![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
![]() ![]() |
![]() |
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับผีตาโขนเล็ก หรือ ผีตาโขน ที่เราจะพบเห็นในขบวนแห่ทั่วไปนั้น ชาวบ้านในละแวกบ้านใกล้เคียงจะจัดทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมขบวนแห่ เดิมทีนั้นจะมีเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ร่วมขบวนแห่ แต่ปัจจุบันมีการจัดขบวนของทางโรงเรียนซึ่งมีนักเรียนหญิงแต่งกายเป็นผีตาโขนเข้าร่วมด้วย การแต่งกายของผีตาโขนนั้น จะนำเศษผ้ามาเย็บเป็นชุดเพื่อปิดบังร่างกาย และสวมหน้ากากที่ทำขึ้นจากโคนของทางมะพร้าว นำมาตัดแต่งให้เป็นรูปหน้า รูปตา และเติมจมูกยาว ๆ คล้ายกับงวงช้าง ทำการวาดลวดลายเติมสีสันอย่างสวยงาม ส่วนหัวที่ทำคล้ายเขาของผีตาโขนนั้น จะนำเอาหวดนึ่งข้าวที่ทำด้วยไม้ไผ่มาเย็บต่อจากกาบมะพร้าวนั่นเอง ![]() ![]() และสิ่งที่ ขาดไม่ได้อีกอย่างคือ "หมากกะแหล่ง" หรือ กระดึงสำหรับผูกคอวัว นำมาห้วยเป็นพวกไว้ที่เอว เพื่อเวลาเดินจะเกิดเสียงดังตลอดเวลา ปัจจุบันมีการนำกระป๋องมาบรรจุลูกหินเผื่อใช้แทนหมากกะแหล่ง อาวุธประจำกายของผีตาโขนเป็นดาบไม้ แต่มีไม่น้อยที่นิยมถือปลัดขิกขนาดใหญ่ เพื่อใช้เย้าแหย่สาว ๆ ที่มาชมขบวนแห่เป็นที่สนุกสนานโดยไม่มีการถือโกรธกันแต่อย่างใด ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามกเพราะมีความเชื่อกันว่าหากเล่นตลกและนำอวัยวะเพศชายหญิงมาเล่นมาโชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟจะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ในส่วนของงานบุญนั้นจะมี 3 วัน วันแรก เรียกว่า "วันโฮม" หรือ "วันรวม" เป็นวันประกอบพิธีกรรมเบิกพระอุปคุตจากลำน้ำหมัน ถึงตอนสายขบวนแห่จะเคลื่อนไปบ้านเจ้าพ่อกวนเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม (ผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีหอหลวง) ผีตาโขนจะออกมาร่วมขบวนและเพ่นพ่านมากขึ้น เมื่อพิธีสู่ขวัญเสร็จ คนทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยเจ้ากวนนางเทียมคณะแสนนางแต่ง(ผู้ช่วยเจ้ากวนและนางเทียม) บรรดาผีตาโขน ขบวนเซิ้งและการละเล่นต่างๆเช่น ทั่งบั้ง(คนป่ากระทุ้งพลอง) ควายตู้(ไถนา) คนทอดแห จะเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณวัดโพนชัยเพื่อแห่รอบอุโบสถ ในช่วงนี้ผีตาโขนจะออกมาร่วมชุมนุมมากมาย หลังจากนั้นผีตาโขนจะเที่ยวออกอาละวาดไปตามระแวกบ้าน วันที่สอง ขบวนแห่พระเวสสันดรและนางมัทรี เข้าเมือง และขบวนแห่บั้งไฟเจ้ากวน ขบวนบั้งไฟนี้เมื่อแห่ถึงวัดโพนชัยแล้วจะนำไปจุดเพื่อขอฝนจากพญาแถนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ระหว่างแห่บั้งไฟเจ้ากวนจะโปรยทานไปด้วย วันนี้แหละเป็นวันที่ผีตาโขนคึกคักคึกครื้นเป็นที่สุด ส่วนวันที่สาม เป็นวันทำบุญฟังเทศน์ จากนั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี ![]() |
![]() ![]() ประเพณีการละเล่นผีตาโขน ในปี 2547 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน งานจัดงขึ้นภายใน อ. ด่านซ้าย จ.เลย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ อ. ด่านซ้าย จ.เลย โทรศัพท์ 0-4283-3209 และที่ สำนักงาน ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 [ อุดรธานี ] โทรศัพท์ 0-4232-5406-7 ![]() ![]() ![]() |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|