของตนเองและรีบกึ่งเดิน กึ่งวิ่งออกจากห้องไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งตนคิดว่าจังหวะที่ถูกขโมยเงินสดทั้งหมดจากกระเป๋าไปน่าจะเป็นช่วงที่เข้าห้องน้ำไม่กี่นาที ซึ่งแม่บ้านคนดังกล่าวกำลังทำความสะอาดอยู่ในห้องด้วย
       
       “ดิฉันสงสัยและคาดว่าน่าจะเป็นแม่บ้านที่เข้ามาทำความสะอาดภายในห้องพัก ซึ่งแม่บ้านเป็นคนคุยเก่งชวนคุยโน้น นี่ เสียงเค้าจะแหบๆ และตัวดิฉันเองได้เดินเข้าห้องน้ำ แต่พอแม่บ้านออกจากห้องไปดิฉันได้มาเปิดกระเป๋าดู ซึ่งเงินได้หายไปแล้ว ดิฉันยืนยันได้ไม่ได้เอาไปใช้อะไร หลังจากเข้าห้องก็วางไว้ที่โต๊ะ ซึ่งวางรวมกับสร้อยทอง แหวนเพชร แต่ทรัพย์สินส่วนนี้ไม่หาย หายไปแต่เงินสด 8 พัน แต่พอถามผู้จัดการโรงแรมก็ไม่สนใจความปลอดภัย อ้างว่าไม่มีหลักฐานจะให้ไปตรวจสอบใครได้ พร้อมแนะนำให้ไปแจ้งความเอาผิดเอง

         ส่วนตำรวจก็บอกว่า ไม่รู้จะตรวจเช็กยังไง และกลุ่มคนที่รู้เรื่องซึ่งอยู่ภายในโรงแรมก็บอกให้ดิฉันทำใจ แต่ดิฉันเห็นว่าทำไมต้องมาซ้ำเติมกับคนที่ถูกน้ำท่วม คงมีเกิดขึ้นหลายรายที่ถูกลักขโมยทรัพย์สินแต่เค้าไม่กล้าพูด ไม่มีใครออกมาโวยวาย ซึ่งตรงนี้ทางโรงแรมควรมีมาตรการที่จะต้องดูแลทรัพย์สินผู้มาเช่าพักด้วย หากขโมยมีพฤติกรรมทำทุกวัน ทำทุกห้องคงได้ไปจำนวนมาก ไม่ใช่ว่าแขกพักเต็มเอาแต่เงิน ไม่สนใจความเป็นอยู่ผู้พัก ดิฉันเช่าห้องราคาคืนละ 600 ไม่มีอาหารเช้า แต่ต้องการความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของตนเองที่อพยพหนีน้ำไปหลายที่แล้ว” นางวิไลวรรณ กล่าว
       
       นางวิไลวรรณ กล่าวต่อไปว่า รู้สึกเสียใจที่มาถูกลักเงินครั้งนี้ ซึ่งไม่อยากให้คนชั่วลอยนวล และตนพร้อมจะย้ายออกหากอยู่ในที่ใดแล้วไม่ปลอดภัย ซึ่งตนและสามีมาเช่าห้องอยู่เพื่อให้ไปทำงานได้ง่าย ส่วนลูกก็นำไปฝากไว้กับญาติที่ต่างจังหวัด ซึ่งน้ำที่ท่วมบ้านระดับน้ำก็สูงกว่าเอวแล้ว ทั้งนี้ แม้ที่ผ่านมาจะย้ายไปอยู่มาหลายที่แล้ว แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องที่เกิดขึ้นกับตนไปเกิดกับคนอื่นให้เดือดร้อนกันอีก
บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 11:12:29 PM »

สวทช.แจง “กางเกงแก้ว” ป้องกันไฟฟ้าดูดไม่ได้ ขายส่งแค่ตัวละ 100 บาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 พฤศจิกายน 2554 18:00 น.

   
       สวทช.ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” ทำความเข้าใจกับประชาชน ระบุ ใช้ป้องกันการติดโรคที่มากับน้ำท่วมได้ แต่ป้องกันไฟฟ้าดูดไม่ได้ เตือนใช้งานอย่างระมัดระวัง ทั้งกางเกงแก้วและกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ เผย ราคาถูกต้นทุนแค่ตัวละ 100 บาท

ตัวอย่างกางเกงแก้ว
   
       นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกประกาศ เรื่อง “กางเกงแก้ว” เพื่อการทำความเข้าใจต่อสาธารณชน โดยระบุว่า สวทช.ได้นำนวัตกรรม “กางเกงแก้ว” ออกมาเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้นำไปใช้ประโยชน์และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในขณะนี้ จนได้รับความสนใจและการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จึงพบว่าในปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายกางเกงลุยน้ำในหลากหลายรูปแบบและราคาที่แตกต่างกันไป รวมถึงการระบุคุณสมบัติของกางเกงว่าสามารถป้องกันไฟฟ้าดูดได้ จนอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงต่อผู้บริโภคได้
       
       ทั้งนี้ สวทช.ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกางเกงแก้ว ดังนี้ 1.สวทช.โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้พัฒนา “กางเกงแก้ว” หรือ “Magic Pants” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2553 และได้อนุญาตให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้สามารถหาซื้อมาใช้ได้ โดย สวทช.ไม่ได้คิดค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากผู้ผลิต โดยเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า “กางเกงแก้ว” มีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยป้องกันการติดโรค เช่น ฉี่หนู น้ำกัดเท้า หรือป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจมากับน้ำ ในช่วงภาวะน้ำท่วมได้
       
       2.สวทช.ขอเรียนว่า “กางเกงแก้ว” (หรือกางเกงลุยน้ำที่จำหน่ายทั่วไป) ไม่สามารถป้องกันไฟดูดได้ แม้ว่ากางเกงแก้วเป็นฉนวนไฟฟ้า แต่ด้วยความบางและพื้นผิวสัมผัสกับร่างกายมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสลับผ่านได้ด้วยกลไกการเชื่อมต่อด้วยตัวเก็บประจุ (capacitive coupling) หากผู้สวมใส่ไปสัมผัสตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟรั่ว ก็อาจเกิดภัยต่อบุคคลนั้นได้ และในกรณีที่มีรูรั่วของกางเกงแก้วหรือกางเกงลุยน้ำก็จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงขอให้ระมัดระวังต่อการใช้งานกางเกงแก้ว หรือกางเกงลุยน้ำที่ทำเลียนแบบ
       
       3.สวทช.ได้พัฒนาต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตสามารถผลิตได้ในราคาที่เหมาะสม ทำให้กางเกงแก้วมีราคาขายส่งเพียงตัวละ 100 บาทเท่านั้น (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
       
       ในตอนท้ายประกาศยังมีหมายเหตุด้วยว่า คำว่า “แก้ว” ในชื่อผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้หมายถึง “แก้ว” หรือ “ใส” หากแต่หมายถึงความ “พิเศษ” หรือ “วิเศษ” (Magic) เนื่องจากมีราคาถูก ใช้งานสะดวก บรรจุในห่อเล็กและเบาจนสามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา และเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำเน่าเสีย ดังนั้น สวทช.จึงขอสงวนสิทธิ์การใช้ชื่อ “กางเกงแก้ว” สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ สวทช.ได้ถ่ายทอดต้นแบบและวัสดุให้ผู้ผลิตนำไปผลิตเท่านั้น (อยู่ในระหว่างการประสานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา)
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกางเกงแก้วที่มีขายตามท้องตลาดขณะนี้ พบว่า มีราคาที่สูงตั้งแต่ 150-400 บาท ซึ่งประชาชนต่างพยายามหาซื้อมาไว้ป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ เป็นจำนวนมาก
บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 12:00:28 PM »

วิธีทำ ก้อนจุลินทรีย์ (EM Ball)

วัสดุที่ต้องการใช้ในการ EM Ball

ได้แก่

        - รำละเอียด
        - รำหยาบ
        - น้ำ
        - หัวเชื้อ EM
        - กากน้ำตาล
        - ดินทรายละเอียด (ถ้าไม่มีเอาดินเลนมาผึ่งให้แห้งๆหน่อย หรือใช้ดินขี้เถ้าแกลบก็ได้ครับ)


ขั้นตอนการทำ EM Ball

    - นำรำละเอียด 2 ส่วน รำหยาบ 2 ส่วน ดินทรายละเอียด 1 ส่วน มาผสมกัน คลุกเคล้าให้ทั่ว (บางสูตรอาจจะใช้อัตราส่วนเท่ากันหมดก็ได้ครับ)
    - EM 10 ช้อนแกง กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง น้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน
    - จากนั้นนำทั้งสอง อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แนะนำว่า ค่อยๆเทน้ำ EM ที่ผสมแล้วลงไปครับ เพราะถ้าเทรวดเดียวหมดแล้วมันเหลวไป ปั้นเป็นก้อนไม่ได้ ก็ต้องไปผสม ส่วนผสมใน ข้อ 1 เพิ่ม
    - จากนั้นพอปั้นเป็นก้อน ก็ให้นำไปวางผึ่งลมให้แห้งนะครับ ย้ำว่า ผึ่งลม ถ้าใครเอาไปผึ่งแดด เราจะได้ก้อนดินเท่านั้นครับ เพราะเชื้อตายเอาง่ายๆครับ
    - หลังจากนั้นควรเก็บไว้อีกซัก 10-15 วัน เพื่อให้เชื่อเริ่มทำงานนะครับ ใครได้ EM Ball ใหม่สด เพิ่งแห้ง โยนลงไปอาจจะทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรนะครับ ควรรอซักระยะให้เชื้อเริ่มขยายจำนวนก่อน


ข้อจำกัดของการใช้ EM Ball
ซึ่งจริงๆแล้ว เราจะเห็นข่าวกันเยอะไปใช้ EM Ball ไปโยน EM Ball นั้น ไม่ได้หมายความว่า มันจะช่วยได้ครอบจักรวาลนะครับ หากแต่ EM Ball เป็นตัวเร่งปฎิกิริยาในสภาพแวดล้อม เท่านั้นเอง พูดง่ายๆคือ เหมือนกับการเปลี่ยนจากการเคี่ยวน้ำซุบกระดูกหมูกันเป็นวัน มาเป็นโยนซุบไก่ ซุบหมูก้อน กันแทนนั่นเองครับ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ

    - จุลินทรีย์ที่นำมาทำ EM ball นั้นมีชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ ที่มาก และไม่เสื่อมสภาพ ดังนั้น น้ำ EM ที่นำมาเป็นหัวเชื้อต้องสดใหม่หน่อยครับ
    - ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมในการใช้งาน เช่นใน บ่อน้ำที่มีน้ำนิ่ง ก็จะอยู่ที่ EM Ball 1 ก้อน ต่อ 1 เดือน ต่อน้้าไม่เกิน 5-10 ลบ.ม. ส่วนในน้ำไหลแบบที่เป็นสถานการณ์น้ำท่วมนั้นอาจจะต้องใช้เยอะกว่านั้นมาก ดังนั้น หากน้ำท่วมภายในเขตรั้วบ้านและมีน้ำนิ่ง การเลือกใช้ EM Ball ลงไปเพื่อลดกลิ่นจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แต่ถ้าจะโยนลงถนนหน้าบ้าน หรืออย่าง ถนนวิภาวดีนั้น จะต้องใช้เยอะมากๆ ดังนั้นถ้าจะใช้กับพื้นที่ถนนหน้าบ้านใคร ก็ควรดูประกอบครับว่า น้ำไหลแรงแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยไหล นิ่งๆ ก็ใช้ดูได้ครับ แต่ให้ใช้เยอะหน่อยเท่านั้น
    สมมุติว่า น้ำขังในบ้านสูงหนึ่งเมตร พื้นที่ภายในรั้วบ้านกว้าง 5เมตร ยาว 10 เมตร ก็จะเท่ากับปริมาณน้ำ 50 ลบ.ม. ซึ่งก็ใช้ EM Ball ประมาณ 5-10ลูก
    - ระดับน้ำ ไม่ควรเกิน 3 เมตร
    - ดังนั้นในพื้นที่ ที่มีน้ำไหล สามารถเลือกใช้วิธีการอื่น เช่น การเติมอากาศ จะดีกว่า (ดังเช่นที่ การประปา เลือกที่จะใช้การเติมอากาศลงสู่คลองประปา แทนนั่นเอง)

น้ำหัวเชื่อ EM สำหรับบำบัดน้ำเสีย
จริงๆแล้วในการใช้งาน สำหรับเจ้า EM Ball นั้นคือ มีข้อดีในการที่จะไม่ไหลไปตามน้ำ และทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เก็บได้นาน แต่หาต้องการรวดเร็วใช้เลย และไม่ต้องการบ่มให้เสียเวลา การเลือกใช้น้ำ EM ราดเลยก็ใช้การได้ครับ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในตัวบ้าน หลังน้ำลด เพื่อใช้ราดลงตามท่อระบายน้ำต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดกลิ่นเหม็นเน่าลงได้สะดวก รวดเร็วกว่านะครับ
อุปกรณ์ ในการทำน้ำ EM

    - หัวเชื้อ EM
    - น้ำซาวข้าว

วิธีการทำน้ำ EM
ง่ายมากมายครับ คือ นำน้ำซาวข้าว 10 ลิตร ผสมกับ หัวเชื้อ EM 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกัน คนนิดหน่อยพอให้เข้ากันได้ครับ จากนั้น กรอกใส่ขวด ใส่ถังอะไรก็ได้ ปิดฝาไว้พอให้อากาศระบายได้ แนะนำว่า ถ้าใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมถังไว้ก็ได้แล้วครับ แต่ถ้าใส่ในขวดปิดฝา ควรเปิดระบายอากาศทุกเช้า ทุกวันครับ ดังนั้น แนะนำว่า เอากระดาษหนังสือพิมพ์คลุมไว้ดีที่สุด
โดยทิ้งไว้ 7 วันนะครับ จะได้นำ EM นำไปใช้งานได้แล้ว
วิธีการนำน้ำ EM ไปใช้
วิธีการใช้งานไม่ยากครับ ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่าในท่อ ก็ราดลงท่อ หรือตรงมุมพื้นที่น้ำขังอยู่ได้ทันทีครับ ซึ่งเจ้าน้ำ EM นี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่น้ำขังนิ่งๆ ไม่ไหลไปไหน และมีขนาดพื้นที่ไม่เยอะมาก เช่นในบ่อเกรอะ บ่อพักน้ำทิ้งในบ้าน บ่อปลาที่น้ำท่วมขังอยู่ (และปลาไปกับน้ำท่วมแล้ว) พวกนี้ช่วยได้ครับ
ส่วนถ้าเป็นพื้นที่ ที่มีปริมาณเยอะ สามารถใช้ร่วมกับ EM Ball ได้ครับ เช่นโยน EM Ball ไป 5 ลูก แล้วราดน้ำ EM ที่เหลือ กระจายๆกันลงไป หรือกองขยะเหม็นๆ ก็สามารถใช้ราดเพื่อลดกลิ่นได้ แต่ถ้าขยะทั้งหมดอยู่ในถุงดำ ก็คงลำบากหน่อยครับ
ข้อจำกัดของน้ำ EM ที่ทำขึ้น
เนื่องจากมันเป็นน้ำ ดังนั้น ไม่สามารถใช้ในพื้นที่ที่เป็นน้ำไหลได้เลย เช่น ถนนหน้าบ้านที่น้ำท่วม, ถนนวิภาวดี อะไรพวกนี้ใช้ไม่ได้ครับ หรือใช้ในคลองก็ไม่ได้ เทไปปุ๊บหายวับไปกับตาเลยทีเดียว ที่อาจจะพอใช้ได้หลังน้ำลดแล้วเช่น ท่อระบายน้ำหน้าบ้าน ที่ส่งกลิ่นเหม็น เป็นต้น

บันทึกการเข้า
Re: คู่มือเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ
« ตอบ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:52:23 PM »

แผนภาพ เส้นทางเข้าออกกรุงเทพ ณ วันที่ 9 พ.ย. 2554


* BKK-URB-2011.jpg (63.82 KB, 720x484 - ดู 3773 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

รักชาติยอมสละแม้ ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลี ชีพได้ รักราชมุ่งภักดี รองบาท
"ยืนด้วยกาย ไม่ได้ถูกบังคับ ยืนด้วยใจ ไม่ได้ถูกเงินซื้อ"
เราจะขอปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
 
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 20 คำสั่ง