:: TRIP & TREK :: โลกกว้างของคนเดินทาง ::
:. ประเพณีการละเล่นผีตาโขน .:
 
เรื่องโดย : Joyful
ภาพโดย : Lighthouse,Xit
เรื่องเล่าคนเดินทาง
ข้อมูลการเดินทาง
-ตารางการเดินรถทัวร์
แผนที่การเดินทาง
มุมมองคนหลังเลนส์
ความทรงจำบนแผ่นฟิล์ม
ประเพณีการละเล่นผีตาโขน

        ย่างเข้าเดือนมิถุนายนแล้ว นี่คงเป็นเดือนที่นักท่องเที่ยวที่ชอบศิลปวัฒนธรรมประเพณีรอคอย เพราะทุก ๆ เดือนมิถุนายนของทุกปี ที่อำเภอด่านซ้ายจะมีประเพณีชื่อแปลก คือ ประเพณีแห่ผีตาโขน

        บ้างก็ว่าชื่อนี้ได้มาครั้งเมื่อพระเวสสันดร เสด็จจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาคนป่าที่ชื่นชมในพระบารมี ต่างแฝงตัวเข้ามาในขบวนแห่พระเวสสันดร เพื่อส่งเสด็จกลับด้วยความอาลัยรัก และนี่เองจึงทำให้เกิดชื่อ "ผีตามคน" และเพี้ยนมาเป็น "ผีตาขน" และ "ผีตาโขน" ในปัจจุบัน

         การละเล่น"ผีตาโขน"ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในงาน "บุญหลวง" โดยรวมเอางาน"บุญพระเวส" หรือ "ฮีตเดือนสี่" และงาน"บุญบั้งไฟ"หรือ"ฮีตเดือนหก" รวมเข้าไว้ด้วยกัน

         ผีตาโขนที่จะเข้าขบวนแห่นั้น แบ่งออกได้เป็นสองขนาด คือ ผีตาโขนใหญ่ และ ผีตาโขนเล็ก สำหรับผีตาโขนใหญ่นั้นจะจัดทำขึ้นเพียง 2 ตัว คือ หญิง 1 ชาย 1 เท่านั้น

        ผีตาโขนใหญ่จะทำขึ้นจากโครงไม้ไผ่คล้ายกับสุ่มไก่ขนาดใหญ่ จากนั้นก็ตกแต่งด้วยผ้าจนมองไม่เห็นโครงไม้ไผ่ เมื่อเข้าขบวนแห่ก็จะมีคนเข้าไปอยู่ภายในเพื่อยกโครงไม้ไผ่เคลื่อนไปตามขบวน

        ลักษณะพิเศษของผีตาโขนใหญ่อีกอย่างหนึ่ง คือ จะทำเครื่องเพศหญิง ชายไว้อย่างชัดเจน

        ผีตาโขนใหญ่นี้บุคคลทั่วไปไม่ได้รับอนุญาตจัดทำขึ้น มีเพียงกลุ่มคนที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำมาหลายชั่วอายุคนเท่านั้น และก่อนทำก็จะต้องมีการขอขมาสิ่งศักดิ์ก่อน จึงจะสามารถขึ้นโครงร่างได้

บรรดาผีป่า
ผีตาโขนใหญ่



          ผีตาโขนใหญ่



          เมื่อ พระเวสสันดรและนางมัทรี เดินทางออกจากป่า กลับสู่เมือง บรรดาคนป่าหลายตนจึงพาแห่แหนแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง



          ท่ามาตราฐาน
ประเพณีการละเล่นผีตาโขน ประเพณีการละเล่นผีตาโขน
   1  
1
Copyright © 2002-2005 by TripandTrek.com All Rights Reserved